สายไฟ
การส่งพลังงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าส่งพลังงานไฟฟ้ามายังบ้านเรือนได้โดยใช้สายไฟ นำพลังงานไฟฟ้ามาตามสาย ไฟแรงสูง จากนั้นจึงผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ต่ำลง แล้วใช้สายไฟต่อแยกเอาพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ในบ้าน ทั้งนี้ต้องต่อผ่านมาตรวัดพลังงานไฟฟ้าก่อน สายไฟที่ต่อแยกเอาพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ในบ้าน ต้องนำไปต่อเข้ากับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเป็นวงจรไฟฟ้าเพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นทำงานได้
ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงขั้นตอนการส่งพลังงานไฟฟ้า
ที่มา : สมโภค สุขอนันต์ สามารถ พงษ์ไพบูลย์. วิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 6. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์. หน้า 2.
สายไฟ
สายไฟเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย
ความสัมพันธ์ระหว่างความนำไฟฟ้า กับความต้านทานไฟฟ้า
ความนำไฟฟ้า หมายถึงสมบัติในการยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านในลวดตัวนำแต่ละชนิด
ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงสมบัติการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า หน่วยของความ ต้านทานคือ โอห์ม (Ohm)
ลวดตัวนำที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มาก เรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้าน ทานไฟฟ้าน้อย
ลวดตัวนำที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย เรียกว่า มีความนำไฟฟ้าน้อย หรือมีความต้าน ทานไฟฟ้ามาก ดังนั้น ความนำไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้าจึงเป็นสัดส่วนผกผันซึ่งกันและกัน
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความนำไฟฟ้ากับความต้านทานไฟฟ้าของลวดตัวนำเป็นดังนี้
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความนำไฟฟ้ากับความต้านทานไฟฟ้าของลวดตัวนำ
ความนำไฟฟ้าของลวดตัวนำขึ้นอยู่กับ
1. ชนิดของลวดตัวนำ โลหะเงินนำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง อะลูมิเนียม ทังสเตน เหล็ก และนิโครม ตามลำดับ ( ลวดนิโครมเป็นโลหะผสมระหว่างนิเกิลกับโครเมียม )
2. ความยาวของลวดตัวนำ ลวดตัวนำชนิดเดียวกัน ขนาดเท่ากัน ลวดที่มีความ ยาวมากจะมีความนำไฟฟ้าได้น้อย ความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าลวดสั้น
3. พื้นที่หน้าตัดหรือขนาดของลวดตัวนำ ลวดตัวนำชนิดเดียวกัน ความยาวเท่ากัน ลวดที่มีพื้นที่หน้าตัดมากกว่า ( ขนาดใหญ่กว่า ) จะมีความนำไฟฟ้ามากกว่าลวดที่มีพื้นที่หน้าตัดเล็ก เช่น ลวด เบอร์ 30 มีขนาดเล็กกว่าลวดเบอร์ 26 ถ้าความยาวเท่ากัน ลวดเบอร์ 30 จะมีความนำไฟฟ้าน้อยกว่า ( ความต้านทานไฟฟ้ามากกว่า ) ลวดเบอร์ 26
4. อุณหภูมิต่ำ ลวดตัวนำจะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าที่อุณหภูมิสูง
ความต้านทานไฟฟ้าของลวดตัวนำขึ้นอยู่กับ ชนิด ความยาว พื้นที่หน้าตัดและอุณหภูมิของลวดตัวนำ
ความต้านทานไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความยาวและเป็นสัดส่วนผกผันกับพื้นที่หน้าตัดของตัวนำไฟฟ้า
ตัวนำยวดยิ่ง
ตัวนำยวดยิ่ง (super conductor) หมายถึง สารที่มีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ โดยความต้านทานไฟฟ้าของตัวนำไฟฟ้าจะลดลง เมื่ออุณหภูมิลดลง และถ้าลดอุณหภูมิลงถึงระดับหนึ่ง คือ ประมาณ 4 – 15 k หรือ -268.85 o C แล้วตัวนำไฟฟ้า เช่น ปรอท จะหมดความต้านทานไฟฟ้าหรือมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์
สายไฟที่ใช้ในบ้านทำด้วยทองแดง ถึงแม้ว่าทองแดงมีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าเงิน แต่ราคาถูกกว่าจึงนิยมใช้ทำสายไฟ บนสายไฟนอกจากจะพิมพ์ชื่อบริษัทผู้ผลิตแล้ว ยังมีตัวอักษร กำกับมาด้วยเช่น 250 V 60 o C P.V.C. 2 X 2.5 SQ.mm. หมายความว่าสายไฟนี้ใช้กับความต่างศักย์ สูงสุดได้ไม่เกิน 250 โวลต์ ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดได้ไม่เกิน 60 องศาเซลเซียล สายไฟนี้ใช้ พี วี ซี หุ้มเป็นฉนวน ภายในเป็นสายไฟ 2 เส้นคู่กัน โดยแต่ละเส้นมีพื้นที่หน้าตัด 2.5 ตารางมิลลิเมตร
สายไฟแรงสูงทำด้วยอะลูมิเนียม ทั้ง ๆ ที่อะลูมิเนียมมีความต้านทานสูงกว่าทองแดง แต่ราคาถูก น้ำหนักเบากว่าทองแดง และเมื่อใช้กับไฟฟ้าแรงสูง พลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปในสายไฟ ที่ทำด้วยอะลูมิเนียม จะไม่ต่างจากพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปในสายไฟที่ทำด้วยทองแดงมากนัก
สายไฟขนาดต่างกันนำไฟฟ้าได้ไม่เท่ากันในการเลือกใช้สายไฟทั้งที่ต่อนอกบ้าน ภายใน บ้าน และที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ นั้น ต้องเลือกใช้สายไฟที่มีขนาดพอเหมาะกับปริมาณกระแสไฟ ฟ้าที่ไหลผ่าน ดังตารางต่อไปนี้
ปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ไหลผ่านสายไฟมาตรฐานขนาดต่าง ๆ ที่อุณหภูมิไม่เกิน 40 ๐ C
การเดินสายไฟภายในอาคาร คือ การเดินสายไฟฝังในผนังอาคาร สายไฟที่เดินในท่อหรือภายในอาคาร ต้องมีขนาดใหญ่กว่าสายไฟที่เดินในอาคารและนอกอาคารเล็กน้อย เพราะการระบายอากาศไม่ดี ขณะใช้จะมีอุณหภูมิสูงกว่า
สายไฟที่ใช้ในบ้านทั้งหมด มีฉนวนไฟฟ้าหุ้มอยู่ เช่น หุ้มด้วย พี วี ซี หรือยาง เพื่อไม่ให้สายไฟแตะกัน นอกจากนี้ยังมีสายไฟบางชนิดอาบด้วยสารเคมีที่มีสมบัติเป็นฉนวน สายไฟเหล่านี้มักใช้ในการทำหม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ ไดนาโม หรือเป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้า
ภาพที่ 12 สายไฟต่าง ๆ ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้า
ที่มา : รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์ และคณะ. สมุดเสริมความรู้ ทักษะปฏิบัติ และแบบทดสอบตามจุดประสงค์ วิทยาศาสตร์ ว 306 ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3. 2543. หน้า 6.