วิทยาศาสตร์
มาตรฐาน ว 1.2
- ระบุสารอาหารและบอกประโยชน์ของสารอาหารแต่ละประเภทจากอาหารที่ตนเองรับประทาน (ว 1.2 ป.6/1)
- บอกแนวทางในการ เลือกรับประทานอาหารให้ได้สารอาหาร ครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและ วัย รวมทั้งความ ปลอดภัยต่อสุขภาพ (ว 1.2 ป.6/2)
- ตระหนักถึงความสำคัญของสารอาหารโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย รวมทั้งปลอดภัยต่อสุขภาพ (ว 1.2 ป.6/3)
- สร้างแบบจำลองระบบย่อยอาหารและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบย่อยอาหารรวมทั้งอธิบายการย่อย อาหารและการดูดซึมสารอาหาร (ว 1.2 ป.6/4)
- ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบย่อยอาหารโดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหารให้ทำงานเป็นปกติ (ว 1.2 ป.6/5)
มาตรฐาน ว 8.2
- ใช้ตรรกะตรรกะในการ อธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน(ว 1.1 ป.6/1)
- ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมและ แก้ไข(ว 1.1 ป.6/2)
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ(ว 1.1 ป.6/3)
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้ง ผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม (ว 1.1 ป.6/1)
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต(ส 1.1 ป.6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น(ส 1.1 ป.6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ(ส 1.1 ป.6/7)
มาตรฐาน ส1.2
เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้ (ส 1.2 ป.6/2)
มาตรฐาน ส3.1
เข้าใจและรู้จักบทบาทของตนเอง(ส 3.1 ป.6/1)
เข้าใจและสามารถอธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ(ส 3.1 ป.6/1)
เข้าใจและสามารถอธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน(ส 3.1 ป.6/2)
มาตรฐาน ส5.2
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้(ส 5.2 ป.6/2)
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้(ง 1.1 ป.6 /1)
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ (ง 1.1 ม.1 /2)
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (ง 1.1 ม.1 /3)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น(ง 1.1 ป.6 /3)
มาตรฐาน ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นได้(ง 3.1 ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้(ง 3.1 ป.6 /3)
มาตรฐาน ง 4.1
สำรวจในชุมชนตนเองเพื่อวางแผนเลือกอาชีพได้ (ง 4.1 ป.6 /1)
มาตรฐาน ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้
(ง 3.1 ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้(ง 3.1 ป.6 /3)
สุขศึกษาและพลานามัย
มาตรฐาน พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้(พ 2.1 ป.6/1)
มาตรฐาน พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน (พ 3.1 ม.4/2 )
มาตรฐาน พ 4.1
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้( พ 4.1 ม.1/1 )
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอาหารต่อสุขภาพได้( พ 4.1 ม.1/2 )
ศิลปะ
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา น้ำหนัก และวรรณะ (ศ 1.1 ป.6/1)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ (ศ 1.1 ป.6/7)
มาตรฐาน ศ3.1
ออกแบบ สร้างสรรค์เรื่องราวอาหารประเภทเส้นถ่ายทอดผ่านละครได้ (ศ 3.1 ป.6/2)
ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องที่อยากเรียน (ส 4.1 ป.6/2)
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องการเลือกซื้อและบริโภคอาหาร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ (ส 4.1 ป.6/2)
อธิบายความสำคัญของเรื่องที่ศึกษาผ่านTime line(ส 4.1 ป.6/1)
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องที่เรียนได้ (ส 4.1 ป.6/2)
หน้าที่พลเมือง
จุดเน้นที่ 1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
- เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย
จุดเน้นที่ 3
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทในการเลือกซื้ออาหารได้เหมาะสม
- เห็นคุณค่าของอาหารที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย
จุดเน้นที่ 4
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
- การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมายและเคารพในหน้าที่ของกันและกัน
จุดเน้นที่ 5
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ
- เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน
อาหารประเภทเส้น
- คุณค่าทางอาหาร
- ข้อดี/ข้อเสีย
- สายใยอาหาร
- การถนอมอาหาร
ออกแบบ สร้างสรรค์
- เส้นขนมจีน
- น้ำยาขนมจีน
- ที่บีบเส้นขนมจีน
- การถนอมเส้นขนมจีน
- การเลือกซื้อและบริโภคอาหาร
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- สรุปและนำเสนอหน่วย
- การตกผลึกความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง:
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนวางแผนการทำขนมจีนในสัปดาห์นี้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ใช้: นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำเส้นขนมจีนตามที่ออกแบบวางแผนไว้
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง: ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร?” ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการทำที่บีบเส้นขนมจีนให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ใช้:
- ทำที่บีบเส้นขนมจีน
- ทดลองบีบเส้นขนมจีน(จากแป้งที่เตรียมไว้วันในจันทร์)
วันพุธ (1 ชั่วโมง
ชง: ครูนำข้าวเปลือก/ข้าวสาร ชนิดต่างๆมาให้นักเรียนดู และตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ทำไมข้าวมีทั้งสีขาว สีเหลือง สีม่วง เพราะเหตุใด?” “ข้าว 1 เมล็ด ประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละอย่างทำหน้าที่อย่างไร?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- นักเรียนแต่ละคนศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับข้าว 1 เมล็ด ประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละอย่างทำหน้าที่อย่างไร
ใช้: สรุปความเข้าใจ ผ่าน Web เชื่อมโยง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง: ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะนำข้าวมาทำเป็นเส้นขนมจีนได้อย่างไรบ้าง?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนคำถามใน ขั้นชง
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนหมัก
ใช้: นักเรียนเขียนชาร์ตความรู้การทำขนมจีนเส้นหมักและนำเสนอ
วันศุกร์ (3 ชั่วโมง)
ชื่อม:นักเรียนนำเสนอชาร์ตความรู้การทำขนมจีนเส้นหมัก
ชง: ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
- ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
- นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านคำถามในขั้นชง
ใช้: นักเรียนสรุปบทเรียนการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
การบ้าน นักเรียนเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการทำขนมจีนเส้นหมักความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบการทำเส้นขนมจีนรวมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดข้าวได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายในการทำเส้นขนมจีนได้
- ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อ
ประดิษฐ์ที่บีบเส้นขนมจีนได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำเส้นขนมจีนได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับความแตกต่างของสี(เมล็ดข้าว)ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผน ออกแบบสร้างมูลค่าจากเส้นขนมจีนและประดิษฐ์ที่บีบเส้นขนมจีนได้
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนและส่วนประกอบของเมล็ดข้าวได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำเส้นขนมจีนให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- วัตถุดิบทำเส้นขนมจีน
- วัสดุ อุปกรณ์ในการทำที่บีบขนมจีน
- ข้าวเปลือก/ข้าวสาร