วิทยาศาสตร์ ว23101
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุ่มและเชื่อถือได้(ว 8.1 ม.3/1)
- สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี(ว 8.1 ม.3/2)
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม(ว 8.1 ม.3/3)
- รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ(ว 8.1 ม.3/4)
- วิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุปทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ(ว 8.1 ม.3/5)
- สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ(ว 8.1 ม.3/6)
- สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว 8.1 ม.3/7)
- บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม(ว 8.1 ม.3/8)
- จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว 8.1 ม3/9)
สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ส23101
สาระที่ 1 ศาสนา
ศีลธรรมจริยธรรม
มาตรฐาน ส1.1
เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตัวในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้( ส1.1 ม.3/7)
มาตรฐาน ส1.2
- ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ ตามที่กำหนด (ส1.2 ม.3/1)
- มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ตามที่กำหนด(ส1.2 ม.3/2)
ประวัติศาสตร์ ส23102
สาระที่ 4
ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1
- ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่ตนเองสนใจ(ส 4.1 ม.3/2)
- เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ (ส 4.1 ม.3/3)
การงานและเทคโนโลยี ง23101
ทักษะชีวิต ง20225
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจและสามารถใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน (ง 1.1 ม.3 /1)
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง 1.1 ม.3 /2)
- มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า (ง 1.1 ม.3 /3)
- สามารถทำงานและอธิบายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ(ง 1.1 ม.3 /1)
- อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต (ง 1.1 ม.4-6 /1)
- สามารถสร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะในการทำงานร่วมกัน (ง 1.1 ม.4-6 /2 )
- มีทักษะในการจัดการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /3)
- มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /4)
- มีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศเพื่อการดำรงชีวิต (ง 1.1 ม.4 /5)
- มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน (ง 1.1 ม.4-6 /6)
สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 2.1
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา (ง 2.1 ม.2 /3)
- เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมและเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ง 2.1 ม.2 /4)
สาระที่ 3เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐาน ง 3.1
- ใช้ซอฟแวร์ในการทำงานได้(ง 3.1 ม.2 /4)
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบคลิปได้ (ง 3.1 ม.3 /3)
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากจินตนาการอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ (ง 3.1 ม.3 /4)
- ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต(ง 3.1 ม.4-6/9)
- อธิบายข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ง3.1 ม.4-6/13)
สุขศึกษาและพลศึกษา พ23101
สาระที่ 1
การเจริญเติบโต และพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐาน พ 1.1
- อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่าง จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาในวัยรุ่น(พ 1.1 ม.3/1)
- ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์ สังคมและสติปัญญาในวัยรุ่นได้(พ 1.1 ม.3/2)
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ และวางตัวได้อย่างเหมาะสม(พ 2.1 ม.3/4)
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1
- เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลทั้งประเภทบุคคลและทีมได้(พ3.1 ม.3/1)
- ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรม และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ (พ3.1 ม.3/4)
มาตรฐาน พ 3.2
- เลือกเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเล่นกีฬาตามความถนัดพร้อมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง (พ 3.2 ม.3/2)
- มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้ (พ 3.2 ม.3/3)
- นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยความมุ่งมั่นได้ (พ 3.2 ม.2/5)
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1
- เลือกใช้บริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผล(พ 4.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์ผลของการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพ(พ 4.1 ม.3/2)
- เสนอแนะวิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์และความเครียด(พ 4.1 ม.3/6)
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1
- วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและแนวทางป้องกัน(พ 5.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์อิทธิพลของสื่อต่อพฤติกรรมสุขภาพและความรุนแรง(พ 5.1 ม.3/3)
ศิลปะ ศ23101
สาระที่ 1
ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ1.1
- บรรยายสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ที่เลือกมาโดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุและหลักการออกแบบ(ศ 1.1 ม.3/1)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย(ศ 1.1 ม.3/9)
- เลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสมและนำไปจัดนิทรรศการ(ศ 1.1 ม.3/11)
สาระที่ 2 ดนตรี
มาตรฐาน ศ 2.1
นำเสนอหรือจัดการแสดงดนตรี โดยบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ(ศ 2.1 ม.3/7)
สาระที่ 3 นาฏศิลป์
สร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร (ศ3.1 ม.3/2)
หน้าที่พลเมือง ส23201
จุดเน้นที่ 1
ลักษณะที่ดีของคนไทย (มารยาทไทย กตัญญูกตเวที เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ)
มารยาทไทย
- การแสดงความเคารพ
- การสนทนา
- การแต่งกาย
- การมีสัมมาคารวะ
(จุดเน้นที่ 1 ม.3/1.1)
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีไทย (การแต่งกาย ภาษา ภูมิปัญญา ประเพณี)ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย (จุดเน้นที่ 1 ม.3/1.2)
จุดเน้นที่ 2
การเห็นคุณค่าและการแสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (จุดเน้นที่ 2 ม.3/2.1)
จุดเน้นที่ 3
- การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย(จุดเน้นที่ 3 ม.3/3.1)
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (จุดเน้นที่ 3 ม.3/3.1)
จุดเน้นที่ 4
- การอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลาย(จุดเน้นที่ 4 ม.3/4.1)
- การจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี (จุดเน้นที่ 4 ม.3/4.2)
จุดเน้นที่ 5
ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจาก
การกระทำของตนเอง(จุดเน้นที่ 5 ม.3/5.1)
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง :
- ครูและนักเรียนทบวนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาในสัปดาห์ที่ 2
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้เรื่อง code ได้อย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คำถามของตนเอง ครูสุ่มนักเรียนช่วยตอบคำถามนั้น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนไปหาคำตอบจากคำถามที่ตนเองตั้ง
(การบ้าน)
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
หยุดวันวิสาขบูชา
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูให้นักเรียนทบทวนกิจกรรมวันจันทร์ “ทำอะไรบ้าง และจะทำอะไรต่อ”
เชื่อม : นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน จากนั้นเข้ากลุ่มเดิมของแต่ละคน
ใช้ : ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษากระบวนการทำงานของหุ่นยนต์อย่างง่าย พร้อมเขียนสรุปลงในสมุดของแต่ละคนในกลุ่มความรู้:
เข้าใจและสามารถร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้พร้อมตั้งคำถามเกี่ยวกับ Code เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ได้
- เก็บอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของงานที่ทำได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอคำถาม และตอบคำถามได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโค้ดในการตั้งคำถาม
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย- บรรยากาศ
- สี ปากกา กระดาษ
- ไอเพด