วิทยาศาสตร์
มาตรฐาน ว 1.3
เปรียบเทียบ ลักษณะของสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต จากข้อมูลที่รวบรวมได้ (ว 1.3 ป.2/1)
มาตรฐาน ว 2.1
เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุ ไปประยุกต์ใช้ในในชีวิตประจาวัน (ว 2.1 ป.2/1)
อธิบายการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (ว 2.1 ป 2/2)
ตระหนักถึงประโยชน์ของการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่(ว 2.1 ป 2/3)
มาตรฐาน ว 2.3
ตระหนักในคุณค่าของความรู้ของการมองเห็นโดยเสนอแนะแนวทางการป้องกันอันตรายจากการมองวัตถุที่อยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม(ว 2.3 ป.2/1)
มาตรฐาน ว 3.2
ระบุส่วนประกอบของดิน และจำแนกชนิดของดินโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวเป็นเกณฑ์ (ว 3.2 ป.2/1)
อธิบายการใช้ประโยชน์จากดิน จากข้อมูลที่รวบรวมได้(ว 3.2 ป.2/2)
มาตรฐาน ว 8.2
แสดงลำดับขั้นตอนการทางานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ หรือข้อความ(ว 8.2 ป.2/1)
ใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดหมวดหมู่ ค้นหา จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ (ว 8.2 ป.2/3)
ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่าง ปลอดภัย ปฏิบัติ ตามข้อตกลงใน การใช้คอมพิวเตอร์ ร่วมกัน ดูแลรักษา อุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่าง เหมาะ(ว 8.2 ป.2/4)
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ส 5.1
ระบุสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งปรากฏระหว่างโรงเรียนกับบ้าน (ส 5.1 ป.2/1)
มาตรฐาน ส 5.2
อธิบายความ สำคัญของสิ่ง แวดล้อม ทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น(ส 5.2 ป.2/1)
จำแนกและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดไปและที่ใช้แล้วหมดไปได้อย่างคุ้มค่า (ส 5.2 ป.2/2)
อธิบายความ สัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดาเนินชีวิตของมนุษย์(ส 5.2 ป.2/3)
มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน(ส 5.2 ป.2/4)
สุขศึกษาและพลานามัย
มาตรฐาน พ 1.1
อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายใน (พ 1.1 ป.2/1)
อธิบายธรรมชาติของชีวิตมนุษย์
มาตรฐาน พ 2.1
ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว
บอกความสำคัญของเพื่อน (พ 2.1 ป.2/2)
มาตรฐาน พ 3.1
ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ (พ 3.1 ป.2/1)
มาตรฐาน พ 4.1
บอกลักษณะของการมีสุขภาพดี (พ 4.1 ป.2/1)
เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์(พ 4.1 ป.2/2)
ระบุของใช้และของเล่นที่มีผลเสียต่อสุขภาพ(พ 4.1 ป.2/3)
อธิบายอาการและวิธีป้องกันการเจ็บป่วย การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น(พ 4.1 ป.2/4)
ปฏิบัติตามคำแนะนำเมื่อมีอาการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ(พ 4.1 ป.2/5)
มาตรฐาน พ 5.1
ปฏิบัติตนในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ประกอบอาหาร (พ 5.1 ป.2/1)
บอกชื่อยาสามัญประจำบ้าน และใช้ยาตามคำแนะนำ(พ 5.1 ป.2/2)
ศิลปศึกษา
มาตรฐาน ศ 1.1
บรรยายรูปร่าง รูปทรงที่พบใน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ศ 1.1 ป.2/1)
ระบุทัศนธาตุที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่องเส้น สี รูปร่าง และรูปทรง(ศ 1.1 ป.2/2)
สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้น รูปร่าง(ศ 1.1 ป.2/3)
มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์ ๓ มิติ(ศ 1.1 ป.2/4)
สร้างภาพปะติดโดยการตัดหรือฉีกกระดาษ(ศ 1.1 ป.2/5)
วาดภาพเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของตนเอง (ศ 1.1 ป.2/6)
เลือกงานทัศนศิลป์ และบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็นรวมถึงเนื้อหาเรื่องราว(ศ 1.1 ป.2/7)
มาตรฐาน ศ 1.2
บอกความสำคัญของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน (ศ 1.2 ป.2/1)
อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ ในท้องถิ่นโดยเน้นถึงวิธีการสร้างงานและวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้(ศ 1.2 ป.2/2)
มาตรฐาน ศ 3.1
แสดงการเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ ของตนเองอย่างอิสระ (ศ 3.1 ป.2/2)
แสดงท่าทาง เพื่อสื่อความหมายแทนคำพูด(ศ 3.1 ป.2/3)
แสดงท่าทางประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์(ศ 3.1 ป.2/4)
ระบุมารยาทในการชมการแสดง(ศ 3.1 ป.2/5)
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 1.1
บอกวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัว (ง 1.1 ป.2/1)
ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานอย่าง เหมาะสมกับงานและประหยัด(ง 1.1 ป.2/2)
ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวอย่างปลอดภัย(ง 1.1 ป.2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
บอกประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน (ง 2.1 ป.2/1)
นำความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ถูกวิธีไปประยุกต์ใช้ในการสร้างของใช้อย่างง่าย(ง 2.1 ป.2/2)
มีความคิดสร้างสรรค์ ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ(ง 2.1 ป.2/3)
มาตรฐาน ง 3.1
บอกประโยชน์ของข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อถือได้ (ง 3.1 ป.2/1)
บอกประโยชน์และการรักษาแหล่งข้อมูล(ง 3.1 ป.2/2)
ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1
ใช้คำระบุเวลาที่แสดงเหตุการณ์ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ส 4.1 ป.2/1)
ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในชีวิตของตนเอง โดยใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้อง(ส 4.1 ป.2/2)
มาตรฐาน ส 4.2
สืบค้นถึงการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ประจำวันของคนในชุมชนของตนจากอดีตถึงปัจจุบัน (ส 4.2 ป.2/1)
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน(ส 4.2 ป.2/2)
มาตรฐาน ส 4.3
ยกตัวอย่างวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาไทยที่ภาคภูมิใจ และควรอนุรักษ์ไว้(ส 4.3 ป.2/2)
หน้าที่พลเมือง
จุดเน้นที่ 1
ปฏิบัติตน เป็นผู้มี มารยาทไทย
แสดงออกถึง ความกตัญญูกตเวทีต่อบุคคล ในโรงเรียน
จุดเน้นที่ 2
เข้าร่วม กิจกรรม เกี่ยวกับชาติ ศาสนา และ สถาบัน พระมหา กษัตริย์
ปฏิบัติตนตามพระบรมราโชวาท หลัก การทรงงาน แ ล ะ หลักปรัชญ า ของเศรษฐกิจ พอเพียง
จุดเน้นที่3
ปฏิบัติตน ตามกฎ ระเบียบ และหน้าที่ตนเอง ปฏิบัติ ในโรงเรียน
ปฏิบัติตน ตามบทบาท หน้าที่ในฐานะ สมาชิกที่ดีของ ห้องเรียน และ โรงเรียน
จุดเน้นที่ 4
ยอมรับ ความเหมือน และ ความแตกต่าง ของตนเอง และผู้อื่น
จุดเน้นที่ 5
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง
1.สร้างฉันทะ /สร้างแรงบันดาลใจ
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ชื่อหน่วย
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ออกแบบและวางแผนปฏิทินการเรียนรู้
อาหาร
- อาหารคาว /หวาน/ของว่างทานเล่น
- วิธีการปรุง ต้ม ยำ ปิ้ง ย่าง นึ่ง ตุ๊น ผัด ทอด การอบ
- การเลือกวัตถุดิบ
- รสชาติ
- การดูแลรักษาเครื่องใช้ต่างๆ
- การถนอมอาหาร
- การแปรรูปวัตถุดิบ
-การดูแลสุขภาพ
-การออกแบบวิถีการกินและการดูแลสุขภาพ
ถอดบทเรียน
-การออกแบบนำเสนอความเข้าใจในหน่วยการเรียนรู้ ละคร เพลง การทำอาหาร
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “เปิดโปง บริโภคช็อคโลก”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
ชง
- ครูแจกกระดาษครึ่ง A4 ให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น เขียนเลือกระหว่างการทำอาหารกินเอง หรือซื้อกิน ผ่านการใช้เครื่องมือชักเย่อความคิด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตนเองจะเลือกทำอาหารกินเอง หรือ ซื้อกิน”
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละคนได้เขียนและวาดภาพ แล้วนำไปติดในฝั่งที่ตนเองเลือก
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำเครื่องชั่งน้ำหนัก และที่วัดส่วนสูงมาให้นักเรียนแต่ละคนได้สังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมเราต้องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง?”
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากสิ่งที่ได้ดู
- ครูแจกกระดาษครึ่ง A4 ให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนมาชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง แล้วเขียนลงในกระดาษที่ได้ไป
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนแต่ละคนมีน้ำหนัก และส่วนสูงเท่าไร มีใครน้ำหนัก และส่วนสูงเท่าหันบ้าง ทำไมน้ำหนักและส่วนสูงของแต่ละคนถึงต่างกัน คิดว่าเป็นเพราะอะไร?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำตารางสุขภาพที่สัมพันธ์ระหว่างอายุ น้ำหนักและส่วนสูงมาให้นักเรียนได้ดูร่วมกัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เมื่อเราเทียบค่าน้ำหนัก ส่วนสูง และอายุของเราแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง? จะทำอย่างไรให้น้ำหนัก และส่วนสูงได้ตามมาตรฐาน?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมเราต้องกินอาหาร นักเรียนคิดว่าเราจะกินอย่างไรให้มีสุขภาพดี?”
เชื่อม
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนคิดออกแบบวิถีการกินอาหาร และการออกกำกายเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ในแต่ 1 วัน
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบวางแผนการกินอาหาร และการออกกำกายเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ใน 1 วัน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้
นักเรียนเขียนและวาดวิถีการกินอาหาร และการออกกำกายเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ใน 1 วัน
วันศุกร์ ( 2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจใหม่ในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันความรู้
เข้าใจและสามารถออกแบบวิถีการกินและการดูแลสุขภาพที่ดีของตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
:
ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
ทักษะการทำอาหาร
- สามารถจัดเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารได้อย่างเหมาะสม
- สามารถเลือกวัตถุดิบสดใหม่ในการทำอาหาร
- สามารถปรุงอาหารได้ตามขั้นตอน -- สามารถปฏิบัติตามสุขอนามัยของผู้ปรุงอาหาร
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะปรุงอาหาร เช่น การระเหยของน้ำในหม้อแกง การเปลี่ยนสีของผักก่อนและหลังการปรุง การละลายของเนย การเปลี่ยนสถานะของน้ำ การเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลง หรือใหญ่ขึ้น
- การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดกลุ่มของวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “เปิดโปง บริโภคช็อคโลก”