วิทยาศาสตร์ ว21102
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวน
การดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว.1.1
ทดลองวิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย(ว.1.1ม.2/5)
มาตรฐาน ว.1.2
สำรวจและอธิบายวามหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิดำรงอยู่ได้อย่างสมดุล(ว.1.2ม.2/4)
อธิบายผลของวามหลากหลายทางชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม(ว.1.2ม.2/5)
อภิปรายผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม(ว.1.2ม.2/6)
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว.2.1
สำรวจระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ(ว.2.1ม.3/1)
มาตรฐาน ว.2.2
อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (ว.2.2ม.3/2)
วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชามวิถีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ว.2.2ม.3/4)
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว.3.1
ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การกผลึก การกลั่นได้(ว.3.1ม.2/3)
มาตรฐาน ว.3.2
ทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงสมบัติ มวล และพลังงานเมื่อสารเกิดปฏิกิริยาเคมี(ว.3.2ม.2/1)
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว.8.1
ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนได้อย่างครอบคลุ่มและเชื่อถือได้(ว.8.1ม.2/1)
สร้างสมมติฐานที่สามารถตรวจสอบและวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลายๆวิธี(ว.8.1ม.2/2)
สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ส21101
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐานส1.1
- อธิบายการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก (ส1.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่ช่วยสร้างสรรค์ อารยธรรมและความสงบสุข แก่โลก (ส1.1 ม.3/2)
- อภิปรายความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ส1.1 ม.3/3)
- วิเคราะห์พุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด(ส1.1 ม.3/4)
- วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด(ส1.1 ม.3/5)
- อธิบายสังฆคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔ หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด (ส1.1 ม.3/6)
- เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรมในการพัฒนาตนเพื่อเตรียม พร้อมสำหรับการทำงานและการมีครอบครัว (ส1.1 ม.3/7)
- เห็นคุณค่า ของการพัฒนาจิต เพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโส-มนสิการคือวิธีคิดแบบอริยสัจ และวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ (ส1.1 ม.3/8)
- สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญา ด้วยอานาปานสติหรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ(ส1.1 ม.3/9)
- วิเคราะห์ความแตกต่างและยอมรับ วิถีการดำเนินชีวิตของ ศาสนิกชนในศาสนาอื่นๆ(ส1.1 ม.3/10)
มาตรฐานส1.2
- วิเคราะห์หน้าที่และบทบาทของสาวกและปฏิบัติตนต่อสาวกตามที่กำหนดได้ถูกต้อง (ส1.2 ม.3/1)
- ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ตามหลักศาสนาตามที่กำหนด(ส1.2 ม.3/2)
- ปฏิบัติหน้าที่ของศาสนิกชนที่ดี (ส1.2 ม.3/3)
- ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมได้ถูกต้อง(ส1.2 ม.3/4)
- อธิบาย ประวัติวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง(ส1.2 ม.3/5)
- แสดงตน เป็นพุทธมามะกะหรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ(ส1.2 ม.3/6)
- นำเสนอแนวทางในการธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถือ(ส1.2 ม.3/7)
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐานส3.1
- อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ (ส3.1 ม.3/1)
- มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(ส3.1 ม.3/2)
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์(ส3.1 ม.3/3)
มาตรฐานส3.2
- อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ(ส3.2 ม.3/1)
- แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและประเทศชาติ (ส3.2 ม.3/2)
- อภิปรายบทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ส3.2 ม.3/3)
- อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด (ส3.2 ม.3/4)
- วิเคราะห์ผลเสียจากการว่างงานและแนวทางแก้ปัญหา(ส3.2 ม.3/5)
- วิเคราะห์สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ (ส3.2 ม.3/6)
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน ส5.1
- ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวมวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ส5.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพและสังคมของทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้(ส5.1 ม.3/1)
มาตรฐานส5.2
- วิเคราะห์การก่อเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคมอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและ ทางสังคมของทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ส5.2 ม.3/1)
- ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้(ส5.2 ม.3/2)
- สำรวจ อภิปรายประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทวีป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ (ส5.2 ม.3/3)
