กิจกรรมนอกห้องเรียน ม.1
แผนการเรียนรู้ที่ 3 The Secret Of Food ความลับของอาหาร สัปดาห์ที่ 3
Plook Education | 24 ก.พ. 2564
1694 views

ระดับชั้น
ม.1

กลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมนอกห้องเรียน

หน่วยการเรียนรู้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เวลา (จำนวนคาบ)
9

แผนการเรียนรู้ที่
3

เรื่อง
The Secret Of Food ความลับของอาหาร สัปดาห์ที่ 3

ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ (ส21102)

มาตรฐาน ว 1.1

-นักเรียนเข้าใจในแหล่งที่มาของสารอาหารและกระบวนการถ่ายทอดพลังงานภายในร่างกายและเห็นถึงโครงสร้างในระบบต่างๆ (ว1.1 ม.3/3)

-อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย สารอินทรีย์ในระบบนิเวศน์ (ว1.1 ม.3/4)

-อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร (ว1.1 ม.3/5)

มาตรฐาน ว 1.3

-อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำลอง (ว1.3 ม.3/1)

-อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการผสมโดยพิจารณาลักษณะเดียวที่แอลลีลเด่นข่มแอลลีลด้อยอย่างสมบูรณ์ (ว1.3 ม.3/2)

-อธิบายการเกิดจีโนไทป์และ ฟีโน-ไทป์ของลูก และคานวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของรุ่นลูก (ว1.3 ม.3/3)

-อธิบายความแตกต่างของการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสและไมโอซิส (ว1.3 ม.3/4)

-บอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซมอาจทาให้เกิดโรคทางพันธุกรรม พร้อมทั้งยกตัวอย่างโรคทางพันธุกรรม (ว1.3 ม.3/5)

-ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องโรคทางพันธุกรรม โดยรู้ว่าก่อนแต่งงานควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงของลูกที่อาจเกิดโรคทางพันธุกรรม (ว1.3 ม.3/6)

มาตรฐาน ว 2.1

-สามารถทดลองและจำแนกประเภทของสารแต่ละชนิดได้  (ว2.1ม.1/1)

-อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม (ว2.1 ม.1/5)

-ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม (ว2.1 ม.1/6)

มาตรฐาน ว 3.2

-อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/2)

-อธิบายการพยากรณ์อากาศ และพยากรณ์ อากาศอย่างง่ายจากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/4)

-ตระหนักถึงคุณค่าของการพยากรณ์อากาศ โดยนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนและการใช้ประโยชน์จากคำพยากรณ์อากาศ (ว3.2 ม.1/5)

-อธิบายสถานการณ์และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกจากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว3.2 ม.1/6)

-ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกโดยนาเสนอแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (ว3.2 ม.1/7)

มาตรฐาน ว 8.1

-ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจาวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (ว8.1 ม.1/2)

-ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดาเนินการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.1/3)

-ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.1/4)

-ระบุปัญหาหรือความต้องการในชุมชนหรือท้องถิ่น สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (ว8.1 ม.2/2)

-ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนขั้นตอนการทางานและดาเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน (ว8.1 ม.2/3)

-ทดสอบ ประเมินผล และอธิบายปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และ นาเสนอผลการแก้ปัญหา (ว8.1 ม.2/4)

 

 

สังคมศึกษา (ส21103)

มาตรฐาน ส 1.1

-เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตได้ (ส1.1 ม.1/6)

-ดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข (ส1.1 ม.1/8)

-เห็นคุณค่าและวิเคราะห์การปฏิบัติตัวในการพัฒนาตนเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (ส1.1 ม.3/7)

มาตรฐาน ส 2.1

-ปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับการนำเสนอความคิดเห็น (ส2.1 ม.1/1)

-ระบุความสามารถของตนเอง ในการทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้ (ส2.1 ม.1/2)

-นักเรียนสามารถอภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้างความสัมพันธ์ทีดีหรืออาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกันในการทำงานกลุ่ม (ส2.1 ม.1/3)

-นักเรียนสามารถแสดงออกถึงการเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นได้ (ส.2.1 ม.1/4)

มาตรฐาน ส 3.1

นักเรียนสามารถวิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศได้ (ส3.1 ม.1/2)

-เข้าใจหลักการและความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต (ส3.1 ม.1/3)

-ปฏิบัติตามแนวปรัขญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำอาหารทานได้เองตามวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น (ส3.1 ม.2/3)

-มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ส3.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ส 5.2

-วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและ ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทำเลที่ตั้ง ของวัฒนธรรมด้านการบริโภคในประเทศต่างๆ (ส5.2 ม.1/2)

-สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้น.ในภูมิภาคต่างๆ (ส5.2 ม.1/3)

 

 

ประวัติศาสตร์ (ส21104)

มาตรฐาน ส 4.1

-ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ตนสนใจ (ส4.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ส 4.3

-นักเรียนสามารถเข้าใจพัฒนาการทางด้านอาหารในยุคต่างๆได้ (ส4.3 ม.1/2)

-นักเรียนสามารถวิเคราะห์อิทธิพลของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่ส่งผลในด้านอาหารได้ (ส4.3 ม.1/3)

-ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในยุคต่างๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาอาหารในยุคปัจจุบันได้ (ส4.3 ม.3/3)

 

การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ง21102)

มาตรฐาน ง 1.1

-วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานตามกระบวนการทำงาน (ง1.1 ม.1/1)

-ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ (ง1.1 ม.1/2)

-ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (ง1.1 ม.1/3)

-ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน (ง1.1 ม.2/1)

-ใช้ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน (ง1.1 ม.2/2)

-มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า (ง1.1 ม.2/3)

-อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (ง1.1 ม.3/1)

-ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม (ง1.1 ม.3/2)

มาตรฐาน ง 2.1

- สามารถอธิบายถึงเทคโนโลยีต่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกายของมนุษย์ได้

(ง 2.1 ม.2/1)

- มีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการใช้สมองในส่วนต่างๆในการทำงาน และสามารถบอกการทำงานของสมองส่วนต่างๆได้ (ง2.1 ม.2/3)

มาตรฐาน ง 3.1

-สามารถอธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายได้ เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้น  (ง 3.1 ม.1/2)

- สามารถอธิบายหลักการนำเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาและดูแลสิ่งมีชีวิตมาปรับใช้ได้ (ง 3.1 ม.2/2)    -นักเรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ (ง.3.1 ม.3/ 4)

 

 

สุขศึกษาและพลานามัย (พ21104)

มาตรฐาน พ 1.1

-นักเรียนสามารถอธิบายถึงปัจจัยของภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เหมาะสมของตนเองได้ (พ1.1 ม.1/3)

-นักเรียนสามารถออกแบบพฤติกรรมของตนเองให้เป็นผู้มีสุขภาวะที่ได้อย่างเหมาะสม (พ1.1 ม.1/4)

มาตรฐาน พ 2.1

-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (พ 2.1 ม.3/1)

มาตรฐาน พ 3.1

-ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน (พ3.1 ม.3/2)

มาตรฐาน พ 3.2

-เลือกเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายเล่นกีฬาตามความถนัดพร้อมทั้งวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง (พ3.2 ม.2/2)

-มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกา และข้อตกลงในการเล่นกีฬาที่เลือกได้ (พ3.2 ม.2/3)

-นำผลในการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองด้วยด้วยความมุ่งมั่นได้ (พ3.2 ม.2/5)

มาตรฐาน พ 4.1

-เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย (พ4.1 ม.1/1)

-วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พ4.1 ม.1/2)

-ควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (พ4.1 ม.1/3)

-สร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ (พ4.1 ม.1/4)

-กำหนดรายการอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายโดยคำนึงถึงความประหยัดและคุณค่าทางโภชนาการ (พ4.1 ม.3/1)

-เสนอแนวทางป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย (พ4.1 ม.3/2)

-วางแผนและจัดเวลา ในการออกกำลังกายการพักผ่อนและการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย (พ4.1 ม.3/4)

มาตรฐาน พ 5.1

-นักเรียนสามารถอธิบายพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดื้อยา อาจส่งผลต่อร่างกายได้ (พ5.1 ม.2/2)

-วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและแนวทางป้องกัน (พ5.1 ม.3/1)

 

 

ศิลปะ (ศ21102)

มาตรฐาน ศ1.1

- สามารถบรรยายความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์โดยใช้พื้นฐานของการสังเกตองค์ประกอบต่างๆของธรรมชาติได้ (ศ 1.1 ม.1/1)

- สามารถวาดภาพระบุและอธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของโครงสร้างพันธุกรรมได้

(ศ 1.1ม.1/2)

- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะสี   สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ 

(ศ 1.1 ม.1/3)

- สามารถนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นและทำความเข้าใจจากแหล่งความรู้ต่างๆ โดยได้สื่อออกมาผ่านรูปภาพและกระบวนการคิดได้ (ศ 1.1ม.1/5)

- วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

ในการสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ

(ศ1.1ม.2/3)

-มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่างๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/5)

- สร้างงานทัศนศิลป์

ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ

(ศ1.1ม.3/6)

 -สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราว

(ศ1.1ม.3/7)

- สามารถวิเคราะห์ และวิจารณ์ เนื้อหาที่ได้ศึกษา เช่น จากการดู VDO  การรับฟังจากที่ครูผู้สอน ร่วมถึง ชิ้นงานของตนเองและผู้อื่นได้  (ศ 1.1 ม.3/8)

มาตรฐาน ศ 1.2

- สามารถระบุและบรรยายเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะรูปแบบการทำงานของระบบร่างกายส่วนต่างๆได้

(ศ 1.2 ม.1/1)

-  สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของความต้องการ ของสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ (ศ 1.2 ม.1/3)

 

 

หน้าที่พลเมือง (ส21202)

จุดเน้นที่ 1

- สามารถอธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

(ส 2.1  ม.1/1)

- เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตาม สถานภาพ บทบาท เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

(ส 2.1  ม.1/2)

- วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมได้

(ส 2.1  ม.1/3)

- สามารถอธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

(ส 2.1  ม.2/4)

- สามารถเสนอแนวคิดในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในประเทศและสังคมโลก

(ส 2.1  ม.3/5)

จุดเน้นที่ 2

- สามารถอธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ

(ส 2.1  ม.1/1)

- เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตาม สถานภาพ บทบาท เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย

(ส 2.1  ม.1/2)

- วิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคมได้

(ส 2.1  ม.1/3)

จุดเน้นที่ 3

สามารถอธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย(ส 2.1  ม.1/3)

 

กิจกรรมการเรียนรู้

วันจันทร์1 ชั่วโมง

ชง : ครูให้นักเรียนชิมอาหารทั้งหมด 3 เมนู (พิซซ่า ข้าวปั้น แกงเขียวหวาน)

เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารทั้งสามเมนูว่ามีรสชาติแตกต่างกันอย่างไร

ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่าเครื่องปรุงหลักของคนอินเดีย ญี่ปุ่นและไทยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? / รสชาติที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมการกินของแต่ละภูมิภาคมาจากปัจจัยใด?”

เชื่อม : นักเรียนแบ่งกลุ่มและจับฉลากสืบค้นวัฒนธรรมรสชาติและการทำอาหารของประเทศอินเดีย ญี่ปุ่นและไทยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ใช้ : นักเรียนร่วมกันอภิปรายนำเสนอสิ่งที่สืบค้นผ่านการเล่าเป็นนิทาน Stop motion

 

วันอังคาร 1 ชั่วโมง

ชง : นักเรียนเล่นเกม “ดมกลิ่น” (ครูนำเครื่องเทศต่างๆใส่ในกล่องให้นักเรียนดม(ขมิ้น กระเทียม พริกไทย มะนาว ตะไคร้)

เชื่อม : ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกลิ่นที่ได้ดม

ชง : ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและจับฉลากเลือกเครื่องเทศ และคิดเมนูจากเครื่องเทศที่ได้มา 1 เมนู

เชื่อม : นักเรียนสืบค้นวิธีการทำของอาหารที่เลือกไว้โดยจำแนกส่วนประกอบและสารอาหารที่จะได้รับมีอะไรบ้าง พบได้จากแหล่งอาหารใดในรูปแบบ

ใช้ : นักเรียนสรุปความรู้ในรูปแบบ Flow Chart

Flip Class room

-เตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร

 

วันพุธ 1 ชั่วโมง

ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันอังคารที่ผ่านมา

เชื่อม : นักเรียนนำเสนอชิ้นงานและอภิปรายร่วมกัน

ใช้ : นักเรียนทดลองทำอาหารตามเมนูของแต่ละกลุ่มตามขั้นตอนที่คิดไว้ (บันทึก VDO ระหว่างทดลองทำ)

เชื่อม : นักเรียนแลกเปลี่ยนกันชิมรสชาติอาหารของกลุ่มตัวเองและกลุ่มอื่นๆ

 

วันพฤหัสบดี 3 ชั่วโมง

ชง : ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในวันพุธที่ผ่านมา

- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “หลังจากทดลองทำอาหารจากเครื่องเทศที่นักเรียนเลือกใช้ ทำให้อาหารเรามีรสชาติแบบใดบ้าง? / นอกจากเครื่องเทศที่ครูกำหนดให้แล้ว มีเครื่องเทศอะไรอีกบ้าง และแต่ชนิดมีประโยชน์หรือให้รสชาติอย่างไร?

เชื่อม : นักเรียนสืบค้นชนิดของเครื่องเทศ ประโยชน์และรสชาติที่ได้

- นักเรียนนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้กันกับเพื่อน

ใช้ : นักเรียนสรุปลงในรูปแบบ Mind Mapping

วันศุกร์ 2ชั่วโมง

ชง :

ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด 

1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร

2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง

3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร

4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้

5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป

เชื่อม :

ครูและนักเรียนพูดคุยพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และปัญหาที่พบพร้อมแนวทางในการแก้ไขปัญหา (Place mat)

ใช้ :

 นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ รูปแบบบรรยายเล่าเรื่อง
การวัดผลและประเมินผล

ความรู้

- เข้าใจและสามารถบอกองค์ประกอบ รวมทั้งที่มา  ของอาหารและเครื่องปรุงได้

- สามารถรังสรรค์อาหารได้อย่างมีคุณค่า

 

ทักษะ :

ทักษะชีวิต

- ใช้อุปกรณ์ในการค้นหาข้อมูลและสร้างชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม

- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการปลูกข้าวได้

ทักษะการสื่อสาร

- นำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้ได้

- นำเสนอการคัดเลือกเมล็ดข้าวและขั้นตอนการปลูกข้าวได้  

ทักษะการจัดการข้อมูลสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากความรู้เดิมที่มีและสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติม

ทักษะการอยู่ร่วมกัน

สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 

คุณลักษณะ:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย

 

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

- พิซซ่า ข้าวปั้น แกงเขียวหวาน

- ขมิ้น กระเทียม พริกไทย มะนาว ตะไคร้

- อุปกรณ์ในการทำอาหาร

- ไอแพด

- ปากกาไวท์บอร์ด สีแดง ดำ น้ำเงิน

- กระดาษ A4 / A3

- กระดาษบรู๊ฟ

- บรรยากาศชั้นเรียน
เอกสารแนบ
Thailand Web Stat