กิจกรรมนอกห้องเรียน ป.3
แผนการเรียนรู้ที่ 2 หนอนไหม สัปดาห์ที่ 2
Plook Education | 28 เม.ย. 2564
5676 views

ระดับชั้น
ป.3

กลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมนอกห้องเรียน

หน่วยการเรียนรู้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เวลา (จำนวนคาบ)

แผนการเรียนรู้ที่
2

เรื่อง
หนอนไหม สัปดาห์ที่ 2

ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้

วิทยาศาสตร์

มาตรฐาน ว 1.2
- บรรยายสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของหนอนไหมโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว 1.2 ป.3/1)

ตระหนักถึงประโยชน์ ของอาหาร น้ำ และอากาศ โดยสามารถดูแลตัวเอง และสัตว์ให้ได้สิ่งเหล่านี้ได้
ว 1.2 ป.3/2)

- สามารสร้างแบบจำลองที่บรรยายวัฏจักรชีวิตของสัตว์และเปรียบเทียบวัฏจักรชีวิตของสัตว์และเปรียบเทียบวัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิดได้ (ว 1.2 ป.3/4)
มาตรฐาน ว 2.1

- สามารถสังเกตการเจริญเติบโตและอธิบายโครงสร้างร่างกายของหนอนไหม คน พืช และสัตว์ได้   (ว 2.1 ป.3/1)
มาตรฐาน ว 8.2
- สามารถอธิบายกระบวนการแก้ไขปัญหาในการทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้  (ว 8.2  ป.3/1)
- สามารถแสดงลำดับขั้นตอนการทำชิ้นงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้  (ว 8.2 ป.3/2)
- สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันได้   (ว 8.2  ป.3/3)
มาตรฐาน ว 2.1
สามารถสังเกตลักษณะของรังไหม เส้นใยของไหม และดักแด้ พร้อมอธิบายผ่านชิ้นงานได้(ว 2.1 ป.3/1)
มาตรฐาน ว 8.2
- สามารถอธิบายกระบวนการแก้ไขปัญหาในการทำงานและเรียนรู้ร่วมกันได้ (ว 8.2  ป.3/1)
- สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันได้  (ว 8.2  ป.3/2)
- สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันได้  (ว 8.2  ป.3/3)

มาตรฐาน ว 2.2

- อภิปรายและนำเสนอการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่าและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ (ว 2.2 ป.3/3)

- วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทั้งต่อโลก สังคม ชุมชนและตัวเราเอง (ว 2.2 ป.6/2 )

มาตรฐาน ว 8.2
- สามารถอธิบายกระบวนการแก้ไขปัญหาในการทำงานและเรียนรู้ร่วมกันได้ (ว 8.2  ป.3/1)
- สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันได้  (ว 8.2  ป.3/2)

 

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

มาตรฐาน ส 1.1

- เห็นคูณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากบุคคลสำคัญ (ส 1.1 ป.3/3)

- แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยหรือศาสนาที่ตนนับถือ (ส1.1 ป3/5)

มาตรฐาน ส 1.1

วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างและนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง  ( ส1.1ป.3/1)

มาตรฐาน ส 1.2

- ปฏิบัติตนและแสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือเป็นศาสนิกชนที่ดี ( ส 1.2 ป.3/3 )

มาตรฐาน ส 1.2

- ปฏิบัติตนและแสดงตนเป็นพุทธมามกะหรือเป็นศาสนิกชนที่ดี ( ส 1.2 ป.3/3 )

มาตรฐาน ส 4.2

- ระบุปัจจัย (สภาพอากาศและลม) มีอิทธิพลต่อถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน  (ส 4.2 ป. 3/1)

- สรุปสภาพอากาศและลมที่สำคัญของประเพณี วัฒนธรรมของชุมชน (ส 4.2 ป.3/3)

มาตรฐาน ส 1.1

เข้าใจและชื่นชมแบบอย่างที่ดีในการอยู่ร่วมกันระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนขณะร่วมกิจกรรมและอยู่ร่วมกัน  (ส 1.1 ป.3/3)

มาตรฐาน ส 3.1

- เข้าใจและสามารถจำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้วัสดุต่างๆในการดำรงชีวิต (ส 3.1 ป3/1)

- อธิบายได้ว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามีการเปลี่ยนแปลง และมีผลต่อเรา รวมทั้งเราสามารถอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงได้  (ส 3.1 ป3/3)

 

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

มาตรฐาน ง 2.1

- เลือกใช้สิ่งของในชั้นเรียนได้อย่างสร้างสรรค์กับชิ้นงานที่ทำ (ง 2.1 ป. 3/3)

มาตรฐาน ง 1.1

- อธิบายวิธีการและประโยชน์การทำงาน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนและส่วนรวม (ง 1.1  ป. 3/1)

- ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน (ง 1.1 ป.3/2)

- ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ด้วยความสะอาด ความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ง1.1 ป. 3/3)

- ทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยความขยัน อดทน รับผิดชอบ และซื่อสัตย์  (ง 1.1ป.4/2)

มาตรฐาน ง 3.1

- ค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอนและนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ (ง 3.1 ป. 3/1)

- บอกวิธีดูแลและรักษาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ (ง 3.1 ป. 3/2)

 

สุขศึกษาและพลานามัย

มาตรฐาน พ 2.1

เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้( พ 2.1 ป.3/1 )

- แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมของตนตาวัฒนธรรมไทย (พ 2.1 ป.4/2)

- เห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีน้ำใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น (พ 2.1ป.6/1)

มาตรฐาน  พ 3.1

- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้อุปกรณ์อย่างมีทิศทาง (พ 3.1 ป.3/1)

- ควบคุมตัวเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้และใช้อุปกรณ์ประกอบ (พ 3.1 ป.4/1)

- สามารถใช้ทักษะการเคลื่อนไหว แสดงท่าทางบทบาทสมมุติเพื่อสื่อสาร หรือถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้  (พ3.1ป.5/1)

 

ศิลปะ

มาตรฐาน ศ1.1

- วาดภาพ ระบายสี สิ่งของรอบตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น (ศ 1.1 ป.3/4)

- วาดภาพถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเหตุการณ์ชีวิตจริง โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว(ศ 1.1 ป.3/6)

- วาดภาพ โดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี(พ 1.1 ป.5/3)

- มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างสรรค์งานปั้น (ศ 1.1 ป 3/5)

- อธิบายลักษณะรูปร่าง รูปทรงในการออกแบบสิ่งต่างๆที่มีในโรงเรียน (ศ 1.1 ป.3/10)

 

ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส4.1

- แสดงลำดับเหตุการณ์ของโรงเรียน ชุมชน โดยระบุหลักฐานและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (ส4.1 ป.3/2)

- อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติการใช้วัสดุเครื่องปั้นดินเผาของมนุษยชาติโดยสังเขป (ส 4.1 ป 4/2)

- แยกแยะประเภทของพลังงานที่สามารถเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าตามหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาตามแต่ละท้องถิ่น  (ส 4.1 ป.4/3)

- สืบค้นความเป็นมาของพลังงานไฟฟ้าในท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย       (ส 4.1 ป.5/1)

- รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ต่างๆอย่างมีเหตุผล  (ส 4.1ป.5/2)

มาตรฐาน ส 4.3

- อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้ (ส 4.3 ป5/4)

- อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญในเรื่องการประดิษฐ์ของใช้เกี่ยวกับอากาศและลมชีวิตประจำวันที่ควรค่าแก่การจดจำและการอนุรักษ์ไว้ (ส 4.3 ป.5/4)

 

หน้าที่พลเมือง

จุดเน้นที่ 3
- มีส่วนร่วมในการสร้างและปฏิบัติตามข้อตกลง กติกาของห้องเรียน
(3.1 ป.3/6)
- ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจในกิจกรรมของครอบครัวและห้องเรียน (3.2 ป.3/7)
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับและอยู่ร่วมกับกับผู้อื่นอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน (4.1 ป.3/8)
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตัวเอง (5.1 ป.3/10)

สาระการเรียนรู้

สร้างฉันทะ

- สร้างแรงบันดาใจ

- เรื่องที่อยากเรียนรู้

- เลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้

- สิ่งที่รู้แล้ว  

สิ่งที่อยากเรียนรู้

- ปฏิทินการเรียนรู้

- Mind Mapping ก่อนเรียน

การเกิด
- การเกิดของหนอนไหม
- การกำเนิดของคน
- การเกิดของพืช
- การเกิดของสัตว์

ปัจจัยในการเจริญเติบโต(อาหาร)
- ปัจจัยในการเจริญเติบโตคน
- ปัจจัยในการเจริญเติบโตพืช
- ปัจจัยในการเจริญเติบโตสัตว์

