กิจกรรมนอกห้องเรียน ม.1
แผนการเรียนรู้ที่ 7 The Secret Of Food ความลับของอาหาร สัปดาห์ที่ 7
Plook Education | 24 ก.พ. 2564
45547 views

ระดับชั้น
ม.1

กลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมนอกห้องเรียน

หน่วยการเรียนรู้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เวลา (จำนวนคาบ)
8

แผนการเรียนรู้ที่
7

เรื่อง
The Secret Of Food ความลับของอาหาร สัปดาห์ที่ 7

ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ (ส21102)

มาตรฐาน ว 1.1

-นักเรียนเข้าใจในแหล่งที่มาของสารอาหารและกระบวนการถ่ายทอดพลังงานภายในร่างกายและเห็นถึงโครงสร้างในระบบต่างๆ (ว1.1 ม.3/3)

-อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย สารอินทรีย์ในระบบนิเวศน์ (ว1.1 ม.3/4)

-อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร (ว1.1 ม.3/5)

มาตรฐาน ว 1.3

-อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำลอง (ว1.3 ม.3/1)

-อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการผสมโดยพิจารณาลักษณะเดียวที่แอลลีลเด่นข่มแอลลีลด้อยอย่างสมบูรณ์ (ว1.3 ม.3/2)

-อธิบายการเกิดจีโนไทป์และ ฟีโน-ไทป์ของลูก และคานวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่นลูก (ว1.3 ม.3/3)

-อธิบายความแตกต่างของการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสและไมโอซิส (ว1.3 ม.3/4)

-บอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซมอาจทาให้เกิดโรคทางพันธุกรรม พร้อมทั้งยกตัวอย่างโรคทางพันธุกรรม (ว1.3 ม.3/5)

-ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องโรคทางพันธุกรรม โดยรู้ว่าก่อนแต่งงานควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงของลูกที่อาจเกิดโรคทางพันธุกรรม (ว1.3 ม.3/6)

มาตรฐาน ว 2.1

-สามารถทดลองและจำแนกประเภทของสารแต่ละชนิดได้  (ว2.1ม.1/1)

-อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม (ว2.1 ม.1/5)

-ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม (ว2.1 ม.1/6)

มาตรฐาน ว 3.2

-อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/2)

-อธิบายการพยากรณ์อากาศ และพยากรณ์ อากาศอย่างง่ายจากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/4)

-ตระหนักถึงคุณค่าของการพยากรณ์อากาศ โดยนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนและการใช้ประโยชน์จากคำพยากรณ์อากาศ (ว3.2 ม.1/5)

-อธิบายสถานการณ์และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกจากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/6)

-ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกโดยนาเสนอแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (ว3.2 ม.1/7)

มาตรฐาน ว 8.1

-ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจาวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (ว8.1 ม.1/2)

-ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.1/3)

-ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.1/4)

-ระบุปัญหาหรือความต้องการในชุมชนหรือท้องถิ่น สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (ว8.1 ม.2/2)

-ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนขั้นตอนการทางานและดาเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน (ว8.1 ม.2/3)

-ทดสอบ ประเมินผล และอธิบายปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และ นาเสนอผลการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.2/4)

 

 

สังคมศึกษา(ส21103)

มาตรฐาน ส 1.1

-เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตได้ (ส1.1 ม.1/6)

-ดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข (ส1.1 ม.1/8)

-เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตัวในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ส1.1 ม.3/7)

มาตรฐาน ส 2.1

-ปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับการนำเสนอความคิดเห็น (ส2.1 ม.1/1)

-ระบุความสามารถของตนเอง ในการทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้ (ส2.1 ม.1/2)

-นักเรียนสามารถอภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ทีดีหรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกันในการทำงานกลุ่ม (ส2.1 ม.1/3)

-นักเรียนสามารถแสดงออกถึงการเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นได้ (ส.2.1 ม.1/4)

มาตรฐาน ส 3.1

นักเรียนสามารถวิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศได้ (ส3.1 ม.1/2)

-เข้าใจหลักการและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต (ส3.1 ม.1/3)

-ปฏิบัติตามแนวปรัขญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำอาหารทานได้เองตามวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น (ส3.1 ม.2/3)

-มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ส3.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ส 5.2

-วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและ ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทำเลที่ตั้ง ของวัฒนธรรมด้านการบริโภคในประเทศต่างๆ (ส5.2 ม.1/2)

-สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้น.ในภูมิภาคต่างๆ (ส5.2 ม.1/3)

 

 

ประวัติศาสตร์ (ส21104)

มาตรฐาน ส 4.1

-ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ตนสนใจ (ส4.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ส 4.3

-นักเรียนสามารถเข้าใจพัฒนาการทางด้านอาหารในยุคต่างๆได้ (ส4.3 ม.1/2)

-นักเรียนสามารถวิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่ส่งผลในด้านอาหารได้ (ส4.3 ม.1/3)

-ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในยุคต่างๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาหารในยุคปัจจุบันได้ (ส4.3 ม.3/3)

 

การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ง21102)

มาตรฐาน ง 1.1

-วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน (ง1.1 ม.1/1)

-ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ (ง1.1 ม.1/2)

-ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (ง1.1 ม.1/3)

-ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน (ง1.1 ม.2/1)

-ใช้ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง1.1 ม.2/2)

-มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า (ง1.1 ม.2/3)

-อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง1.1 ม.3/1)

-ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง1.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ง 2.1

- สามารถอธิบายถึงเทคโนโลยีต่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกายของมนุษย์ได้ 

(ง 2.1 ม.2/1)

- มีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการใช้สมองในส่วนต่างๆในการทำงาน และสามารถบอกการทำงานของสมองส่วนต่างๆได้ (ง2.1 ม.2/3)

มาตรฐาน ง 3.1

-สามารถอธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น  (ง 3.1 ม.1/2)

- สามารถอธิบายหลักการนำเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาและดูแลสิ่งมีชีวิตมาปรับใช้ได้ (ง 3.1 ม.2/2)    -นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ (ง.3.1 ม.3/ 4)

 

 

สุขศึกษาและพลานามัย (พ21104)

มาตรฐาน พ 1.1

-นักเรียนสามารถอธิบายถึงปัจจัยของภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เหมาะสมของตนเองได้ (พ1.1 ม.1/3)

-นักเรียนสามารถออกแบบพฤติกรรมของตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาวะที่ได้อย่างเหมาะสม (พ1.1 ม.1/4)

มาตรฐาน พ 2.1

-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (พ 2.1 ม.3/1)

มาตรฐาน พ 3.1

-ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน (พ3.1 ม.3/2)

มาตรฐาน พ 3.2

-เลือกเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเล่นกีฬาตามความถนัดพร้อมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง (พ3.2 ม.2/2)

-มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้ (พ3.2 ม.2/3)

-นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยด้วยความมุ่งมั่นได้ (พ3.2 ม.2/5)

มาตรฐาน พ 4.1

-เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย (พ4.1 ม.1/1)

-วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พ4.1 ม.1/2)

-ควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (พ4.1 ม.1/3)

-สร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ (พ4.1 ม.1/4)

-กำหนดรายการอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายโดยคำนึงถึงความประหยัดและคุณค่าทางโภชนาการ (พ4.1 ม.3/1)

-เสนอแนวทางป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย (พ4.1 ม.3/2)

-วางแผนและจัดเวลา ในการออกกำลังกายการพักผ่อนและการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย (พ4.1 ม.3/4)

มาตรฐาน พ 5.1

-นักเรียนสามารถอธิบายพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดื้อยา อาจส่งผลต่อร่างกายได้ (พ5.1 ม.2/2)

-วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและแนวทางป้องกัน (พ5.1 ม.3/1)

 

 

ศิลปะ (ศ21102)

มาตรฐาน ศ1.1

- สามารถบรรยายความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์โดยใช้พื้นฐานของการสังเกตองค์ประกอบต่างๆของธรรมชาติได้ (ศ 1.1 ม.1/1)

- สามารถวาดภาพระบุและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของโครงสร้างพันธุกรรมได้

(ศ 1.1ม.1/2)

- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี   สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ 

(ศ 1.1 ม.1/3)

- สามารถนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นและทำความเข้าใจจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยได้สื่อออกมาผ่านรูปภาพและกระบวนการคิดได้ (ศ 1.1ม.1/5)

- วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

ในการสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ

(ศ1.1ม.2/3)

-มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่างๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/5)

- สร้างงานทัศนศิลป์

ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ

(ศ1.1ม.3/6)

 -สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราว

(ศ1.1ม.3/7)

- สามารถวิเคราะห์ และวิจารณ์ เนื้อหาที่ได้ศึกษา เช่น จากการดู VDO  การรับฟังจากที่ครูผู้สอน ร่วมถึง ชิ้นงานของตนเองและผู้อื่นได้  (ศ 1.1 ม.3/8)

