เสียงในภาษาไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 122K views



คนปกติสามารถส่งเสียงออกมาได้ตั้งแต่ออกมาจากท้องแม่ ถ้าเด็กร้องไห้จ้าตอนคลอดก็ถือว่าปกติในการออกเสียง แสดงว่า ปอด หลอดลม กล่องเสียงของเด็กปกติ เสียงในภาษาไทยนั้นมี 3 ชนิดประกอบด้วย เสียงสระคือเสียงแท้ เสียงพยัญชนะคือเสียงแปร และเสียงวรรณยุกต์คือเสียงดนตรี และมีตัวสะกดจำนวน 9 มาตรา

ภาพ : shutterstock.com

อวัยวะในร่างกายที่สำคัญในการออกเสียงคือ ปอด หลอดลม กล่องเสียง (ลูกกระเดือกของเรานั่นเอง) นอกจากนั้น ยังมีอวัยวะในปากของเรา ที่จำเป็นอย่างมากในการที่จะพูดออกเสียง คือ ลิ้น ฟัน ปุ่มเหงือก เพดานปาก ริมฝีปาก

ถ้าอวัยวะเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติไปแต่เล็กๆ ก็จะมีปัญหาในการพูด ในการออกเสียงให้ชัดเจน ทุกอย่างต้องทำงานปกติทั้งหมด จึงจะพูดชัดเจนได้ โบราณเรียก อาการครบ 32

เมื่อมีลมออกจากปอดขึ้นมาทางหลอดลม แล้วสัมผัสกับเส้นเสียงจนเกิดการสั่นแล้ว ก็จะถูกดัดแปลงให้เป็นเสียงพูดตามที่สมองสั่งงาน ซึ่งกระบวนการนี้รวดเร็วมาก ใช้เวลาน้อยกว่าเสี้ยววินาที เพราะสมองทำงานเร็วมากนั่นเอง

 

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยนั้นมี 3 ชนิดประกอบด้วย เสียงแท้หรือสระคือ เสียงแปรหรือเสียงพยัญชนะ และเสียงดนตรีหรือเสียงวรรณยุกต์ มีรายละเอียดดังนี้

1. เสียงสระ หรือเสียงแท้

สระในภาษาไทยมี 32 เสียง แบ่งเป็น

- สระเดี่ยว คือเสียงสระที่เกิดจากกล่องเสียง ไม่ได้ไปประสมกับเสียงสระอื่นใด มี 18 เสียง (เสียงสั้น 9 เสียง และเสียงยาว 9 เสียง) ประกอบด้วย อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

- สระประสม คือเสียงสระที่เกิดจากการประสมสระเดี่ยว 2 เสียง กลายเป็นเสียงใหม่ มี 6 เสียง (เสียงสั้น 3 เสียง และเสียงยาว 3 เสียง) ประกอบด้วย

สระเอียะ มาจาก อี + อะ
สระเอีย มาจาก อี + อา
สระเอือะ มาจาก อือ + อะ
สระเอือ มาจาก อือ + อา
สระอัว มาจาก อู + อะ
สระอัว มาจาก อู + อา

สามารถลองแยกเสียง หรือประสมเสียงเองได้ จากการออกเสียงสระ 2 เสียงซ้ำๆ จากช้าไปเร็ว เช่น อี + อา ก็จะได้เป็นเสียงสระเอีย

- สระเกิน คือเสียงสระแท้ ประสมกับเสียงพยัญชนะ ได้เป็นเสียงสระ มี 8 เสียงประกอบด้วย

สระอำ มาจาก อะ + ม
สระไอ มาจาก อะ + ย
สระใอ มาจาก อะ + ย
สระเอา มาจาก อะ + ว
สระ ฤ มาจาก ร + สระอึ
สระ ฤา มาจาก ร + สระอือ
สระ ฦ มาจาก ล + สระอึ
สระ ฦา มาจาก ล + สระอือ

โดยสระทั้ง 32 เสียงนี้ อยู่ในรูปสระจำนวน 21 รูป ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงสระต่างๆ เวลาเขียน ซึ่งมีดังนี้

ลำดับ

รูปสระ

ชื่อสระ

1

วิสรรชนีย์

2

ไม้หันอากาศ

3

ไม้ไต่คู่

4

ลากข้าง

5

พินทุ์ อิ

6

ฝนทอง

7

นฤคหิต

8

"

ฟันหนู

9

ตีนเหยียด

10

ตีนคู้

11

ไม้หน้า

12

ไม้ม้วน

13

ไม้มลาย

14

ไม้โอ

15

ตัว ออ

16

ตัว ยอ

17

ตัว วอ

18

ตัว รึ

19

ฤา

ตัว รือ

20

ตัว ลึ

21

ฦา

ตัว ลือ

2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร

คือเสียงที่ถูกแปรเปลี่ยน หรือปรับปรุงโดยอวัยวะต่างๆ ในปากเรา เช่น ริมฝีปาก ฟัน จนออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ถ้าอวัยวะเหล่านี้ผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง หรือฟันหลอ ก็จะไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะได้ชัดเจน