โครงสร้างและหน้าที่
- หนอนไหม
- คน
- พืช
- สัตว์

การเปลี่ยนแปลง/พัฒนาการ
- หนอนไหม
- คน
- พืช
- สัตว์

ผลิตภัณฑ์จากไหม
- รังไหม
- ดักแด้

- เส้นไหม

สรุปองค์ความรู้

- ตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้

- สิ่งที่ดีแล้ว

- สิ่งที่ควรพัฒนา

-  Mind mapping หลังเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้

ชง

ครูพานักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไข่หนอนไหม รังไหม  ทั้งรูปร่าง ขนาด และสี โดยกระตุ้นด้วยคำถาม “รังไหมมีลักษณะอย่างไร แต่ละรังเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร/ไข่หนอนไหมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง/เพราะเหตุใด ”
เชื่อม
เชื่อมตนเอง : นักเรียนสังเกตพร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึก และตั้งคำถามต่อสิ่งที่เห็น

เชื่อมกันและกัน : นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และเลือกตอบคำถามที่สามารถตอบได้
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “หนอนไหมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?”
เชื่อม
เชื่อมตนเอง : นักเรียนคิดใคร่ครวญต่อคำถาม
เชื่อมกันและกัน : นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
ชง
ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มๆละเท่ากัน เพื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของ คน พืช และสัตว์ โดยใช้คำถามกระตุ้นการคิดดังนี้
- นักเรียนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
- พืชเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?    
- สัตว์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?   
เชื่อม
เชื่อมตนเอง : นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นหาข้อมูลร่วมกัน และช่วยกันจัดกระทำกับข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ถนัดและเข้าใจง่าย
เชื่อมกันและกัน : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอความเข้าใจร่วมกันต่อการเกิดของ คน พืช และสัตว์
เชื่อมตนเอง : นักเรียนแต่ละคน Short note ทั้ง 3 เรื่องลงในสมุดบันทึกของตนเอง
ใช้

นักเรียนคิดออกแบบ และสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดการเกิดขึ้นของคน พืช และสัตว์ ในรูปแบบต่างๆ(เดี่ยว -คู่ -กลุ่ม)
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะดูแลหนอนไหมอย่างไร”
เชื่อม
เชื่อมตนเอง : นักเรียนคิดใคร่ครวญต่อคำถาม
เชื่อมกันและกัน :
- นักเรียนออกแบบวางแผนการเลี้ยงหนอนไหมร่วมกัน เตรียมอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยง และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลในการให้อาหารหนอนไหมในแต่ละวัน โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- ตารางรับผิดชอบในแต่ละสัปดาห์ และวันหยุดเสาร์อาทิตย์
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม เพื่อนำไปสู่การสรุปบทเรียนรายสัปดาห์ดังต่อไปนี้
- นักเรียนเรียนรู้อย่างไร?
- นักเรียนเรียนรู้แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง?
- อะไรคือความเข้าใจใหม่?
- จะดีกว่านี้ถ้านักเรียนทำอย่างไร?
- นักเรียนจะนำไปปรับใช้กับชีวิตจริงได้อย่างไร?
- มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง และมีวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร?

เชื่อม

เชื่อมตนเอง : นักเรียนคิดใคร่ครวญต่อคำถาม
เชื่อมกันและกัน :
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อขมวดสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยใช้เครื่องมือคิด (Blackboard Share)
- นักเรียนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์เพื่อบอกเล่าความเข้าใจผ่านชิ้นงานในรูปแบบที่หลากหลาย

การวัดผลและประเมินผล

ความรู้ 

Core-Knowledge
เข้าใจการเกิดของหนอนไหม แล้วเชื่อมโยงมายังการเกิดของคน พืช และสัตว์ได้
Core-Subject
สุขภาพ
นักเรียนเข้าใจการเกิด และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตนเอง สิ่งแวดล้อม
เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวจากการสังเกตและตั้งคำถามต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
เศรษฐศาสตร์ การประกอบการ การเงิน
คิด ออกแบบ สร้างสรรค์จากสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า
ความเป็นพลเมือง
ย่อมรับ เคารพสิทธิของตนเอง และผู้อื่น
ทักษะ :

ทักษะชีวิต

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ (สังเกต ตั้งคำถาม ค้นหา ทดลอง สรุปผล)
คุณลักษณะ :

- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

- - ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน

- กระตือรือร้นในการเรียนรู้

- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- ไข่ของหนอนไหม
เอกสารแนบ
Thailand Web Stat