ไวยากรณ์ (Grammar) Nouns
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 66
 | 2.2K views



Noun (คำนาม) คือคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คุณสมบัติ การกระทำ ฯลฯ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 8 ชนิด ดังนี้

I. ประเภทของคำนาม

1. Common noun (คำนามทั่วไป) คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ เช่น

    athlete            (นักกีฬา)
    wardrobe            (ตู้เสื้อผ้า)
    elements            (องค์ประกอบ)

    We went to mass in the cathedral.    (เราไปทำพิธีมิสซาในมหาวิหาร)

2. Proper noun (คำนามชื่อเฉพาะ) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ เช่น

    Amazon            (เว็บไซต์แอมะซอน)
    Brad Pitt            (แบรด พิตต์)
    Harvard University        (มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด)
    London is the capital of England.    (ลอนดอนเป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ)

*เวลาเขียนคำนามชื่อเฉพาะ ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ไม่ว่าจะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ตาม

3. Mass noun (วัตถุนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อของวัตถุหรือมวลสาร บางครั้งเรียกว่า Material Noun คำนามกลุ่มนี้จัดเป็นคำนามนับไม่ได้แต่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ เนื่องจากอยู่เป็นกลุ่มก้อนหรือมีความเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น

milk                (นม)
mud                (โคลน
two slices of bread        (ขนมปัง 2 แผ่น)
three kilograms of mutton    (เนื้อแกะ 3 กิโล)
There is sand in my shoes.        (มีทรายอยู่ในรองเท้าของฉัน)

4. Abstract noun (อาการนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อของสภาวะ สถานะ คุณสมบัติ ลักษณะ หรือการกระทำของคน สัตว์ และสิ่งของต่างๆ เช่น

wealth                (ความมั่งคั่ง)
strength            (ความแข็งแรง)
dedication            (การอุทิศตน)
Death comes to all men.    (มนุษย์ทุกคนนั้นย่อมต้องตาย)
Keeping your health is important.        (การรักษาสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ)

5. Collective noun (สมุหนาม) คือ คำนามแสดงหมวดหมู่หรือกลุ่มพวกของคำนามทั่วไป เช่น

cabinet            (คณะรัฐมนตรี)
a bevy of girls        (สาวๆ แก๊งหนึ่ง)
a bouquet of flower        (ดอกไม้ 1 ช่อ)
two troops of soldiers    (ทหาร 2 กองพล)

6. Compound noun (นามประสม) คือ คำนามที่เกิดจากการเอาคำ 2 คำมารวมกันให้เป็นคำเดียวแล้วเกิดเป็นคำนามใหม่ มีทั้งที่เขียนติดกันและเขียนแยกกัน เช่น

washing machine        (เครื่องซักผ้า)
database            (ฐานข้อมูล)
landlord            (เจ้าของบ้าน)
This property is an office building with 35 storeys.

(อาคารหลังนี้เป็นอาคารสำนักงานให้เช่า 35 ชั้น)
Only 1 percent of the world is covered by freshwater.    
(โลกเรามีน้ำจืดเพียงแค่ 1%)

*นามประสมบางครั้งเกิดจากคำนามมากกว่า 2 คำขึ้นไป เช่น

table tennis table        (โต๊ะปิงปอง)
hotel reception desk        (โต๊ะประชาสัมพันธ์ของโรงแรม)
a two-week English course        (หลักสูตรภาษาอังกฤษ 2 สัปดาห์)

7. Agent noun (นามผู้กระทำ) คือ คำนามหรือคำกริยาที่เติม suffix แล้วมีความหมายแสดงความเป็นผู้กระทำ เช่น

~er

player

ผู้เล่น

~or

visitor

แขก, ผู้มาเยี่ยม

~ent

student

นักเรียน

~ant

attendant

ผู้เข้าร่วม

~ist

columnist

นักเขียนคอลัมน์

~ician

musician

นักดนตรี

        

8. Noun-Equivalent (คำเสมือนนาม) คือ คำที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นคำนามแต่ทำหน้าที่เสมือนคำนาม ได้แก่

    8.1 Infinitive with to
        To sleep is necessary for health.        (การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ)
    8.2 Gerund
        Smoking is prohibited in this area.    (ห้ามสูบบุหรี่บริเวณนี้)
    8.3 The + adjective
        The rich can help the poor.            (คนรวยช่วยคนจนได้)
    8.4 phrase
        To improve my English skills, I must practice English every day.
        (ฉันต้องฝึกภาษาอังกฤษทุกวัน เพื่อให้ภาษาอังกฤษของฉันดีขึ้น)
    8.5 Noun clause
        I don’t understand what Alex wants to convey.
        (ฉันไม่เข้าใจสิ่งที่อเล็กซ์ต้องการจะสื่อ)

นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกคำนามดังกล่าวทั้ง 8 ชนิดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ นามนับได้และนามนับไม่ได้

 

II. Countable Noun

Countable Noun (นามนับได้) คือคำนามที่นับจำนวนได้เป็นตัวเลข อาจใช้คู่กับ article หรือคำบอกปริมาณก็ได้ มีทั้งรูปเอกพจน์และรูปพหูพจน์ คำนามนับได้มี 5 กลุ่ม คือ Common noun, Proper noun, Collective noun, Compound noun และ Agent noun ตัวอย่างเช่น

Meghan was singing a song.        (เมแกนร้องเพลง)
There’s been an accident.            (มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น)
We didn’t take many photographs.    (พวกเราไม่ได้ถ่ายรูปมากมาย)

นามนับได้จะมีทั้งรูปเอกพจน์ (Singular) และรูปพหูพจน์ (Plural) รูปเอกพจน์ใช้แทนหนึ่งหน่วย ส่วนรูปพหูพจน์ใช้แทนหลายหน่วย เช่น

a car = รถหนึ่งคัน        เป็นเอกพจน์
two cars = รถสองคัน    เป็นพหูพจน์
many cars = รถหลายคัน    เป็นพหูพจน์

โดยทั่วไปแล้ว คำนามที่เป็นพหูพจน์จะเติม ~s เช่น books = หนังสือหลายเล่ม, vegetables = ผักหลายชนิด, tourists = นักท่องเที่ยวหลายคน, cups = หลายถ้วย, shops = หลายร้าน เป็นต้น แต่ในกรณีคำนามบางคำเมื่อเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์แล้ว การสะกดคำจะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

 

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน

1. คำนามทั่วไป ให้เติม ~s ท้ายคำนาม เช่น

boat => boats            (เรือหลายลำ)
orange => oranges        (ส้มหลายผล)

2. คำนามที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, x, z ให้เติม ~es ท้ายคำนาม เช่น

bus => buses
sandwich => sandwiches
box => boxes
*คำยกเว้น monarchs (กษัตริย์)

3. คำนาทีลงทายดวย o

        1. ถ้าหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม ~es เช่น 
                tomato => tomatoes
        2. ถ้าหน้า o เป็นสระ ให้เติม ~s เช่น
                video =>  videos

 

*คำยกเว้น kilos, pianos, photos, memos, casinos, dynamos

4. คำามทีงทายวย y

        1. ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ~es เช่น
                city => cities
        2. ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม ~s เช่น
                day => days

5. คำนามที่ลงท้ายด้วย f, fe ให้เปลี่ยน f, fe เป็น v แล้วเติม ~es เช่น
                leaf => leaves

*คำยกเว้น roofs, cliffs, proofs, chiefs, dwarf

6. คำนามต่อไปนี้เป็นรูปพหูพจน์เสมอ (คำนามที่มักจะมีสองข้าง สองชิ้น หรือหลายชิ้น)

scissors    glasses    binoculars     shorts        trousers    
jeans        pants        tights        pyjamas    clothes
goods        assets        arms        belongings    spectacles    

7. คำนามที่ต้องเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์

man => men            woman => women
foot => feet            tooth => teeth
child => children        ox => oxen    
mouse => mice         goose => geese
cactus => cacti        octopus => octopi    
crisis => crises        (วิกฤต)        
penny => pennies        (เหรียญเพนนี)
agenda => agendum        (วาระการประชุม)
alumni => alumnus        (ศิษย์เก่า)
thesis => theses        (วิทยานิพนธ์)  
hypothesis => hypotheses    (สมมติฐาน)
bacterium => bacteria    (แบคทีเรีย)    
phenomenon => phenomena    (ปรากฏการณ์)

9. คำนามที่เอกพจน์และพหูพจน์เป็นรูปเดียวกัน

fish        (ปลาตัวเดียว, ปลาหลายตัว)    
sheep        (แกะตัวเดียว, แกะหลายตัว)
deer        (กวางตัวหนึ่ง, กวางหลายตัว)
salmon    (ปลาแซลมอนหนึ่งตัว, ปลาแซลมอนหลายตัว)
series        (ซีรีส์เรื่องหนึ่ง, หลายซีรีส์)
species    (หนึ่งสปีชีส์, หลายสปีชีส์)