- วิเคราะห์เหตุและผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ที่ส่งผลต่อประเทศไทย (ส5.2 ม.3/4)
ประวัติศาสตร์ส21102
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
มาตรฐานส4.1
- วิเคราะห์เรื่องราว เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผลตามวิธีการทางประวัติศาสตร์(ส4.1 ม.3/1)
- ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่ตนสนใจ (ส4.1 ม.3/2)
มาตรฐานส4.2
- อธิบายพัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจ และการเมือง ของภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป(ส4.2 ม.3/1)
- วิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความร่วมมือ และความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่๒๐ ตลอดจนความพยายามในการขจัดปัญหาความขัดแย้ง (ส4.2 ม.3/2)
มาตรฐาน ส4.3
- วิเคราะห์พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ในด้านต่างๆ(ส4.3 ม.3/1)
- วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์(ส4.3 ม.3/2)
- วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย(ส4.3 ม.3/3)
- วิเคราะห์บทบาทของไทยในสมัยประชาธิปไตย(ส4.3 ม.3/4)
การงานและเทคโนโลยี ง21101
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานง1.1
- อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ(ง1.1 ม.3/1)
- ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง1.1 ม.3/2)
- อภิปราย การทำงานโดยใช้ทักษะ การจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม(ง1.1 ม.3/3)
สาระที่ 2 ออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐานง2.1
- อธิบายระดับของเทคโนโลยี(ง2.1 ม.3/1)
- สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพฉาย เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบ และแบบจำลองของสิ่งของเครื่องใช้ หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผล(ง2.1 ม.3/2)
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาตรฐานง3.1
- อธิบายหลักการทำโครงงานที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(ง3.1 ม.3/1)
- เขียนโปรแกรมภาษาขั้นพื้นฐาน(ง3.1 ม.3/2)
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะงาน(ง3.1 ม.3/3)
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ(ง3.1 ม.3/4)
สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐานง4.1
- อภิปรายการหางานด้วยวิธีที่หลากหลาย (ง4.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์แนวทางเข้าสู่อาชีพ(ง4.1 ม.3/2)
- ประเมินทางเลือกในการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความรู้ความถนัดและความสนใจของตนเอง(ง4.1 ม.3/3)
สุขศึกษาและพลศึกษา พ21101
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มาตรฐานพ1.1
- เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา แต่ละช่วงของชีวิต (พ1.1 ม.3/1)
- วิเคราะห์อิทธิพลและความคาดหวังของสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น (พ1.1 ม.3/2)
- วิเคราะห์สื่อ โฆษณา ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น (พ1.1 ม.3/3)
ศิลปะ ศ21101
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐานศ1.1
- บรรยายสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ที่เลือกมาโดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ(ศ1.1 ม.3/1)
- ระบุและบรรยายเทคนิควิธีการของศิลปินในการสร้างงาน ทัศนศิลป์(ศ1.1 ม.3/2)
- วิเคราะห์ และบรรยายวิธีการใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบในการสร้างงาน ทัศนศิลป์ของตนเองให้มีคุณภาพ(ศ1.1 ม.3/3)
- มีทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์อย่างน้อย ๓ ประเภท(ศ1.1 ม.3/4)
- มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่าง ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ(ศ1.1 ม.3/5)
- สร้างงานทัศนศิลป์ ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ(ศ1.1 ม.3/6)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราวโดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ(ศ1.1 ม.3/7)
- วิเคราะห์และอภิปรายรูปแบบ เนื้อหาและคุณค่าในงานทัศนศิลป์ของตนเอง และผู้อื่น หรือของศิลปิน(ศ1.1 ม.3/8)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยาย เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย(ศ1.1 ม.3/9)
- ระบุอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์ และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพนั้น ๆ(ศ1.1 ม.3/10)
- เลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม และนำไปจัดนิทรรศการ(ศ1.1 ม.3/11)
มาตรฐานศ1.2
- ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม(ศ1.2 ม.3/1)
สาระที่ 3 นาฏศิลป์
มาตรฐานศ3.1
- ร่วมจัดงานการแสดง ในบทบาทหน้าที่ต่างๆ(ศ3.1 ม.3/6)
- นำเสนอแนวคิดจากเนื้อเรื่อง ของการแสดงที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน(ศ3.1 ม.3/7)
หน้าที่พลเมือง ส21201
จุดเน้นที่ 1
ลักษณะที่ดีของคนไทย (มารยาทไทย กตัญญูกตเวที เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ)
- มารยาทไทย
- การแสดงความเคารพ
- การสนทนา
- การแต่งกาย
- การมีสัมมาคารวะ (จุดเน้นที่ 1ม.3/1.1)
- เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต่อสังคม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณีไทย (การแต่งกาย ภาษา ภูมิปัญญา ประเพณี)ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย(จุดเน้นที่ 1 ม.3/1.2)
จุดเน้นที่ 2
- การเห็นคุณค่าและการแสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์(จุดเน้นที่ 2 ม.3/2.1)
จุดเน้นที่ 3
- การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย(จุดเน้นที่ 3 ม.3/3.1)
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(จุดเน้นที่ 3 ม.3/3.1)
จุดเน้นที่ 4
- การอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งความหลากหลาย(จุดเน้นที่ 4 ม.3/4.1)
- การจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี (จุดเน้นที่ 4 ม.3/4.2)
จุดเน้นที่ 5
- ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียรอดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจาก
การกระทำของตนเอง(จุดเน้นที่ 5 ม.3/5.1)
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง : กิจกรรม “ทายซิ ? น้ำพริกอะไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับประเภทน้ำพริกต่างๆ
- ครูแจกบทความ “ความเป็นมาของน้ำพริก” ให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนอ่านบทความ “ความเป็นมาของน้ำพริก” และสรุปใน รูปแบบวิวัฒนาการของน้ำพริก กับสังคมไทย
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง : ครูให้นักเรียนดู Infrograpfic “อะไรที่ทำให้พริกเผ็ด” และ การเปรียบเทียบชนิดของพริกจาก เผ็ดมากที่สุดไปน้อยที่สุดตามลำดับ
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเมนูน้ำพริก ที่มีอยู่ในชุมชนและรับประทานบ่อยในครัวเรือน
- นักเรียนจับไม้ไอศกรีมแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 6 กลุ่ม (กลุ่มละ 2-3 คน)
ใช้ : แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการปรุงน้ำพริก (1 กลุ่ม 1 เมนู) พร้อมผักที่นำมาเป็นเครื่องเคียง พร้อมเตรียมวัตถุดิบสำหรับปรุงในวันถัดไป
- แต่ละกลุ่มวางแผนถ่ายทำรายการอาหาร และลงมือปรุงน้ำพริก
เชื่อม : ทุกกลุ่มนำเสนอ น้ำพริกที่ปรุงขึ้น โดยละเอียด (รูปแบบการปรุง วัตถุดิบที่ใช้ คุณค่าทางอาหาร ผักที่นำมาร่วมเป็นเครื่องเคียง เมนูที่สามารถนำมารับประทานร่วมได้ ฯลฯ)
วันพุธ 2 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่า วัตถุดิบที่เรานำมาทำอาหารในวันนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีอย่างไร หากมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลอย่างไรต่อคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละเมนู ?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสืบค้นและวิเคราะห์การเกิดขึ้น (สสารเดิม โครงสร้างโมเลกุล คุณสมบัติทางเคมี) การเปลี่ยนรูปให้เป็นสิ่งใหม่ (ลักษณะทางกายภาพ โครงสร้างโมเลกุลแบบใหม่ คุณค่าทางอาหารและคุณสมบัติทางเคมีที่เปลี่ยนไป) สิ่งใหม่
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
เชื่อม : Reflection กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นร่วมกัน และสรุปเป็นงานวิชาการ
ใช้ : นำเสนองานวิชาการร่วมกับ พี่ๆมัธยม และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
Flip classroom น้ำพริกและเครื่องเคียงในภูมิภาคต่างๆทั้งประเทศและต่างประเทศ
ความรู้ :
เข้าใจและสามารถปรุงน้ำพริกประเภทต่างๆที่ได้จากวัตถุดิบในท้องถิ่นรวมถึงสามารถเลือกและจัดเตรียมผักที่ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมและให้คุณค่าทางโภชนาการ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเตรียมอุปกรณ์ที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับกระบวนการเรียนรู้ในสัปดาห์ได้ดี มีคุณภาพและเหมาะสมกับงานที่ใช้ รวมถึงสามารถจัดเก็บหลังใช้งานได้ดี
- สามารถปรุงน้ำพริกประเภทต่างๆที่ได้จากวัตถุดิบในท้องถิ่นรวมถึงสามารถเลือกและจัดเตรียมผักที่ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมและให้คุณค่าทางโภชนาการ
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถสืบค้น วางแผน และลงมือทำเพื่อนำตนเองไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับเข้าใจและสามารถปรุงน้ำพริกประเภทต่างๆที่ได้จากวัตถุดิบในท้องถิ่นรวมถึงสามารถเลือกและจัดเตรียมผักที่ใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริกแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมและให้คุณค่าทางโภชนาการ
- สามารถถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองจากกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในรูปแบบของงานวิชาการได้ดีมีคุณภาพและแสดงออกถึงความเข้าใจ
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถจัดการระบบข้อมูล เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือ สำหรับประกอบการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนๆและครู ได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นในกระบวนการทำงานและเห็นเป้าหมายร่วม สำหรับการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้ดี
คุณลักษณะ :
- อดทน จดจ่อ
- กระตือรือร้นในการทำงาน และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย- น้ำพริกในชุมชน
- ผักที่ใช้รับประทานกับน้ำพริกแต่ละประเภท
- วัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับปรุงน้ำพริก
- อุปกรณ์สำหรับถ่ายทำรายการอาหาร
- ครอบครัวและชุมชน
- I pad / Internet