การเขียนย่อความ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 19.3K views



เมื่อเราอ่านเรื่องราวจากสื่อต่างๆ จบแล้ว หากไม่จดบันทึกไว้ เมื่อนึกจะใช้งานก็ต้องกลับไปเปิดอ่านใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเสียเวลา งานเขียนต่างๆ ที่เราได้อ่าน ล้วนแต่ประกอบด้วยใจความสำคัญและรายละเอียดปลีกย่อย เราสามารถเขียนย่อความเนื้อหานั้นๆ เพื่อให้สะดวกต่อการกลับมาอ่านทบทวนอีกครั้ง

ภาพ : shutterstock.com

จุดหมายในการเขียนย่อความ

1. เพื่อนิยามความหมาย
2. เพื่อสรุปย่อความ
3. เพื่อเล่าเรื่องย่อ

วิธีการเขียนย่อความ

1. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
2. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน แล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
3. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ ตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออกเพื่อให้เนื้อหากระชับ
4. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามประเภทของข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
5. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้องไม่ตัดทอนแก้ไข

 

รูปแบบของการเขียนย่อความ

1. การย่อนิทาน

ย่อนิทานเรื่อง ……………….. จากหนังสือ ……………….. ผู้แต่ง ………………..
ความว่า ………………..

2. การย่อข่าว

ย่อข่าวเรื่อง ……………….. จาก ………………..
ความว่า ……………….. 

3. การย่อบทความ

ย่อบทความเรื่อง ……………….. ของ ……………….. จาก ………………..
ความว่า ……………….. 

4. การย่อโอวาท

ย่อโอวาทของ ……………….. เนื่องในโอกาส ……………….. เมื่อวันที่ ……………….. จากหนังสือ ………………..
ความว่า ………………..

5. การย่อประกาศ

ย่อประกาศของ ……………….. เรื่อง ……………….. แด่ ……………….. เนื่องในโอกาส ……………….. เมื่อวันที่ ……………….. จากหนังสือ ………………..
ความว่า ………………..

6. การย่อบทสัมภาษณ์

ย่อบทสัมภาษณ์เรื่อง ……………….. ผู้ให้สัมภาษณ์ ……………….. มีอาชีพ ………………..
ความว่า ……………….. 

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว