วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาตอนปลาย นิเวศวิทยา โดยครูแบร์รี่
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 19K views



นิเวศวิทยา

ระบบนิเวศ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก คือ   

1. ทางกายภาพ คือ องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ แหล่งที่อยู่ อุณหภูมิ ปริมาณแสง ฯลฯ

2. ทางชีวภาพ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิต โดยจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตามหน้าที่เชิงอาหาร ดังนี้

ผู้ผลิต (Producer)  สร้างอาหารเองได้ เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์ เช่น พืช สาหร่าย แพลงก์ตอนพืช แบคทีเรียบางชนิด 

ผู้บริโภค (Consumer) สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร 

- ผู้บริโภคพืช  (Herbivore)  เช่น ม้า ควาย
- ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) เช่น สิงโต เหยี่ยว 
- ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) เช่น คน หมีแพนด้า
- ผู้บริโภคซาก (Detritivore) เช่น แร้ง ปลวก

ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Decomposer) ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอินทรีย์สารที่อยู่ในซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอนินทรีย์สาร เช่น เห็ดรา ยีสต์ (Fungi) และแบคทีเรีย (Bacteria) บางชนิด 

 

การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ แบ่งเป็น

1. ห่วงโซ่อาหาร (food chain) คือ การกินต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อถ่ายทอดพลังงาน

2. สายใยอาหาร (Food Web) คือ หลายห่วงโซ่อาหารรวมกัน

 

ป่าไม้ในประเทศไทย  มี 2 ประเภท ป่าไม่ผลัดใบ กับ ป่าผลัดใบ 

ป่าผลัดใบ เป็นป่าที่ใบไม้จะร่วงในฤดูแล้ง จึงไม่เขียวชอุ่มตลอดปี ได้แก่ ป่าเต็งรัง และ ป่าเบญจพรรณ

ป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่เขียวชอุ่มตลอดปี เรียกอีกชื่อว่า ป่าดงดิบ  ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าพรุ ป่าชายเลน ป่าดิบชื้น

 

รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

ภาวะต้องพึ่งพากัน (+,+) เช่น ไลเคน 

ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (+,+) เช่น ดอกไม้ กับ แมลง 

ภาวะอิงอาศัย (+,o) เช่น เหาฉลาม กับ ปลาฉลาม

ภาวะล่าเหยื่อ (+,-) เช่น เสือ กับ กวาง

ปรสิต(+,-) เช่น กาฝาก/ฝอยทอง บน ต้นไม้