พยัญชนะไทยตั้งแต่ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก รวมทั้งสิ้น 44 ตัว จะมีเสียงพยัญชนะจริงๆ เพียง 21 เสียง ที่เหลือจะเป็นพยัญชนะที่เสียงซ้ำกัน หรือกล่าวได้ว่า พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงดังนี้

 

ลำดับ

เสียงพยัญชนะ

รูปพยัญชนะ

1

2

ข ฃ ค ฅ ฆ

3

4

5

ช ฌ ฉ

6

ซ ศ ษ ส

7

ด ฎ

8

ต ฏ

9

ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ

10

น ณ

11

12

13

พ ภ ผ

14

ฟ ฝ

15

16

17

18

ล ฬ

19

20

ฮ ห

21

ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มีคำใช้งานมากมาย นักภาษาศาตร์ไทยแต่โบราณช่วยกันออกแบบรูปพยัญชนะขึ้นใช้งาน ตามการใช้ที่หลากหลายในการเขียน ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทย ซึ่งมีไม่ถึง 44 ตัว มาจนครบ 44 ตัวในสมัยปัจจุบัน

3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี

ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี เพราะเรามีวรรณยุกต์ใช้ จึงทำให้เกิดเสียงต่ำ เสียงสูง วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป แต่มี 5 เสียงคือ เอก โท ตรี จัตวา ซึ่งใกล้เคียงกับโน้ตดนตรีสากลที่มี 7 เสียงคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที

การมีวรรณยุกต์ใช้ ทำให้สามารถเพิ่มคำได้มากมาย โดยไม่ต้องสร้างคำศัพท์ที่เขียนแตกต่างกันมากเกินไป เพราะวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนไป ทำให้คำมีระดับเสียงเปลี่ยนไปด้วย จึงสามารถใช้แทนความหมายได้มากตาม เช่น จอ จ่อ จ้อ จ๊อ (พุทรา) จ๋อ

 

เราใช้สัญลักษณ์กำกับแทนเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

เสียงวรรณยุกต์

รูปวรรณยุกต์

ตัวอย่าง

1. เสียงสามัญ

ไม่มีรูป

กิน ตา งง

2. เสียงเอก

ข่าว ปาก ศัพท์

3. เสียงโท

ชอบ นั่ง ใกล้

4. เสียงตรี

งิ๊ว รัก เกี๊ยะ

5. เสียงจัตวา

ฉัน หนังสือ เก๋

ด้วยพยัญชนะ 44 ตัว กับสระอีก 32 เสียง รวมกับวรรณยุกต์อีก 5 เสียง ทำให้เราสามารถสร้างคำศัพท์ใช้ได้มากมายมหาศาล นี่คือผลงานของนักปราชญ์ภาษาไทยแต่โบราณมา

 

มาตราตัวสะกด

ในเสียงพยัญชนะ 21 เสียง มีเพียง 8 เสียงเท่านั้นที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นมาตราตัวสะกดได้ ดังต่อไปนี้

- แม่กก มีตัวสะกดคือ ก ข ค ฆ ตัวอย่างเช่น แตก เลข มรรค เมฆ เป็นต้น

- แม่กด มีตัวสะกดคือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส ตัวอย่างเช่น วาด ดุจ ราช ก๊าซ กฎ ปรากฏ รัฐ ครุฑ วุฒิ อุบัติ รถ เวท พุทธ อากาศ เศษ โอกาส เป็นต้น

- แม่กบ มีตัวสะกดคือ บ ป พ ภ ฟ ตัวอย่างเช่น ราบ บาป ภพ ลาภ กราฟ เป็นต้น

- แม่กง มีตัวสะกดคือ ง ตัวอย่างเช่น ธง หวัง ดึง เป็นต้น

- แม่กน มีตัวสะกดคือ น ญ ณ ร ล ฬ ตัวอย่างเช่น วัน เจริญ พรรณ สังขาร กาล กาฬ เป็นต้น

- แม่กม มีตัวสะกดคือ ม ตัวอย่างเช่น ลม นาม ชุม เป็นต้น

- แม่เกย มีตัวสะกดคือ ย ตัวอย่างเช่น ภัย กาย ชุ่ย เป็นต้น

- แม่เกอว มีตัวสะกดคือ ว ตัวอย่างเช่น สาว ผิว เหว เป็นต้น

นอกจากตัวสะกด 8 มาตรานี้แล้ว ยังมีมาตราแม่ ก กา ด้วย คือเสียงพยัญชนะต้นกับสระ แต่ไม่มีเสียงตัวสะกดตามหลัง เช่น วัว มี เขา เป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว