กิจกรรมนอกห้องเรียน อ.2
แผนการเรียนรู้ที่ 6 กาย สัปดาห์ที่ 6
Plook Education | 11 ม.ค. 2564
1590 views

ระดับชั้น
อ.2

กลุ่มสาระการเรียนรู้
กิจกรรมนอกห้องเรียน

หน่วยการเรียนรู้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เวลา (จำนวนคาบ)

แผนการเรียนรู้ที่
6

เรื่อง
กาย สัปดาห์ที่ 6

ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้

พัฒนาการทางด้านร่างกาย

มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย

มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแล้วและประสานสัมพันธ์กัน

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ

มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข

ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์

ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น

มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว

ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ

มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม

ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ

ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด

ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน

ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง

พัฒนาการด้านสังคม

มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต

ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย

มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย

ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย

มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พัฒนาการด้านสติปัญญา   

มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ

ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้

มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล

ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด

มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง

มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 
สาระการเรียนรู้

สาระ

1.  การปรับตัว / วิถี

            - เก็บอุปกรณ์การเรียน ของใช้ส่วนตัว – ส่วนรวม

            - รับ – ส่ง สมุดสื่อสาร การบ้าน

            - ทำความสะอาดร่างกาย จานของว่าง ถาดอาหาร  ห้องเรียน บริเวณอาคารอนุบาล ฯลฯ

            - แต่งตัวใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง

            - ใช้วิถีร่วมกับผู้อื่น / ข้อตกลงในห้อง

            - บอกความรู้สึก (ชอบ/ไม่ชอบ, ดีใจ/เสียใจ)

2. ตัวเรา

            - ชื่อ  สกุล

            - เพศ

3. โครงสร้าง

            - คน พืช สัตว์ สิ่งต่างๆ

            - อวัยวะภายนอก

            - หน้าที่ของอวัยวะ

            - รูปร่างลักษณะ

4. การดูแลร่างกาย

            - การทำความสะอาดร่างกาย

            - การออกกำลังกาย

            - การพักผ่อน

            - อาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

5. กระบวนการ/ลำดับขั้นตอน

            - การเพาะปลูก

            - การประดิษฐ์

            - การประกอบอาหาร

6. ประสารทสัมผัสทั้ง 5

          - ตา

            - หู

            - จมูก

            - ปาก

            - กาย

7. สรุปองค์ความรู้และเผยแพร่ (Open class)

            - บทบาทสมมติ

            - ละคร

            - เต้นประกอบเพลง

            - นิทาน

            - ป้ายนิเทศ

 
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด

ด้านร่างกาย

    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  ขีดเขียน  วาดภาพบุคคล, ระบายสีไม้, สีเทียน, เล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสี, ปั้นดินน้ำมัน, ฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่น, ต่อเติมภาพตามจินตนาการ, ประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆ, ประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำ, เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

ด้านอารมณ์และจิตใจ

     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่ การ  Show and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน

  -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน

  -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง

  - ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่

  -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

ด้านสังคม

  - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

  -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

  -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 

  -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น


ด้านสติปัญญา

   -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้

  -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้

  -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้

  -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้

  -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง

  - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้


กิจกรรมการเรียนรู้
Process

วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )

ชง (Play)

-  ครูเล่านิทานเรื่อง”ตาวิเศษ”

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าดวงตาของเราสามารถมองเห็นอะไรบ้างและสิ่งนั้นๆ มีลักษณะอย่างไร?

- ครูนำแว่นขยาย / รูปภาพมาให้นักเรียนสังเกต

- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร  มีลักษณะคล้ายกับอะไร  เอาไปทำอะไรได้บ้าง?

เชื่อม(Talk)

 - ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับดวงตาของเรา

-  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแว่นขยายและรูปภาพ

 

ใช้(Lean) 

นักเรียนวาดภาพจากสิ่งที่ดูจากแว่นขยาย   

วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )

ชง (Play)

-  ครูเล่านิทานเรื่อง “แม่ไก่สีแดง”

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดในนิทานมีตัวละครอะไรบ้าง?  นักเรียนชอบตัวละครตัวไหนมากที่สุดเพราะอะไร?

-  ครูนำกระดุมหลากสี/ไหมพรมหลากสี/กระดาษหลากสีมาให้นักเรียนสังเกตพร้อมกับบอกสีและจำแนกสี

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไร? ถ้านักเรียนจะหาเพื่อนให้กระดุมหลากสี/ไหมพรมหลากสี/กระดาษหลากสี  นักเรียนจะมีวิธีการทำอย่างไร?

 

เชื่อม  (TalK)

- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง

- ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการสังเกตกระดุมหลากสี/ไหมพรมหลากสี/กระดาษหลากสีมาพร้อมกับบอกสีและการจำแนกสี

 ใช้ (Lean )

นักเรียนปะติดรูปคน

วันพุธ (1ชั่วโมง )

ชง (Play)

- ครูเล่านิทานเรื่อง “ ของเล่นวิเศษ ”

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนเห็นอะไรในนิทาน  มีตัวละครอะไรบ้าง แต่ละตัวละครเขาทำอะไรกันบ้าง?

- ครูนำขวดน้ำ/  แท่งไม้/ หนังยาง มาให้นักเรียนสังเกต

- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนเห็นอะไร  เอาไปทำอะไรได้บ้าง ถ้าจะนำมามาเล่นมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้าง?

เชื่อม (Talk )

 -  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง

-  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการสังเกต ขวดน้ำ / แท่งไม้/ หนังยาง พร้อมกับวิธีการเล่น

ใช้ (Lean )

นักเรียนเล่นเกมโยนใส่ห่วง                

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)

ชง (Play)

-  ครูเล่านิทานเรื่อง “แม่ไก่ตาบอด”

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  เกิดอะไรขึ้นกับแม่ไก่ทำไมถึงตาบอด  ถ้านักเรียนเป็นแม่ไก่นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร? ถ้านักเรียนจะเปลี่ยนตอนจบใหม่นักเรียนอยากให้เป็นอย่างไรเพราะอะไร?

-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดถ้านักเรียนตาบอดจะเป็นอย่างไรและรู้สึกอย่างไร

เชื่อม (Talk )

-  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง

-  ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ว่าสมมติถ้าเราตาบอด

ใช้ (Lean ) 

-  ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นบทบาทสมมติเป็นคนตาบอด

-  เล่นปิดตา           
การวัดผลและประเมินผล

ความรู้

นักเรียนเข้าใจความสำคัญและประโยชน์ของดวงตาพร้อมทั้งสามารถดูแลรักษาได้อย่างปลอดภัย

ทักษะ :

ทักษะชีวิต

- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม

- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้

ทักษะการคิด

-  คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้

- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้

- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้

ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ทักษะการสื่อสาร

อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :

- เคารพสิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน

- กระตือรือร้นในการเรียนรู้

- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 

- ยินดีพอใจชื่นชมในสิ่งที่ตนเองมีและผู้อื่นมี
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

-  บรรยากาศภายในห้องเรียน

-  บรรยากาศบริเวณโรงเรียน

-  เพลง

-  นิทาน

-  เรื่องเล่า

-  วัสดุ/อุปกรณ์สื่อจริง

เอกสารแนบ
Thailand Web Stat