มาตรฐาน ศ 1.2 

- สามารถระบุและบรรยายเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะรูปแบบการทำงานของระบบร่างกายส่วนต่างๆได้

(ศ 1.2 ม.1/1)

-  สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ (ศ 1.2 ม.1/3)

 

 

หน้าที่พลเมือง (ส21202)

จุดเน้นที่ 1

- สามารถอธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

(ส 2.1  ม.1/1)

- เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตาม สถานภาพ บทบาท เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

(ส 2.1  ม.1/2)

- วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมได้

(ส 2.1  ม.1/3)

- สามารถอธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

(ส 2.1  ม.2/4)

- สามารถเสนอแนวคิดในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในประเทศและสังคมโลก

(ส 2.1  ม.3/5)

จุดเน้นที่ 2

- สามารถอธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

(ส 2.1  ม.1/1)

- เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตาม สถานภาพ บทบาท เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

(ส 2.1  ม.1/2)

- วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมได้

(ส 2.1  ม.1/3)

จุดเน้นที่ 3

สามารถอธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย(ส 2.1  ม.1/3)

 

กิจกรรมการเรียนรู้

วันจันทร์ : 1 ชั่วโมง

ชง:

ครูนำอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำส้มสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว) มาให้นักเรียนร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถาม จาก เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ

นักเรียนแต่ละคนชิมและวิเคราะห์สี รส กลิ่น ส่วนประกอบของอาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)

ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด จุลินทรีย์สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารต่างๆได้อย่างไร

เชื่อม:

นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลและสรุปในรูปที่หลากหลายตามความถนัด 

-นักเรียนนำเสนอข้อมูลตามความเข้าใจของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

วันอังคาร : 1 ชั่วโมง

เชื่อม:

นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอผลงานให้เพื่อนๆเข้าใจ

 

ชง:

ครูและนักเรียนคนอื่นร่วมตั้งคำถามเพื่อไปถึงความเข้าใจของเรื่องนั้น

วันพุธ : 1ชั่วโมง

เชื่อม:

นักเรียนส่งตัวแทนมากลุ่มละ 1 คนจับฉลากแต่ละกลุ่มจะได้ทำอาหารจากจุลินทรีย์กลุ่มละ 1 อย่าง

-  นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูลและออกแบบวางแผน แบ่งหน้าที่เตรียมอุปกรณ์

-นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบและวางแผนการทำงานและเมนู แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อเตรียมทำอาหารในวันถัดไป

วันพฤหัสบดี : 3 ชั่วโมง

เชื่อม:

นักเรียนทบทวนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นและเตรียมความพร้อมเพื่อทำกิจกรรมประกอบอาหารของแต่ะกลุ่ม

ใช้:

นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมืทำอาหารตามที่กลุ่มตนเองได้ออกแบบร่วมกัน

เชื่อม:

นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นรวมถึงการ Reflection ของแต่ละกลุ่ม

วันศุกร์ : 2 ชั่วโมง

ชง :

ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด (นักเรียนได้เรียนรู้อะไร อะไรคือคามรู้ใหม่ ความเข้าใจใหม่ที่ได้  สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคคืออะไร สิ่งที่ประทับใจ สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ จะดีกวานี้ถ้า)

เชื่อม :

- นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ร่วมกัน

- นักเรียนนำเสนอความคืบหน้าให้กับครูและเพื่อนๆได้ร่วมเรียนรู้

ใช้ :

-นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในรูปแบบ Mind mapping

- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ในรูปแบบการเขียนบรรยาย
การวัดผลและประเมินผล

ความรู้

เข้าใจและสามารถเกี่ยวกับการผลิตอาหารจากจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วย   อาหารจากกรดแลคติก อาหารจากกรดอาซิติค  อาหารจากยีสต์อาหารจากเชื้อรา  และอาหารจากการทำงานร่วมกันของจุลินทรีย์หลายตัว

 

ทักษะ :
ทักษะชีวิต

ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

ทักษะการแก้ปัญหา

 

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

- เชื้อรา จุลินทรีย์ ในอาหารประเภทต่างๆ

- อาหารจากจุลินทรีย์  ยีสต์ เชื้อรา ต่างๆ (แหนม  น้ำสมสายชู  ขนมปัง เต้าหู้ยี้  ซีอิ๊ว  เต้าเจียว)

-  ปากกเคมี/กระดาษA4/A3

และปรู๊ฟ

เอกสารแนบ
Thailand Web Stat