ภาษาพูดกับภาษาเขียน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 325.2K views



การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารนั้น ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียน สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่าผู้พูด หรือผู้เขียน มีความรู้ทางภาษาแค่ไหน ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดีอย่างไร ภาษาจึงเป็นเครื่องบอกระดับการศึกษา และได้รับการอบรมของผู้ใช้ด้วย เหมือนสำนวนไทยโบราณที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล” 

ภาพ : shutterstock.com

ภาษาพูด

หรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้พูดกันในกลุ่มคนพวกเดียวกัน เช่น กลุ่มเพื่อน จึงไม่เคร่งครัดเรื่องข้อบังคับ ใช้ภาษาแสลง อาจไม่สุภาพบ้าง หยาบคายบ้าง ภาษาปากอาจนำไปใช้ในการเขียนได้ เช่น เป็นคำพูดตัวละครในนิยาย บทละคร บทภาพยนตร์ เพื่อความสมจริงของงานนั้นๆ

 

ภาษาเขียน

มีลักษณะเคร่งครัดในหลักภาษา มีทั้งระดับเคร่งครัดมาก เรียกว่า ภาษาแบบแผน เช่น การเขียนภาษาเป็นทางการ จนถึงระดับไม่เคร่งครัดมากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาพูด

1.) ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะวัย เช่น

ภาษาพูด

ภาษาเขียน

แห้ว

ผิดหวัง

เริด

ดี

เดี้ยง

พลาดพลั้ง เจ็บตัว

ดิ้น

เต้นรำ

แซว

เสียดสี

เจ๋ง

ดีมาก

 

2. ภาษาพูดมักเป็นภาษาไทยแท้ หรือภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย หรือเป็นภาษากึ่งแบบแผน เช่น

ภาษาพูด

ภาษาเขียน

ผัวเมีย

สามี ภรรยา

เมียน้อย

อนุภรรยา

ดาราหนัง

นักแสดงภาพยนตร์

ปอดแหก

หวาดกลัว

เกือก

รองเท้า

 

3. ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียงสระ และเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง เช่น

ภาษาพูด

ภาษาเขียน

เริด

เลิศ

เพ่

พี่

จิงอะป่าว

จริงหรือเปล่า

เตง

ตัวเอง

มหาลัย

มหาวิทยาลัย

วิดลัย

วิทยาลัย

 

4.ภาษาพูดมักเป็นคำยืมจากภาษาต่างประเทศ และตัดคำให้สั้นลง เช่น

ภาษาพูด

ภาษาเขียน

เว่อร์ (Over)

เกินควร เกินกำหนด

จอย (Enjoy)

สนุก เพลิดเพลิน

ก๊อบ(Coppy)

คัดลอก


เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว