ภาษาจีน ม. ปลาย ส่วนขยายหน้าและส่วนเสริมท้ายที่นักเรียนควรทำความเข้าใจ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 59.9K views



ส่วนขยายหน้าและส่วนเสริมท้ายที่นักเรียนควรทำความเข้าใจ

修饰语与补充语

 

         ในบทเรียนหลายบทที่ผ่านมาจะสังเกตได้ว่ายิ่งเป็นเนื้อหาที่เข้าใจยาก  ผมจะยิ่งหลีกเลี่ยงการอธิบายหลักนิยามและกฎไวยากรณ์ด้วยสำนวนภาษาเขียน  เพราะจากประสบการณ์สอนในชั้นเรียนห้องศิลป์-จีนระดับมัธยมศึกษาและเอก-จีนระดับอุดมศึกษาของผม   บ่อยครั้งที่พบว่านักเรียนในหนึ่งห้องมีนักเรียนที่มีความรู้ระดับสูงและต่ำปะปนกัน  แม้แต่ในระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน  นักศึกษาปีหนึ่งของภาควิชาเอก-จีน บางส่วนเคยเรียนภาษาจีนตั้งแต่ระดับมัธยมปลายแล้ว และอีกส่วนหนึ่งไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อน  การอธิบายด้วยนิยามหรือหลักการด้วยศัพท์สูงจึงไม่เหมาะ  เพราะพื้นฐานความรู้ของนักเรียนยังไม่แน่นพอที่จะข้ามขั้นไปทำความเข้าใจไวยากรณ์ด้วยสำนวนอธิบายเชิงวิชาการ   แม้แต่นักเรียนที่เก่งก็เช่นกัน

 

         ด้วยเหตุนี้  เพื่อประโยชน์สูงสุดในการถ่ายทอดความรู้  ผมจึงอยากจะเน้นอีกครั้ง(ในชั้นเรียน การอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ เป็นสิ่งที่ผมเน้นย้ำทุกครั้งที่มีโอกาส)ว่าบทนี้ผมจะใช้วิธีอธิบายให้ฟังง่าย  ผมจะใช้คำจำกัดความเพียงสองคำสั้นๆในการอธิบาย  ซึ่งเพียงพอแล้วสำหรับการทำความเข้าใจ  นั่นคือ

 

                                           1.ส่วนขยายหน้า

                                           2.ส่วนเสริมท้าย

 

         ตราบใดที่เรายังเรียนโครงสร้างไวยากรณ์ด้วยการอธิบายด้วยศัพท์สูง  วิชาภาษาจะกลายเป็นวิชายากทันที  ผมอยากให้มองโครงสร้างภาษาเป็นเรื่องง่ายเสียก่อน  ซึ่งในความเป็นจริงมันก็ง่ายจริงๆ   ลองคิดดู  ไม่ว่าภาษาหนึ่งจะซับซ้อนแค่ไหนก็ตาม  ที่สุดแล้วก็เป็นแค่เรื่องคำอะไรอยู่หน้าและคำอะไรอยู่หลังเท่านั้นเอง  ในเบื้องต้น  ขอเพียงจับหลักได้ว่า  คำที่ใช้ขยายความหมายของประโยคนั้นต้องวางข้างหน้าหรือข้างหลังของคำที่ถูกขยายก็พอแล้ว   ลองอ่านตัวอย่างดังต่อไปนี้เราจะพบว่า  ในภาษาจีนมีทั้งส่วนขยายความหมายที่วางข้างหน้าและวางข้างหลัง  ดูตัวอย่าง (ส่วนที่ขีดเส้นใต้ คือส่วนขยาย  ส่วนที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้ คือคำถูกขยาย)

                            

                  一个名字叫陈小明的台湾学生  (คำขยายคำนามวางข้างหน้าเสมอ)

(ต. 一個名字叫陳小明的臺灣學生 )

Yī gè míng zì jiào chén xiǎo míng de tái wān xuéshēng

                  นักเรียนชาวไต้หวันคนหนึ่งที่ชื่อว่าเฉินเสี่ยวหมิง

 

                  故意 搞坏电脑  ( ส่วนขยายหน้ากริยาเพื่อเจาะจงความหมาย)

                 (ต. 故意搞壞的電腦 )

Gù yì gǎo huài diàn nǎo  

                  จงใจทำคอมพิวเตอร์พัง

 

                     (เสริมท้ายกริยาเพื่อระบุกาลเวลาให้ชัดเจนหรือเจาะจงมากขึ้น)

                  (ต. 拿著 )

Ná zhù 

                  ถืออยู

 

                  一会儿 (เสริมท้ายกริยาเพื่อระบุปริมาณ)

                  (ต. 等一會兒)

Děng yī huì ér 

                  รอสักครู

 

         สรุป  ในภาษาจีน  ใช้ส่วนขยายหน้าเพื่อเปลี่ยน/เสริมแต่งความหมายของคำถูกขยาย  ใช้ส่วนเสริมท้ายเพื่อให้   ช่วงเวลา  ปริมาณ    แนวโน้มของการกระทำ   มีความหมายชัดเจนขึ้นหรือเจาะจงมากขึ้น 

         อีกประการที่สำคัญที่ทำให้ไวยากรณ์จีนง่ายกว่าภาษาอื่นคือ  ภาษาจีนไม่มีคำสมาสและคำสนธิ   การผสมคำเกิดจากการนำอักษรสองตัวมาต่อกันเท่านั้น  และบนเส้นบรรทัด อักษรจะต่อกันได้เพียงสองกรณีเท่านั้น คือ ต่อกันในแนวนอน ไม่วางข้างหน้าก็วางข้างหลัง  

 

         เกริ่นมาพอสมควร  ก่อนเข้าสู่เนื้อหาจริง  ขอเล่านอกเรื่องสั้นๆเพราะคิดว่ามันมีประโยชน์ต่อผู้เรียนไม่มากก็น้อย ตอนที่ผมเรียนภาษาไทย  สิ่งแรกที่ทำให้คนจีนอย่างผมรู้สึกยากคือ ภาษาไทยนั้นนอกจากผสมคำโดยเอาพยัญชนะและสระมาต่อกันในแนวนอน ( เช่น  การ   ปาน  หมด  เป็นต้น)  ยังต้องคอยระวังสระที่อาจปรากฏในแนวดิ่งด้วย  (เช่น  ตู้  สู้  หนู  เป็นต้น)  แต่โชคดีที่ผมสนุกกับอุปสรรคเหล่านี้  จึงทำให้คิดอ่านและเขียนภาษาไทยได้ในทุกวันนี้   เวลาคนเราสนุกกับอะไรเข้าก็ยากที่จะยอมแพ้ได้ง่ายๆ  ความสนุกคือกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยไขความกระจ่างให้เราได้เสมอ 

 

         หากถามว่าเนื้อหาบทนี้มีประโยชน์ต่อการสอบอย่างไร  คำตอบก็คือ เป็นประโยชน์มากต่อข้อสอบประเภทเติมลงในช่องว่างที่เหมาะสม  และข้อสอบประเภทเรียงลำดับประโยคให้ถูกต้อง  ซึ่งในลำดับท้ายสุดของเนื้อหาบทนี้จะเป็นตัวอย่างข้อสอบเก่าพร้อมแนวคิดในการพิจารณาเพื่อหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง

 

1. ส่วนขยายหน้า

         ฟังชื่อก็เข้าใจได้ครึ่งหนึ่งแล้วว่าคำประเภทนี้ต้องวางข้างหน้า  คำถามตามมาคือวางข้างหน้าอะไร?  คำตอบคือมีสองชนิด   1.ส่วนขยายหน้าคำนาม     2.ส่วนขยายหน้ากริยา

 

1.1 ส่วนขยายหน้าคำนาม  คือ คำหรือวลี หรือประโยคย่อย ที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อจำแนกหรือเจาะจงความหมายของคำนามนั้น ข้อสังเกตที่ควรจำมีดังนี้

 

โครงสร้าง

ส่วนขยายคำนาม + คำนาม

 

 

*ส่วนขยายหน้าคำนามมักจะถูกเชื่อมด้วย 的

ซึ่งมีความหมายเหมือนกับการเชื่อมด้วยคำว่า “ที่ / ซึ่ง / อัน” ในภาษาไทย

 

จุดประสงค์ในการเติมส่วนขยายหน้า มี 4 แบบดังต่อไปนี้ :

 

แบบที่1  เพื่อเจาะจงลักษณะของคำนาม 

 

คำคุณศัพท์ + คำนาม

 

 

美丽的公主                精彩的节目

(ต. 美麗的公主 )        (ต. 精彩的節日)

Měi lì de gōng zhǔ      Jīng cǎi de jié mù

เจ้าหญิงที่งดงาม                   รายการที่น่าดูชม

 

         工作认真、学习努力的研究生

(ต. 工作認真、學習努力的硏究生 )

Gōng zuò rèn zhēn  xué xí nǔ lì de yán jiù shēng  

นักเรียนปริญญาโทที่มุ่งมั่นในการเรียนตั้งใจทำงาน

         *ขยายคำนามด้วยคำขยายที่มากกว่าหนึ่งประเด็น

 

แบบที่ 2 เพื่อเจาะจงขอบเขตและจำนวนของคำนาม

 

ตัวเลข, คำระบุขอบเขต + คำนาม

 

 

一本一百三十六页的图书

        (ต. 一本一百三十六頁的圖書 )

Yī běn yī bǎi sān shí liù yè de tú shū

หนังสือภาพที่มีหนึ่งร้อยสามสิบหกหน้าเล่มหนึ่ง

 

         分散在全世界的泰国人

(ต. 分散在全世界的泰國人 )

Fēn sǎn zài quán shì jiè de tài guó rén

ชาวไทยที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก

                       

แบบที่ 3  เพื่อจำแนกประเภทตามขั้นตอนการปฏิบัติ

 

คำกริยา + คำนาม

 

                            

 

塑料做的杯子

Sù liào zuò de bēi zi

ถ้วยที่ทำด้วยพลาสติก

 

土木建的城墙

(ต. 土木建的城牆 )

Tǔ mù jiàn de chéng qiáng 

กำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินและไม้

 

        素菜研制成的肉丸

        (ต. 素材硏製成的肉丸 )

Sù cài yán zhì chéng de ròu wán

ลูกชิ้นเนื้อสัตว์ที่คิดค้นขึ้นจากอาหารมังสวิรัติ   

                            

 

        以各人年龄与体重分配的

        (ต. 以各人年齡與體重分配的藥 )

Yǐ gè rén nián líng yǔ tǐ zhòng fēn pèi de yào

ยาที่จ่ายให้โดยจำแนกตามน้ำหนักร่างกายและอายุของแต่ละคน

 

แบบที่ 4 การใช้  谁、怎样、这样、那样

 

โครงสร้าง

谁、怎样、这样、那样 + คำนาม

 

 

 

         拿来钱包 

         (ต. 誰拿來的錢包 )

Shéi ná lái de qián bāo  

กระเป๋าเงินที่ใครเอามา?

 

         怎样的

         (ต. 怎樣的人 )

Zěn yàng de rén 

คนแบบไหนกัน?

 

         这样治疗好处

         (ต. 這樣治療的好處 )

         Zhè yàng zhì liáo de hǎo chù

ข้อดีของการรักษาเช่นนี้

 

         那样残忍手段

         (ต. 那樣殘忍的手段 )

Nǎ yàng cán rěn de shǒu duàn

         วิธีการอันโหดเหี้ยมปานนั้น

     

การละ    ที่เชื่อมอยู่ระหว่างคำขยายกับคำนาม

           

เพื่อเน้นหรือเจาะจงความหมายของคำนาม

 

         我认识一位卖花姐姐。

         (ต. 我認識一位賣花姐姐。 )

Wǒ rèn shí yī wèi mài huā jiě jiě 

         ผมรู้จักพีสาวขายดอกไมคนหนึ่ง

         (หมายถึงพี่สาวที่รู้จักกันดี)

 

         警察叔叔是爸爸的朋友。

Jǐng chá shú shú shì bà bà de péng yǒu 

         คุณอาตำรวจเป็นเพื่อนของคุณพ่อ

         (หมายถึงเฉพาะตำรวจที่รู้จักกับคุณพ่อ)

         *กรณีนี้ถ้าเขียน警察的叔叔ความหมายจะกลายเป็น คุณอาของตำรวจ

 

         塑料杯子不耐热。

         (ต.  塑料杯子不耐熱。 )

Sù liào bēi zi bù nài rè 

         ถ้วยพลาสติกไม่ทนความร้อน

         (เจาะจงข้อเสียของพลาสติก)

 

         这么大了还耍孩子脾气?

         (ต. 這麽大了還耍孩子脾氣? )

Zhè me dà le huán shuǎ hái zi pí qì 

         โตขนาดนี้แล้วยังทำอารมณเหมือนเด็ก

         (เน้นที่ข้อเสีย คือ การที่มีอารมณ์แบบเด็กๆ)

                       

综合性商场很受欢迎。

(ต. 綜合性商場很受歡迎。 )

Zōng hé xìng shāng cháng hěn shòu huān yíng 

         ศูนย์การค้แบบครบวงจรได้รับความนิยมมาก

         (เน้นประเภทของศูนย์การค้า)

                       

现代化工业能降低成本。

(ต. 現代化工業能降低成本。 )

Xiàn dài huà gōng yè néng jiàng dī chéng běn 

         อุตสาหกรรมรูปแบบทันสมัยสามารถลดระดับต้นทุน

         (เน้นระดับของอุตสาหกรรม)

 

หากในส่วนขยายมี มากกว่า 1 ตัว  ให้ละตัวที่ไกลจากคำนามที่สุดก่อน

                            

เช่น                  我小时候朋友照片

ลดทอนเป็น        我小时候朋友照片

               Wǒ xiǎo shí hòu de péng yǒu de zhào piàn

                                 รูปของเพื่อนผมตอนเด็กๆ

 

1.2.ส่วนขยายหน้ากริยาหรือคำคุณศัพท์

         ส่วนขยายหน้ากริยาหรือคำคุณศัพท์มีส่วนสำคัญในการเสริมแต่งภาคแสดงของประโยค  ข้อสอบมักจะใช้คำขยายประเภทนี้เป็นตัวเลือกแล้วถามว่าคำนี้ควรจะวางที่ตำแหน่งใด  ถ้านักเรียนหากริยาเจอก็จะวางคำขยายชนิดนี้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

 

         ส่วนขยายหน้ากริยาหรือคำคุณศัพท์มีรูปแบบดังนี้

 

แบบที่1  เพื่อระบุขอบเขต  เวลา เป้าหมาย  ระดับชั้น

 

         他们在公司食堂吃午餐。

         (ต.  他們在公司食堂吃午餐。)

Tā men zài gōng sī shí táng chī wǔ cān 

         พวกเขารับประทานมื้อกลางวันที่โรงอาหารบริษัท

 

         班机明天早上十点半就到达上海。

         (ต. 班機明天早上十點半就到達上海。 )

Bān jī míng tiān zǎo shàng shí diǎn bàn jiù dào dá shàng hǎi 

         เที่ยวบินมาถึงเซี่ยงไฮ้ตอนสิบโมงเช้าวันของพรุ่งนี้

 

         奶奶对谁都那么关心。

         (ต. 奶奶對誰都那麽關心。 ) 

Nǎi nǎi duì shéi dōu nǎ mo guān xīn 

คุณยายเอาใจใส่แบบนั้กับทุกคนนั่นแหล่ะ

 

         他为了这次考试两天没睡觉。

         (ต. 他爲了這次考試兩天沒睡覺。)  

Tā wéi le zhè cì kǎo shì liǎng tiān méi shuì jiào

เพื่อการสอบครั้งนี้เขาไม่ได้นอนถึงสองวัน

 

他对这次工作特别投入。

(ต. 他對這次工作特別投入。 )

Tā duì zhè cì gōng zuò tè bié tóu rù

เขาทุมเทเป็นพิเศษ ต่อการทำงานครั้งนี้

 

         แบบที่2 เพื่อบรรยายลักษณะท่าทาง หรือ บรรยายสถานการณ์ (ส่วนขยายประเภทนี้มักเชื่อมด้วย地 de  เหมือนภาษาไทยที่มักเชื่อมด้วยคำว่า “อย่าง / ด้วยความ”)

 

         他把家具彻底地打扫了一遍。

         (ต. 他把家具徹底地打掃了一遍。)

Tā bǎ jiā jù chè dǐ dì dǎ sǎo le yī biàn 

เขานำเอาเครื่องเรือนไปทำความสะอาดอย่างหมดจดมาหนึ่งรอบ

 

         会员们正在叽里呱啦地争论。

         (ต. 會員們正在嘰裏呱啦的爭論。)

Huì yuán men zhèng zài jī lǐ guā la dì zhēng lùn

        เหล่าสมาชิกกำลังถกเถียงกันอย่างจ้อกแจ้กจอแจ

 

         太阳渐渐地下山了。

         (ต. 太陽漸漸地下山了。)

Tài yáng jiàn jiàn dì xià shān le 

         พระอาทิตย์ตกดินไปอย่างช้าๆ

 

         孩子马马虎虎地抄写着生词。

         (ต. 孩子馬馬虎虎的抄寫著生詞。 )

Hái zi mǎ mǎ hǔ hǔ dì chāo xiě zhù shēng cí 

         เด็กน้อยกำลังคัดลอกคำศัพท์อย่างไม่ตั้งใจ

 

         小明无聊地翻着小说。

         (ต. 小明無聊地翻著小説。)

Xiǎo míng wú liáo dì fān zhù xiǎo shuō

         เสี่ยวหมิงกำลังพลิกนิยาย้วยความเบื่อหน่าย

 

         爸爸怀疑地观察着蝴蝶

         (ต. 爸爸懷疑地觀察著蝴蝶。) 

Bà bà huái yí dì guān chá zhù hú dié

         คุณพ่อกำลังสังเกตเจ้าผีเสื้อ้วยความสงสัย

                            

         目不转睛地盯着那只壁虎。

         (ต. 我目不轉晴地盯著那隻壁虎。)

Wǒ mù bù zhuǎn jīng dì dīng zhù nǎ zhī bì hǔ 

         ผมกำลังองมองจิ้งจกตัวนั้นอย่างไม่กระพริบตา

 

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม    ความแตกต่างระหว่าง และ没有

         เป็นคำถามหนึ่งที่ผมถูกถามบ่อยครั้ง  ทั้งที่นักเรียนที่ถามไม่ใช่นักเรียนที่เพิ่งเรียนภาษาจีน  บางคนเป็นนักเรียนปีสอง  ปีสามแล้วก็มี   กรณีที่ผมกำลังพูดถึงคือการวาง  不และ没有 ขยายอยู่หน้าคำกริยานั่นเอง  เช่น 我不吃青菜。กับ   我没有吃青菜。นักเรียนไม่มีปัญหากับคำศัพท์เพราะอ่านแล้วเข้าใจหมดว่าคำไหนแปลว่าอะไร  แต่เมื่อจะแปลประโยคก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสองประโยคนี้ต่างกันอย่างไร  นี่เป็นปัญหาสำคัญหนึ่งที่ผมพบ     สาเหตุเพราะโรงเรียนบ้านเรายังพึ่งพาอาจารย์เจ้าของภาษาเป็นหลัก   ซึ่งอาจารย์เจ้าของภาษาไม่สามารถอธิบายไวยากรณ์ได้เพราะไม่รู้ภาษาไทย   (ที่ผมสอนได้นั้นเพราะภาษาไทยผมดีพอ)   หลายสถาบันศึกษามักพยายามอธิบายว่าอาจารย์เจ้าของภาษาสำเนียงดีกว่า   ซึ่งอาจจะจริง(แต่ไม่เสมอไป)   ผมอยากจะออกความเห็นตรงจุดนี้นิดหนึ่งว่า   เรายังเข้าใจผิดอยู่มากที่คิดว่าอาจารย์เจ้าของภาษาเหมาะที่จะสอนภาษาจีนมากกว่าแม้ว่าเจ้าของภาษาไม่รู้ภาษาไทยก็เถอะ   เป็นความคิดที่ผิด  มิฉะนั้นรัฐบาลจีนคงไม่เร่งสนับสนุนโครงการฝึกสอนอาจารย์ที่รู้ภาษาต่างประเทศเพื่อส่งออกมาสนับสนุนการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน   เพราะเขาเล็งเห็นแล้วว่า  หากจะเผยแพร่ภาษาจีน  ครูจีนต้องสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติที่มาเรียนจีนได้ด้วย แต่คนไทยเสียเองที่ยังคิดว่าอาจารย์เจ้าของภาษาไม่ต้องรู้ภาษาไทยก็ได้   “เราเรียนภาษาจีนเพื่อเป็นคนไทยที่รู้ภาษาจีนไม่ใช่หรือ?  แต่ทำไมทุกวันนี้เด็กไทยเราเรียนภาษาจีนเหมือนเพื่อไปเป็นคนจีน?  และเรียนอังกฤษก็เหมือนกัน  เรียนไปเพื่อเป็นคนไทยที่รู้อังกฤษหรือเพื่อเป็นคนอังกฤษกันแน่?  ต้องคิดดีๆ”   หากคนไทยคนหนึ่งเรียนภาษาต่างประเทศภาษาหนึ่งจนเก่งแล้วกลับมาเขียนตำรา   สอนคนไทย   นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี  แต่หากคนไทยคนหนึ่งเรียนภาษาต่างประเทศจนลืมภาษาไทย  ไม่สามารถอธิบายให้คนไทยด้วยกันฟัง  และยังปลูกฝังความคิดแปลกๆว่า  ใช้ภาษาต่างประเทศดีกว่า  อ่านตำราเป็นภาษาต่างประเทศก็ได้  ถ้าเช่นนั้นคงเป็นความสูญเสียของประเทศชาติ  ...กลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่า  ความจริงไม่ยากครับ  

 

不+ กริยา  แปลเป็นไทยว่า  ไม่......   เช่น  ไม่กิน   ไม่มา  ไม่ได้ทำ (เป็นการปฏิเสธหรือไม่ยินดีกระทำ) 

ตัวอย่างเช่น          我不吃青菜。ผมไม่ทานผัก  (ไม่ยินดีกิน  ไม่ชอบกิน  ไม่คิดจะคิด)

 

没有+กริยา แปลเป็นไทยว่า  ไม่ได้......   เช่น  ไม่ได้กิน  ไม่ได้มา  ไม่ได้ทำ(เป็นการบอกเล่าสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น)

ตัวอย่างเช่น           我没有吃青菜。ผมไม่ได้ทานผัก (เฉพาะหน้านี้ยังไม่ทาน)                   

 

การเรียงลำดับของประโยคที่มีส่วนขยายหน้าที่ซับซ้อน

         โดยปกติแล้วรูปประโยคจะเรียงลำดับตามตรรกะอันเหมาะสมและสามัญสำนึกอยู่แล้ว  ลักษณะตรรกะของภาษาจีนนั้นมักจะตรงกันข้ามกับภาษาไทย  ผมได้เก็บตัวอย่างที่น่าสนใจและสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในการสนทนาไว้ดังนี้

 

         * เรียงจากใหญ่ไปเล็ก / ภาพรวมไปหารายละเอียด  ซึ่งภาษาไทยจะเรียงจากเล็กไปใหญ่  รายละเอียดไปหาภาพรวาม  ลองเปรียบเทียบประโยคภาษาจีนและคำแปลภาษาไทยเราก็จะเข้าใจยิ่งขึ้น

             

         公元2006年4月30日的下午3点半 (เรียงจากขอบเขตกวางสุดไปหาแคบสุด)

         (ต. 公元2006年4月30日的下午3點半)

         Gōng yuán 2006 nián 4 yuè 30 rì de xià wǔ 3 diǎn bàn 

         บ่ายสามครึ่งของวันที่30เมษายนปีค.ศ.2006  (เรียงจากขอบเขตแคบสุดไปหากว้างสุด)

 

         西单广场舞台上的灯光                        (เรียงจากภาพรวมไปหารายละเอียด)

         (ต. 西單廣場舞臺上的燈光)

         Xī dān guǎng cháng wǔ tái shàng de dēng guāng     

         แสงไฟบนเวทีลานจัตตุรัสซีตัน (เรียงจากรายละเอียดไปหาภาพรวม)

 

         对公司、对职员都有意义。            (เรียงจากองค์ประกอบใหญ่ไปหาองค์ประกอบย่อย)

         (ต. 對公司、對職員都有意義。)

         Duì gōng sī  duì zhí yuán dōu yǒu yì yì        

         มีคุณค่าต่อทั้งพนักงานและบริษัท                        (เรียงจากองค์ประกอบย่อยไปหาองค์ประกอบใหญ่)

 

         * ถ้ามีคำบุพบทเช่นคำว่า 把、让、令、使、被  ฯลฯ  ปรากฏในประโยค 

             

功课认真地做完了。

(ต. 我把功課認真的做完了。)

Wǒ bǎ gōng kè rèn zhēn dì zuò wán le 

         ผมเอาการบ้านไปทำจนหมดด้วยความตั้งใจ

 

爸爸同事一五一十地透露真相。

Bà bà jiào tóng shì yī wǔ yī shí de tòu lù zhēn xiàng 

คุณพ่อบอกใหเพื่อนร่วมงานเปิดเผยความจริงอย่างละเอียดครบถ้วน

(คำศัพท์ที่น่าสนใจ  :   透露เปิดเผย   ;  真相ความจริง)

 

他故意书藏起来。

(ต. 他故意把書藏起來。)

Tā gù yì bǎ shū cáng qǐ lái 

เขาจงใจเอาหนังสือไปซ่อน

 

还没把功课认真地做。

(ต. 我還沒把功課認真地做。)

Wǒ huán méi bǎ gōng kè rèn zhēn dì zuò 

ผมยังไม่ได้เอาการบ้านไปทำหมดอย่างตั้งใจนัก

 

         เมื่อถึงตรงนี้นักเรียนอาจจะเริ่มสับสนว่าหากนำความรู้ทุกๆ บทมารวมกัน  แล้วจะหลักในการลำดับก่อนหลังของการเรียงประโยคอย่างไร  ซึ่งผมได้เตรียมคำตอบไว้ให้แล้ว  นี่อาจเป็นความง่ายอีกประการหนึ่งของภาษาจีน  นั่นคือไวยากรณ์จะค่อนข้างตายตัว  สามารถอธิบายเป็นหลักเกณฑ์คร่าวๆได้  ไม่เหมือนภาษาไทยและอังกฤษที่ไวยากรณ์ดิ้นได้เสมอ  อันเนื่องจากภาษาไทยและอังกฤษเป็นภาษาระบบสะกด แถมมีที่มามากกว่า1ภาษา  (ดังเช่นภาษาไทยที่เกิดจากภาษาขอม  คำอ่านบางคำมาจากภาษาจีน  แถมยังผสมรากศัพท์จากบาลีและสันสกฤตอีกด้วย  เป็นผลให้ไวยากรณ์ดิ้นไปตามความเหมาะสมของรากศัพท์ได้

 

         *เมื่อเอาความรู้จากหลายๆบทมารวมกันแล้วพอจะสรุป เกณฑ์คร่าวๆ ในการพิจารณาลำดับก่อนหลังของส่วนขยายหน้ามีลำดับดังต่อไปนี้

 

         1. ส่วนขยายหน้าที่ระบุเวลา

         2. ส่วนขยายหน้าที่ระบุน้ำหนัก  ความถี่ หรือขอบเขตของภาษา เช่น 都

         3. ส่วนขยายหน้าที่ระบุสถานที่

         4. ส่วนขยายหน้าที่บรรยายลักษณะผู้กระทำ

         5. ส่วนขยายหน้าที่ระบุตำแหน่ง ข้อสังเกต คือ คำเหล่านี้มักเสริมท้ายด้วยคำระบุตำแหน่ง

         เช่น …上、 …下、…中、 …里

         6. ส่วนขยายหน้าที่ระบุจุดประสงค์  เป้าหมาย มีลักษณะเป็นคำนามที่เป็นเป้าหมาย หรือผู้ถูกกระทำ

         โดยมีคำ 对、把、叫、陪 นำหน้า

         7. ส่วนขยายหน้าที่บรรยายท่าทางการกระทำ

 

                    1               4                              6                7

         我   有时候   喜欢    ขยาย           叫弟弟     帮我    ขยาย          做功课。

 

(ต.  我有時候喜歡叫弟弟幫我做功課。)

         Wǒ yǒu shí hòu xǐ huān jiào dì dì bāng wǒ  zuò gōng kè 

         ผมชอบบอกให้น้องชายช่วยทำการบ้านเป็นบางครั้ง

 

                         1                4                                6              7

         爸爸   星期天   愉快地   ขยาย          跟家人   慢慢    ขยาย         度过假日。

         (ต. 爸爸星期天愉快地跟家人慢慢度過假日。)

         Bà bà xīng qī tiān yú kuài de gēn jiā rén màn màn dù guò jiǎ rì 

         คุณพ่อใช้เวลาช่วงวันหยุดไปอย่างช้าๆกับคนในครอบครัวด้วยความสบายใจในวันอาทิตย์

 

                      4                                   5                6           

         我  失望地    ขยาย           从草地上   把信   ขยาย         拿起来。

         (ต. 我失望地從草地上把信拿起來。)

         Wǒ shī wàng de cóng cǎo dì shàng bǎ xìn ná qǐlái 

         ผมหยิบจดหมายขึ้นมาจากพื้นหญ้าด้วยความผิดหวัง

 

                     4                                6               7         

         他  亲切地   ขยาย          对孩子     慢慢 (地)ขยาย         解释。

         (ต. 他親切地對孩子慢慢(地)解釋。)

         Tā qīn qiē de duì hái zi màn màn de jiě shì 

         เขา อธิบายอย่างช้าๆต่อเด็กน้อยอย่างสนิทชิดเชื้อ 

 

                   1             3                 4                                     5               7

         我  刚才  在那会堂   兴奋地   ขยาย           在讲台上   认真   ขยาย          演讲。

         (ต. 我剛才在那會堂興奮地在講臺上認真演講。)

Wǒ gāng cái zài nǎ huì tang xīng fèn de zài jiǎng tái shàng rèn zhēn yǎn jiǎng    

         ผมเมื่อครู่บรรยายอย่างตั้งใจบนเวทีปราศรัยด้วยความตื้นตัน  ณ  ห้องประชุมแห่งนั้น

         *สำหรับนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยก็สบายใจได้ เพราะข้อสอบไม่เคยออกประโยคที่ซับซ้อนอย่างข้อนี้แม้แต่ครั้งเดียว

 

2. ส่วนเสริมท้าย

         ส่วนเสริมท้ายเป็นเนื้อหาความรู้ส่วนหนึ่งที่นักเรียนมักจะรู้สึกว่ายาก  สาเหตุประการสำคัญเพราะการเรียนไวยากรณ์ที่มุ่งเน้นไปทางนิยาม  กรณีหนึ่งที่พบบ่อยมากคือหนังสือที่นักเรียนอ่านนั้นอธิบายคำเสริมท้ายโดยอธิบายเพียงนิยามของคำเสริมท้ายนั้นโดยไม่ได้อธิบายว่า คำเสริมท้ายคำนั้นแปลเป็นไทยว่าอย่างไร?  ทั้งที่หากอธิบายคำแปลที่ตรงกับภาษาไทยแล้วนักเรียนจะเข้าใจในทันที    ยกตัวอย่างให้ดูกรณีหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่านักเรียนไม่น้อยที่เคยได้รับคำอธิบายคำเสริมท้ายคำนี้อย่างงุนงง 

         คำว่า  爱上了 มีความหมายว่าอย่างไร?   แล้วหนังสือหลายเล่ม(พูดได้ว่าส่วนใหญ่)จะอธิบายคำว่า 上了ด้วยความหมายนิยามว่า  ทำให้บางสิ่งเข้าหาร่างกาย / แสดงว่ากริยาบางอย่างเริ่มขึ้นและกระทำต่อไป   ผมถามจริงๆเถอะว่านักเรียนเข้าใจไหม?    สรุปแล้วนักเรียนก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่า 上了 แปลว่าอะไร ?  ทีนี้เอาใหม่ ผมจะอธิบายด้วยคำแปลสั้นๆและง่ายๆว่า   กริยา + 上了 ก็เทียบเท่าภาษาไทยเราพูดว่า กริยา+เข้าแล้ว / จนได้ /ซะแล้ว/ขึ้น   เพียงเท่านี้นักเรียนก็ใช้โครงสร้าง กริยา + 上了เป็นแล้ว  ลองแปลวลีดังต่อไปนี้โดยใช้คำแปลไทยที่ผมอธิบายสั้นๆไว้นะครับ  ง่ายมาก

 

              爱上了你    รักคุณเข้าแล้ว

              穿上了衣服  สวมเสื้อขึ้น

              追上了车子  ไล่ทันรถจนได

              再加上三个人  เพิ่มคนเขาไปอีก 3 คน

 

         นักเรียนไทยมักจะเรียนไวยากรณ์เหมือนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หรือสูตรคณิตศาสตร์  วิเคราะห์และท่องโครงสร้างราวกับกำลังทำวิจัยอะไรสักอย่าง  แต่ลืมไปว่าแท้จริงแล้ว  ในระดับมัธยมและระดับปี 1 – ปี 2 ของมหาวิทยาลัย   เรากำลังเรียนไวยากรณ์เพื่อนำไปใช้  สนทนาและแต่งประโยคให้เป็นต่างหาก  สิ่งที่เราต้องการคือ คำแปลที่ตรงความหมาย ตรงประเด็นก่อนนิยามร้อยแปดที่เราจะไปวิเคราะห์เชิงลึกในภายภาคหน้า 

 

         ฉะนั้น ในบทเรียนบทนี้ผมจึงเลือกอธิบายความรู้เกี่ยวกับ ส่วนเสริมท้าย  โดยมุ่งเน้นคำแปลภาษาไทยที่ถูกต้องก่อน อธิบายนิยาม  เพื่อให้นักเรียนจำง่ายและย่อยง่าย   ส่วนความรู้เชิงลึก ซึ่งลึกจนเกินไปนั้นผมจะไม่อธิบาย  เพราะยังไม่ถึงเวลา   ก็เหมือนเด็กอ่อน  จู่ๆผู้ใหญ่จะป้อนเด็กอ่อนด้วยซี่โครงหมูหรือผัดเผ็ดปลาดุกนั้นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน  เด็กอ่อนต้องการกล้วยบดและโจ๊กอ่อนๆ ต่างหาก  

 

คำเสริมท้ายที่น่าสนใจแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้

1.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกกาลเวลา เช่น 了、着、 过 ฯลฯ

2.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกแนวโน้มหรือทิศทาง เช่น  上了、下去、起来、出来、过来 ฯลฯ

3.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกข้อสรุปในการกระทำ เช่น 好、到、见、透、通、光、成 ฯลฯ

4.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกผลของการกระทำหรือความเป็นไปได้  เช่น  โครงสร้าง得

5.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกความรู้สึก  เช่น กริยา+透了/死了/得不得了

 

 

1. คำเสริมท้ายที่บ่งบอกกาลเวลา เช่น 了、 着、  ฯลฯ

 

 

คำกิริยา/คำคุณศัพท์ +

แปลเป็นไทยว่า  ...แล้ว  /  ...ไป / ...มา

 

         เช่น  ทำแล้ว   ดูหนังไปสามเรื่อง   เรียนมาสามปี  เป็นรูปประโยคที่ใช้ในการกล่าวถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

              我还是开灯再看书吧。

         (ต.  ) 我 還 是 開 了 燈 再 看 書 吧。

         Wǒ hái shì kāi le dēng zài kàn shū ba 

         ผมว่าเปิดไฟแล้วค่อยอ่านหนังสือจะดีกว่า

         *รูปประโยค  还是……吧。แปลเป็นไทยว่า  ......จะดีกว่า    เป็นประโยคที่ใช้สำหรับเสนอแนะความเห็นซึ่งเราคิดว่าดีกว่าหรือได้ผลมากกว่า

 

         我学三年了。

         (ต.  ) 我 學 了 三 年 了。

         Wǒ xué le sān nián le 

         ผมเรียนมาสามปีแล้ว

 

         山上的花儿红

         (ต.  ) 山 上 的 花 儿 紅 了。

         Shān shàng de huā ér hóng le   

         ดอกไม้บนภูเขาแดงแล้ว

 

         今天妈妈买鱼头汤。

         (ต.  ) 今 天 媽 媽 買 了 魚 頭 湯。

         Jīn tiān mā mā mǎi le yú tóu tāng 

         วันนี้คุณแม่ซื้อน้ำแกงหัวปลามา

 

         这次投资花不少资金。

         (ต.  ) 這 次 投 資 花 了 不 少 資 金。

         Zhè cì tóu zī huā liǎo bù shǎo zī jīn 

         การลงทุนครั้งนี้ใช้ทุนทรัพย์ไปไม่น้อย

 

 

คำกิริยา/คำคุณศัพท์ +zhe

แปลเป็นไทยว่า  ...อยู่ / ...ไว้

 

 

         เช่น  เคี้ยวอยู่   ตรวจอยู่  อ่านอยู่  หรือ ถือไว้  จับไว้  ประคองไว้  ฯลฯ   เป็นรูปประโยคที่ใช้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่กำลังดำเนินอยู่  คล้ายกับโครงสร้าง  在 + คำกิริยา (กำลัง ...)   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         他拿本子做笔记。

         (ต.  ) 他 拿 著 本 子 做 筆 記。

         Tā ná zhù běn zi zuò bǐ jì 

         เขาถือ สมุดไวเพื่อจดบันทึก

         *笔记บันทึกด้วยปากกา

 

         我想三月份花朵还红呢!

         (ต. ) 我 想 三 月 份 花 朵 還 紅 著 呢!

         Wǒ xiǎng sān yuè fèn huā duǒ huán hóng zhù ne 

         ฉันว่าตอนเดือนมีนาคมดอกไม้ยังแดงอยู่เลย

 

         他一天到晚看我,真讨厌。

         (ต.  ) 他 一 天 到 晚 看 著 我, 真 討 厭。

         Tā yī tiān dào wǎn kàn zhe wǒ  zhēn tǎo yàn 

         เขามองผมอยูทั้งวัน  น่ารำคาญจริงๆ

 

หากเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน  เราสามารถใช้โครงสร้าง

 

คำกิริยา1++คำกิริยา2  

 

 

ดังเช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

         坐着看电视

         (ต.  ) 他 坐 著 看 電 視。

         Tā zuò zhù kàn diàn shì

         เขานั่งดูทีวีอยู่

 

         哥哥躺着复习功课

         (ต.  )哥 哥 躺 著 复 習 功 課。

         Gē gē tǎng zhù fù xí gōng kè 

         พี่ชายนอนทบทวนหนังสืออยู

 

         คำว่า 着หากออกเสียง  zháo  จะมีความหมายภาษาไทยว่า  ...ถูก / ...โดน / กำลัง...สนิท   เช่น  ตีโดน  กำลังหลับสนิท  ฯลฯ  ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         他真的睡了。

         (ต.  ) 他 真 的 睡 著 了。

         Tā zhēn de shuì zhù le 

         เขาหลับสนิทอยู่จริงๆด้วย

 

         打了半天,终于打了蚊子。

         (ต.  ) 打 了 半 天, 終 于 打 著 了 蚊 子。

         Dǎ le bàn tiān  zhōng yú dǎ zhù le wén zi 

         ตีตั้งนาน  ในที่สุดก็ตีโดนยุงจนได้

 

 

คำกิริยา +

แปลเป็นไทยว่า   เคย...

 

         เช่น  เคยตรวจ  เคยผลิต เคยทำ ฯลฯ   เป็นรูปประโยคที่ใช้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เคยมีประสบการณ์มาแล้ว   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         你的书我上次看了,我觉得很不错。

         (ต.  ) 你 的 書 我 上 次 看 過 了, 我 覺 得 很 不 錯。

         Nǐ de shū wǒ shàng cì kàn guò le  wǒ jué de hěn bú cuò 

         หนังสือของคุณผมคราวที่แล้วเคยอ่านแล้วล่ะ  ผมรู้สึกว่าไม่เลวทีเดียว

 

         这种款式1我们工厂生产

         (ต.  ) 這 种 款 式 我 們 工 厂 生 產 過。

         Zhè zhòng kuǎn shì wǒ men gōng chǎng shēng chǎn guò

         รุ่นนี้โรงงานของพวกเราเคยผลิต

[1] kuǎn shì (น.) = รุ่นหรือแบบของสินค้า

 

已经/ + คำกิริยา + 过了

แปลเป็นไทยว่า   เคย...ไปแล้ว / เคย...มาแล้ว / เคย...ตั้งนานแล้ว

 

 

         ใช้เมื่อ้ำสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว  น้ำหนักของประโยคจะหนักแน่นกว่า   คำกิริยา + 过了  ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         这种做法并不新鲜,我在泰国已经了。

         (ต.  ) 這 种 做 法 并 不 新 鮮, 我 在 泰 國 已 經 見 過 了。

         Zhè zhòng zuò fǎ bìng bù xīn xiān ,wǒ zài tài guó yǐ jīng jiàn guò le 

         กรรมวิธีแบบนี้ไม่เห็นจะแปลกใหม่ตรงไหน   ผมเคยเห็นที่ประเทศไทยมาก่อนแล้ว

 

         跟你说,他不会反省的。

         (ต.  ) 我 早 跟 你 說 過, 他 不 會 反 省 的。

         Wǒ zǎo gēn nǐ shuō guò  tā bù huì fǎn xǐng de 

         ผมเคยบอกกับคุณตั้งนานแล้ว   เขาไม่มีวันสำนึกหรอก

         * รูปประโยค  不会......的。แปลเป็นไทยว่า  จะไม่......เด็ดขาด /  ไม่มีทาง......หรอก  ใช้เมื่อยืนยันและปฏิเสธเสียงแข็ง 

