สสาร
หาก ใช้เนื้อสารแบ่งประเภท จะได้ 2 กลุ่มดังนี้
1. สารเนื้อเดียว (Homogenous substance) คือ สารที่มีองค์ประกอบและสมบัติกลมกลืนกันหมดทุกส่วน เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ทองเหลือง น้ำเปล่า ทองคำ
สารเนื้อเดียว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- สารบริสุทธิ์ (Pure substance) เป็นสารเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเฉพาะตัวและคงที่ เช่น จุดเดือดคงที่ ความหนาแน่นคงที่ ได้แก่ ธาตุต่าง ๆ และสารประกอบ
- สารละลาย (Solution) เป็นของผสมที่เกิดจากตัวทำละลาย และ ตัวละลาย โดยรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น อากาศ น้ำเกลือ เหรียญบาท
- สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่ ส่วนสารละลายมีจุดเดือดไม่คงที่ โดยจุดเดือดเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้น
- สารละลายที่มีจุดเดือดคงที่ เรียกว่า ของผสมอะซีโอโทรป (Azeotropic mixer)
2. สารเนื้อผสม (Heterogeneous substance) คือ สารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปผสมกันแต่ไม่กลมกลืน เช่น น้ำคลอง ดินปนทราย พริกกับเกลือ
สารเนื้อผสม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- สารแขวนลอย (Suspension) มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10-7 เซนติเมตร ทำให้เกิดการตกตะกอน เช่น น้ำโคลน น้ำแป้ง ปูนซีเมนต์
- คอลลอยด์ (Colloid) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10-7 ถึง 10-4 เซนติเมตร ไม่ตกตะกอน แต่เกิดปรากฏการณ์ทินดอลล์ ( Tyndall effect )