พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 .ใช้มือได้อย่างคล่องแล้วและประสานสัมพันธ์กันพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ
มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 แสดงออกทางด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ประหยัด อดออม และพอเพียงพัฒนาการด้านสังคม
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตร
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขพัฒนาการด้านสติปัญญา
มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 อ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่ 10.3 มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่ 11.1 เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 11.2 แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่ 12.1 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 12.2 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้
สาระ
1.สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ
2. เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
3. ของเล่นจากการปั้น/และคุณสมบัติ
- ดินเหนียว
- ดินน้ำมัน
- ดินญี่ปุ่น
- กระดาษ
4. ของเล่นจากกระดาษ
- การพับ
- การประดิษฐ์
5. ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
6. ของเล่นในอดีต
- การเล่น
- การละเล่น
7. สรุปองค์ความรู้/เผยแพร่
ด้านร่างกาย
ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย ประดิษฐ์ชิ้นงาน ได้แก่
ขีดเขียน วาดภาพบุคคล, ระบายสีไม้, สีเทียน, เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี พับสี, ปั้นดินน้ำมัน, ฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่น, ต่อเติมภาพตามจินตนาการ, ประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆ, ประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำ, เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้าด้านอารมณ์และจิตใจ
ผู้เรียนมีวินัย ความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน ทำงานจนสำเร็จ และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้แก่ การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์ การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
- ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ เช่น การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
- ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่ มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด มีมารยาทในการรับประทานอาหาร ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
- ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
- ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่ การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะด้านสังคม
- ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู เพื่อนและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
- ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
- ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
- ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
- ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
- ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้
ชง(Play)
- ครูน้ำมะกรูด น้ำมะนาว และน้ำขี้เถ้าที่แช่น้ำ มาให้นักเรียนสังเกต (ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 3)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิด มะกรูด น้ำมะนาว น้ำขี้เถ้า เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เชื่อม(Talk)
- ครูและนักเรียนร่วมกันร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการสังเกต มะกรูด น้ำมะนาว น้ำขี้เถ้า
ใช้(Lean ):
- นักเรียนหั่นมะนาวแล้วนำไปต้ม
- นักเรียนตักกรองน้ำขี้เถ้าที่แช่น้ำวันสามวัน
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง(Play)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำมะนาวที่หั่นและต้มแล้วมาทำอย่างไร?
เชื่อม(Talk)
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมะนาวที่หั่นและต้มแล้ว
ใช้(Lean )
นักเรียนบีบมะนาวและกรองเอาน้ำมะนาว
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง(Play)
- ครูนำน้ำยาล้างจาน น้ำมะกรูด น้ำ มะนาว มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร นักเรียนคิดว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เชื่อม(Talk)
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสังเกตน้ำยาล้างจาน น้ำมะกรูด น้ำมะนาว
ใช้(Lean )
นักเรียนกรองน้ำมะนาว (ต่อจากวันที่ผ่านมา)
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง(Play)
- ครูนำ น้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำขี้เถ้ามาให้นักเรียนสังเกต
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนเห็นอะไร เราจะนำมาทำเป็นน้ำยาล้างจานได้อย่างไร?
เชื่อม(Talk)
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำน้ำยาล้างจาน
ใช้(Lean )
- นักเรียนผสมน้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำขี้เถ้า (หรือน้ำด่าง) แล้วคนให้เขากัน (นักเรียนนำกลับไปทดลองใช้ที่บ้าน)
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง(Play)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนนำน้ำยาล้างที่นักเรียนทำเองไปใช้ทำอะไรบ้าง?
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
เชื่อม(Talk)
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองใช้น้ำยาล้างจาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้(Lean )
- นักเรียน Show and Learn การทดลองใช้น้ำยาล้างจาน
- นักเรียนเขียน Web สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ความรู้
นักเรียนเข้าใจกระบวนการทำน้ำยาล้างจาน,สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำวันของตนเองได้
- การคิดสร้างสรรค์ทำชิ้นงาน/ภาระงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- สามารถปรับตัวและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
- มีจิตอาสาช่วยเหลือเพื่อน ครูในโอกาสที่เหมาะสม เช่น เก็บกวาดห้อง เก็บของอุปกรณ์ต่างๆ
- ยอบรับและเคารพในความแตกต่าง
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถสนทนาถาม – ตอบได้ตรงประเด็น
- ถ่ายทอดเล่าเรื่องราว/เหตุการณ์ที่ได้พบเจอหรือได้รับฟังให้ผู้อื่นฟังได้
- สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
คุณลักษณะ
- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดี พอใจและชื่นชมในสิ่งที่ตนเองมีและผู้อื่นมี
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
- บรรยากาศบริเวณโรงเรียน
- เพลง
- นิทาน
- วัสดุ/อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงาน
- สื่อจริง มะกรูด มะนาว ขี้เถ้า