10. คำนามที่มีรูปเป็นเอกพจน์แต่ถือว่าเป็นพหูพจน์
people        police        cattle

11. คำนามที่ถูกกำหนดให้เป็นเอกพจน์เสมอ

person        news        ashes        darts        billiards    
physics    economics    statistics    politics    mathematics

12. คำนามที่รูปเอกพจน์และรูปพหูพจน์มีความหมายต่างกัน

compass (เข็มทิศ) => compasses (วงเวียน)
minute (นาที) => minutes (รายงานการประชุม)
manner (อาการ) => manners (มารยาท)
custom (ประเพณี) => customs (ภาษีอากร)

13. นามประสม (compound noun) ให้เติม ~s ท้ายคำนามหลัก เช่น

runner-up => runners-up
son-in-law => sons-in-law
17-year-old girl => 17 year-old girls

 

III. Uncountable Noun

Uncountable Noun (นามนับไม่ได้) คือคำนามที่ไม่สามารถนับจำนวนได้ แต่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้ มีแต่รูปเอกพจน์เท่านั้น คำนามนับไม่ได้มี 3 กลุ่ม คือ Mass noun, Abstract noun และ Noun-Equivalent ตัวอย่างเช่น

Have you got any money?            (คุณมีเงินบ้างมั้ย?)
The news was very depressing.        (ข่าวนั้นน่าหดหู่)
I can’t wait. I haven’t got time.        (ฉันรอไม่ได้ ไม่มีเวลาแล้ว)
How can we move all this furniture to your house?

(เราจะขนเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดนี้ไปบ้านคุณยังไงดี?)

นามนับไม่ได้นั้นจะไม่มีรูปพหูพจน์ และไม่สามารถใช้ a/an นำหน้าได้ แต่สามารถใช้คำบอกปริมาณนำหน้าเพื่อแสดงจำนวนได้ ดังนี้

    

การเปลี่ยนนามนับไม่ได้ให้เป็นนามนับได

เอกพจน์    a/an + ภาชนะ/หน่วยวัด + of + นามนับไม่ได้
พหูพจน์    จำนวน/คำบอกปริมาณ + ภาชนะ/หน่วยวัด + of + นามนับไม่ได้
            (เติม –s/–es หลังภาชนะหรือหน่วยวัด) 

a bowl of soup        (ซุป 1 ชาม)
a carton of milk        (นม 1 กล่อง)
a bar of chocolate        (ช็อกโกแลต 1 แท่ง)
a bag of flour            (แป้ง 1 ถุง)
a bottle of ink        (หมึก 1 ขวด)

two slices of meat        (เนื้อ 2 ชิ้น)    
three drops of oil        (น้ำมัน 3 หยด)
four jars of honey        (น้ำผึ้ง 4 ไห)
many pieces of paper    (กระดาษหลายแผ่น)
several bags of rice        (ข้าวสารหลายถุง)

นอกจากนี้ยังมีคำนามบางคำเป็นได้ทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ ซึ่งโดยปกติมักจะมีความหมายแตกต่างกัน เช่น
There’s a hair in my food.    (เส้นผม)
Her hair is blond.                 (ผม)
I want something to read. I’m going to buy a paper.    (หนังสือพิมพ์)
I want to make a list. I need some paper.        (แผ่นกระดาษ)
Enjoy your holiday. Have a good time!            (ช่วงเวลาครั้งหนึ่ง)
I can’t wait. I haven’t got time.                (เวลา)

 

III. หน้าที่ของคำนาม

คำนามสามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน กรรม และส่วนเติมเต็มของประโยค ดังนี้

        - ทำหน้าที่เป็นประธาน (subject)

Doctors work hard.                (แพทย์ทำงานหนัก)
Jack loves her parents very much.    (แจ็ครักพ่อแม่ของเขามาก)

        - ทำหน้าที่เป็นกรรม (object)

Rita ate a sandwich.                (ริต้ากินแซนด์วิชไปชิ้นหนึ่ง)
The teacher punished the students.    (ครูทำโทษนักเรียน)

        ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (complement)

They considerered her a criminal.        (พวกเขาคิดว่าเธอเป็นฆาตรกร)
Everyone called him a coward.        (ทุกๆ คนเรียกเขาว่า คนขี้ขลาด)

 
Tag :