เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาระดับโลก ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ จึงจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ดังเช่น กฎหมายระหว่างประเทศที่นานาชาติร่วมตกลงกันวางมาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีสนธิสัญญา หรือกฎหมายระหว่างประเทศที่สำคัญดังนี้
1. พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer)
มุ่งไปที่จำกัดการใช้สารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน-ฮาโลเจน ซึ่งพบว่ามีส่วนสำคัญในการทำลายชั้นโอโซน โดยสารทำลายทั้งหมดนี้ มีส่วนผสมของคลอรีน หรือโบรมีนประกอบอยู่ โดยมีการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (1989) เป็นต้นมา
2. พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)
เป็นข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน ตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) มีเป้าหมายคือ การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ซัลเปอร์เฮกซะ ฟลูออไรด์ ก๊าซในกลุ่มไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน (HFCs) และเปอร์ฟลูออโรคาเรียน (PFCs)
3. สนธิสัญญาบาเซิล (Basel Convention)
จุดมุ่งหมายคือ ควบคุมการเคลื่อนย้าย และกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน
4. อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)
เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ
5. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endagered Species of Wild Fauna and Flora) หรือไซเตส (CITES)
มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธ์
วิธีการอนุรักษ์ กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่า และพืชป่า
6. กฎบัตรซาราโกซา (The Zoos Zaragoza Charter)
เป็นการจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกที่กำหนดแนวคิดหลัก คือ น้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Water and Sustainable Development) รวมถึงจัดการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
7. แผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21)
เป็นแผนแม่บทของโลก สำหรับการดำเนินงานการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่พยายามเสนอว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยปราศจากการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือระบบธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชน
ในส่วนบทบาทขององค์การ และการประสานความร่วมมือระดับประเทศของไทยนั้น องค์กรภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
องค์กรอิสระในประเทศไทย ได้แก่ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมสร้างสรรค์ไทย มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิโลกสีเขียว
ในระดับนานาชาติ ตัวอย่างองค์กรระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กรีนพีซ (Greenpeace) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : นำโชค อุ่นเวียง