โลกในยุคปัจจุบันนั้น คือผลรวมของพัฒนาการที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามการการเปลี่ยนแปลงของโลกนับตั้งแค่ยุคสมัยอดีตที่ผ่านมา องค์ความรู้ที่สำคัญของโลกในยุคโบราณ ล้วนมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในโลกสมัยปัจจุบันในหลายๆ มิติ รวมถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยีอันทันสมัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นในยุคสมัยที่ผ่านมา ซึ่งมีผลสืบเนื่องต่อมายังโลกสมัยปัจจุบัน หรือสมัยใหม่นี้ สามารถวิเคราะห์ออกได้เป็น 2 ปัจจัยหลักคือ ปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง
เกิดการตื่นตัวต่อแนวคิดของนักปรัชญาฝ่ายเสรีนิยม ซึ่งมีแนวคิดสนับสนุนหลักการเสรีนิยม และต่อต้านระบบการปกครองในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราช และได้พัฒนากลายมาเป็นการเรียกร้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง ในราวศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา ก่อนจะพัฒนาไปสู่การแยกขั้วอำนาจทางการเมืองอย่างชัดเจน ระหว่างขั้วความคิดทางประชาธิปไตย และขั้วความคิดทางสังคมนิยม จนทำให้อำนาจในการปกครองโลกในยุคสมัยใหม่ ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน (Binary Opposition)
การเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ
เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) ที่เริ่มขึ้นใน สหราชอาณาจักร ในศตวรรษที่ 18 การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเพื่อทดแทนแรงงานมนุษย์ ซึ่งมีข้อจำกัดทางกายภาพ คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงด้านการกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม การเกษตร การทำเหมืองแร่ การคมนาคม ส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และลบ อย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนั้น
ผลกระทบในด้านบวกคือ การผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมากนี้ ส่งผลให้สินค้ามีจำนวนมากขึ้น ราคาถูกลง ประชาชนที่มีฐานะยากจนสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น ส่วนผลกระทบในด้านลบ ก็เช่น สินค้ามีมากจนล้นตลาด เครื่องจักรทำให้คนว่างงานมากขึ้น เกิดการแสวงหา และตักตวงทรัพยากรในการผลิต ทั้งวัตถุดิบ และพลังงานจากธรรมชาติอย่างมโหฬาร เกิดการกระตุ้นการบริโภคที่เกินความต้องการ ทั้งหมดนี้ เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจการค้าเสรี หรือทุนนิยม และลัทธิบริโภคนิยมที่ลุกลามไปทั่วโลกในปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย : นำโชค อุ่นเวียง