ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาวมี 2 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ และหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้
ตัวชี้วัดที่ ค 2.1 ป3/5 เปรียบเทียบความยาวระหว่างเซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร จากสถานการณ์ต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้นักเรียนสามารถ
1. อธิบายความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาวได้ถูกต้อง
2. เปลี่ยนหน่วยการวัดความยาวได้ถูกต้อง
ความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว
10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร = 1 เมตร
1,000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. นักเรียนทำกิจกรรม ยาวเท่าใด โดยครูสุ่มนักเรียนที่น่ารักออกมาวัดความยาวของสิ่งต่างๆ ได้แก่ กล่องชอล์ก แปรงลบกระดาน กล่องขนม แล้วเขียนความยาวที่วัดได้ไว้บนกระดาน เช่น
กล่องชอล์ก 20 เซนติเมตร
แปรงลบกระดาน 25 เซนติเมตร
กล่องขนม 18 เซนติเมตร
นักเรียนสังเกตความยาวของสิ่งที่ครูเขียนเพิ่มอีก 2 สิ่งคือ
ประตู 2 เมตร
ถนน 1 กิโลเมตร
2. นักเรียนสังเกตความยาวที่ครูเขียนเพิ่ม ดังนี้
กล่องชอล์ก 20 เซนติเมตร = 200 มิลลิเมตร
แปรงลบกระดาน 25 เซนติเมตร = 250 มิลลิเมตร
กล่องขนม 18 เซนติเมตร = 180 มิลลิเมตร
ประตู 2 เมตร = 200 เซนติเมตร = 2,000 มิลลิเมตร
ถนน 1 กิโลเมตร = 1,000 เมตร = 100,000 เซนติเมตร
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธืของความยาวที่แสดงบนกระดานจนได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้
10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร
100 เซนติเมตร = 1 เมตร
1,000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ขั้นสรุป
4. นักเรียนทำกิจกรรม ตามหาหัวใจ โดยนักเรียนแต่ละคนจะได้รับรูปหัวใจครึ่งดวงที่ติดความยาวในหน่วยต่างๆ ไว้คนละ 1 อัน เมื่อครูให้สัญญาณทุกคนต้องวิ่งไปจับคู่กับเพื่อนที่มีค่าความยาวที่เท่ากัน
ขั้นฝึกปฏิบัติ
5. นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดความยาว
ความถูกต้องของการตอบคำถามและความเหมาะสมในการอภิปราย
ความถูกต้องของคำตอบ
สิ่งของสำหรับวัดความยาว ได้แก่ กล่องชอล์ก แปรงลบกระดาน กล่องขนม
เครื่องมือการวัดความยาว (ของจริง)
อุปกรณ์เล่นเกมตามหาหัวใจ