ด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรของภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเซียเนีย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาค ถูกวางรากฐานบนการเกษตร ในแง่นี้ สภาวะสังคมของประชากรชาวเอเชียโดยรวม จึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเรื่องของการเกษตร
ในบริเวณภูมิภาคที่ติดกับชายทะเล หรือภูมิภาคที่เป็นเกาะ เช่น ภูมิภาคโอเชียเนีย และออสเตรเลีย พบว่าการประมงเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อภูมิภาค
และด้วยปัจจัยเอื้ออำนวยทางภูมิศาสตร์ เราจึงพบว่าภูมิภาคเอเชีย และออสเตรเลีย เป็นศูนย์กลางของการผลิตวัตถุดิบที่สำคัญในการบริโภคของประชากรในโลก จนมีคำกล่าวว่าภูมิภาคเอเชีย และโอเชียเนียนั้นเป็น “ห้องครัวของโลก” ด้วยปัจจัยทั้งในเรื่องของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และผลสืบเนื่องทางวัฒนธรรม ส่งผลให้วิถีชีวิตของประชาชนในภูมิภาคนี้ มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับระบบทางการเกษตร และได้พัฒนาขึ้นมากลายเป็นแกนหลักในการดำเนินชีวิตของประชาชนในภูมิภาคนับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
แต่ในอีกทางหนึ่ง ด้วยพัฒนาการด้านเทคโนโลยี และความทันสมัยของสังคมเมืองที่ปรากฏขึ้น ส่งผลให้ภูมิภาคนี้เกิดการปรับเปลี่ยนตัว และการพัฒนาทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่ไม่ใช่สภาวะทางเกษตรกรรมอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น การขยายตัวในเรื่องของอุตสาหกรรมโรงงาน ที่เกิดขึ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้คนงานเป็นจำนวนมาก
การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมดังกล่าว ส่งผลให้พลวัตการดำรงชีวิตของประชากรในภูมิภาคนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมีนัยยะที่สำคัญ กล่าวคือ พลเมืองในภูมิภาคดังกล่าวเริ่มขยับขยายเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นเกษตรกร เข้าสู่การเป็นพนักงาน หรือการเป็นลูกจ้างของโรงงานอุตสาหกรรมแทน ในแง่นี้ ลูกสมัยใหม่ที่ปรากฏขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีลักษณะในการเคลื่อนไหวไหลลื่นของประชากรเข้าสู่เขตเมืองใหญ่ รวมถึงผลผลิตซึ่งประเทศในภูมิภาคเหล่านี้สามารถผลิตออกมาได้นั้น เริ่มที่จะเปลี่ยนรูปแบบจากสินค้าในเชิงเกษตร ไปเป็นสินค้าในเชิงอุตสาหกรรม
เรียบเรียงโดย : ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