 

เพิ่มเติม :  过 นอกจากจะเป็นคำเสริมท้ายแล้ว  ยังมีความหมายอื่นดังต่อไปนี้

         1.ใช้เป็นคำกิริยา แปลว่า  ข้าม  เช่น 

过桥ข้ามสะพาน          

过马路ข้ามถนน

 

2.ใช้ขยายอยู่หน้าคำอื่นๆได้  แปลว่า ...เกินไป  เช่น 过火 รุนแรงเกินไป / ดุเดือดเกินไป  หรือสำนวนคำว่า太过分ทำเกินไป   เช่นพูดว่า  

 

你这样做太过分

(ต. ) 你 這 樣 做 太 過 分 了

Nǐ zhè yàng zuò tài guò fēn le  

คุณทำแบบนี้มันทำเกินไปแล้วนะ

 

3.ใช้เป็นคำนามมักหมายถึง ความผิดพลาด  เช่น

过失ความผิดพลาด                 

罪过ความผิด

 

2. คำเสริมท้ายที่บ่งบอกแนวโน้มหรือทิศทาง เช่น  上了、下去、起来、出来、过来 ฯลฯ

 

           

คำกิริยา + 上来

 

 

         ปกติแปลตรงตัวเป็นไทยว่า    ...ขึ้นมา   ใช้กล่าวถึงทิศทางของการกระทำ   แต่บางครั้งสามารถแปลเป็นคำว่า  ...ทัน   เป็นรูปประโยคที่กล่าวถึงการบรรลุเป้าหมายบางอย่าง   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

 

         不到三分钟他就追上来了。

         (ต.  ) 不 到 三 分 鐘 他 就 追 上 來 了。

Bù dào sān fēn zhōng tā jiù zhuī shàng lái le 

ไม่ถึงสามนาทีเขาก็ไล่ตามจนทัน

 

         我相信她能爬上来

         (ต.  ) 我 相 信 她 能 爬 上 來。

Wǒ xiāng xìn tā néng pá shàng lái 

         ผมเชื่อว่าหล่อนสามารถปีนขึ้นมา

 

คำกิริยา + 得上来  

แปลเป็นไทยว่า  ...ไหว

คำกิริยา + 不上来  

แปลเป็นไทยว่า  ...ไม่ไหว 

 
 

เป็นรูปประโยคที่ใช้กล่าวถึงความเป็นไปได้    ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         伤了腿还追得上来,真佩服!

         (ต.  ) 傷 了 腿 還 追 得 上 來, 真 佩 服!

Shāng le tuǐ huán zhuī de shàng lái  zhēn pèi fú 

         บาดเจ็บที่ขายังไล่ทันไหว   นับถือจริงๆ

 

他慌得答不上来

          (ต.  ) 他 慌 得 答 不 上 來。

Tā huāng de dá bù shàng lái  

         เขาลนลานจนตอบแทบไม่ทัน

 

 

คำกิริยา + 上去

 

         ปกติแปลตรงตัวเป็นไทยว่า    ...ขึ้นไป เช่น   เดินขึ้นไป  บินขึ้นไป ฯลฯ   แต่หากเป็นกรณีคำกิริยาที่เกี่ยวกับการเพิ่ม  เช่น  เพิ่ม  บวก  แถม  ติด  ปะ  รวม   โครงสร้าง   คำกิริยา + /上去  ควรจะแปลเป็นไทยว่า   ... เข้าไป  เช่น  เพิ่มเข้าไป   แถมเข้าไป   ปะเข้าไป   รวมเข้าไป  ฯลฯ  เป็นรูปประโยคที่ใช้กล่าวถึงกิริยาหรือกิจกรรมที่มีทิศทางเข้าหากัน    ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         我相信她能爬上去

         (ต.  ) 我 相 信 她 能 爬 上 去。

Wǒ xiāng xìn tā néng pá shàng qù 

ผมเชื่อว่าหล่อนสามารถปีนขึ้นไป

 

         请把邮票贴上去

         (ต.  ) 請 把 郵 票 貼 上 去。

         Qǐng bǎ yóu piào tiē shàng qù 

โปรดติดดวงตราไปรษณีย์เข้าไป   /  โปรดติดดวงตราไปรษณีย์ลงไป

 

         妈妈给的新衣服我穿上了

         (ต.  ) 媽 媽 給 的 新 衣 服 我 穿 上 了。

Mā mā gěi de xīn yī fú wǒ chuān shàng le 

         เสื้อใหม่ที่คุณแม่ให้ผมสวมเข้าไปแล้ว

 

 

คำกิริยา + 下来 

 

 

         ปกติแปลตรงตัวเป็นไทยว่า    ...ลงมา  เช่น  เดินลงมา  ก้มลงมา ฯลฯ   แต่อีกความหมายหนึ่ง  คำกิริยา + 下来/ คำกิริยา + 下来了สามารถแปลเป็นไทยว่า  ...เป็นที่เรียบร้อยแล้ว    / ...ไว้ได้   เช่น   อนุมัติเรียบร้อยแล้ว   จอดรถเรียบร้อยแล้ว   อนุรักษ์ไว้ได้  ฯลฯ    เป็นรูปประโยคที่ใช้เมื่อกล่าวถึงกิจกรรมที่เรียบร้อยแล้ว  หรือ กิจกรรมที่ดำเนินมาถึงปัจจุบัน   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         计划批准下来了。

         (ต.  ) 計 划 批 准 下 來 了。

         Jì huá pī zhǔn xià lái le 

         แผนการได้อนุมัติเรียบร้อยแล้ว

 

         这些文物是祖先留存下来的。

         (ต.  ) 這 些 文 物 是 祖 先 留 存 下 來 的。

         Zhè xiē wén wù shì zǔ xiān liú cún xià lái de 

         วัตถุโบราณเหล่านี้เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษเก็บรักษาไว้ให้

 

         火车终于停下来了。

         (ต.  ) 火 車 終 于 停 下 來 了。

         Huǒ chē zhōng yú tíng xià lái le 

         ในที่สุดรถไฟก็จอดลงเรียบร้อย

 

คำกิริยา + 下去

 

         ปกติแปลตรงตัวเป็นไทยว่า    ...ลงไป  เช่น   เดินลงไป  โดดลงไป   แต่ในอีกความหมายหนึ่ง   คำกิริยา + 下去 สามารถแปลเป็นไทยว่า  ... ต่อไป  เช่น  พูดต่อไป  ทำงานต่อไป  คล้ายกับความหมายของรูประโยค 继续  + คำกิริยา ( ...ต่อไปเรื่อยๆ)  เป็นรูปประโยคที่ใช้กล่าวถึงสิ่งที่จะดำเนินต่อไป ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         她唱得不错,让她唱下去吧。

         (ต.  ) 她 唱 得 不 錯, 讓 她 唱 下 去 吧。

         Tā chàng de bú cuò  ràng tā chàng xià qù ba 

         หล่อนร้องเพลงได้ไม่เลว   ปล่อยให้หล่อนร้องต่อไปเถอะ

 

         太残忍了!我真不忍心看下去了。

         (ต.  ) 太 殘 忍 了! 我 真 不 忍 心 看 下 去 了。

         Tài cán rěn le  wǒ zhēn bù rěn xīn kàn xià qù le 

         โหดเหี้ยมเกินไปแล้ว   ฉันไม่อาจฝืนทนดูอไปได้อีกแล้ว!

 

         只差一点就到了,你一定要坚持下去

         (ต.  ) 只 差 一 點 就 到 了, 你 一 定 要 堅 持 下 去。

         Zhī chā yī diǎn jiù dào le  nǐ yī dìng yào jiān chí xià qù 

         อีกนิดเดียวก็ถึงแล้ว   คุณต้องยืนหยัดอไปให้ได้ 

 

 

คำกิริยา + 过来 / 过去 

ปกติแปลเป็นไทยว่า  ...มาทางนี้ /  ...ไปทางโน้น

 

         เช่น เดินมาทางนี้   ยกไปทางโน้น ฯลฯ   เป็นรูปประโยคที่ใช้กล่าวถึงทิศทางของการกระทำ   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         你能帮我拿过来吗?

         (ต.  ) 你 能 幫 我 拿 過 來 嗎?

         Nǐ néng bāng wǒ ná guò lái ma 

         คุณสามารถช่วยผมหยิบมาทางนีไหมครับ?   

 

         我们走过去吧。

         ( ต. ) 我 們 走 過 去 吧。

         Wǒ men zǒu guò qù ba 

         เราเดินไปทางโน้นกันเถอะ

 

เพิ่มเติม :    ถ้าเป็นกรณี   คำกิริยา + 得过来 / 得过去  จะแปลเป็นไทยว่า  พอจะ...ไหวอยู่ / พอจะ...ไปได้     ส่วนกรณี     คำกิริยา + 不过来 / 不过去    จะแปลเป็นไทยว่า  ทน... ไม่ไหว  มักหมายถึงไม่ไหวเพราะความเบื่อหน่ายหรือเหนื่อยล้า    ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         我身体还好,我想撑得过来

         ต.  ) 我 身 体 還 好, 我 想 撐 得 過 來。

         Wǒ shēn tǐ hái hǎo  wǒ xiǎng chēng de guò lái 

         สุขภาพของผมยังไหว    คิดว่าพอจะยืนหยัดไหวอยู

         *撑  แปลว่าค้ำยัน  แต่ยังกินความหมายถึง ยืนหยัด   เป็นรูปภาษาพูดของคำว่า  坚持ยืนหยัด

 

         这么懒的人我真看不过来

         (ต.  ) 這 么 懶 的 人 我 真 看 不 過 來。

         Zhè me lǎn de rén wǒ zhēn kàn bú guò lái 

         คนขี้เกียจปานนี้  ผมทนดูไม่ไหวจริงๆ  (รู้สึกเอือมระอา)

 

         สำนวนเพิ่มเติม

         这话还说得过去。 

         (ต.  ) 這 話 還 說 得 過 去。

         zhè huà hái shuō de guò qù   

         พูดแบบนี้ยังพอจะฟังขึ้นอยู่  (ฟังดูพอจะมีเหตุผลอยู่)

 

 

         这话说不过去。 

         (ต.  ) 這 話 說 不 過 去。

         Zhè huà shuō bú guò qù   

         พูดแบบนี้ฟังไม่ขึ้น

 

         我真说不过去

         (ต.  ) 我 真 說 不 過 去。

         Wǒ zhēn shuō bú guò qù 

         ผมไม่รู้จริงๆ ว่าจะพูด/อธิบายยังไง

 

 

คำกิริยา/คำคุณศัพท์ +起来

 

         ปกติแปลเป็นไทยว่า  ลุกขึ้น... เช่น  ลุกขึ้นยืน   ลุกยืนมากระโดด  ฯลฯ  ใช้กล่าวถึงการกระทำที่เคลื่อนที่จากต่ำสู่สูงคล้ายโครงสร้าง  คำกิริยา +上来    ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         他慢慢地站起来

         (ต.  ) 他 慢 慢 地 站 起 來。

         Tā màn màn de zhàn qǐ lái 

         เขาลุกขึยืนอย่างช้าๆ

 

         แต่หากเป็นการกระทำที่ไม่ได้มีทิศขึ้นข้างบน   คำกิริยา/คำคุณศัพท์ +起来  ควรจะแปลเป็นไทยว่า   เกิด...ขึ้นมา / เริ่ม...ซะแล้ว   ใช้กล่าวถึงสิ่งที่เพิ่งจะเริ่มต้นหรือเพิ่งจะปรากฏ   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         母亲的身体2起来了。

         (ต. ) 母 親 的 身 体 好 起 來 了。

         Mǔ qīn de shēn tǐ hǎo qǐ lái le 

         สุขภาพของมารดาเริ่มดีขึ้นแล้ว

 

         我想起来了,你的书忘在教堂里。

         (ต.  ) 我 想 起 來 了, 你 的 書 忘 在 教 堂 里。

         Wǒ xiǎng qǐ lái le  nǐ de shū wàng zài jiào táng lǐ 

         ผมเริ่มนึกขึนมาได้แล้ว  หนังสือของคุณลืมทิ้งไว้ที่โบสถ์

 

         这里蚊子真凶!你看我的手臂肿起来了。

         (ต.  ) 這 里 蚊 子 真 凶! 你 看 我 的 手 臂 腫 起 來 了。

         Zhè lǐ wén zi zhēn xiōng  nǐ kàn wǒ de shǒu bèi zhǒng qǐ lái le 

         ที่นี่ยุงดุจริงๆ!  คุณดูซิ  แขนของฉันเริบวมซะแล้ว

 

         你一到孩子就哭起来3

         (ต.  ) 你 一 到 孩 子 就 哭 起 來 了 。

         Nǐ yī dào hái zi jiù kū qǐ lái le  

         พอคุณถึงปุ๊บเด็กก็เกิดร้องไห้ขึ้นมาเลย  

 

[2]身体ปกติแปลว่า ร่างกาย  แต่บางครั้งคำนามคำนี้ยังหมายถึง สุขภาพ เหมือนกับคำว่า健康 ซึ่งความหมายในคำคุณศัพท์แปลว่า แข็งแรง  แต่ความหมายในคำนามแปลว่า สุขภาพ

[3]โครงสร้าง  一 + คำกิริยา + 就 + คำกริยา/คำคุณศัพท์   แปลเป็นไทยว่า  พอ...ปุ๊บก็...ปั๊บ  ใช้กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทันควัน  เช่น  มองปุ๊บก็รู้ปั๊บ   ตบปุ๊บก็แดงปั๊บ

 

คำกริยา + 出来

 

         ปกติแปลเป็นไทยว่า  ...ออกมา เช่น เดินออกมา  วิ่งออกมา  ใช้กล่าวถึงทิศทางของการกระทำ  ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า  进去 (เข้าไป)      แต่บางกรณีหมายถึง  ...ออก ซึ่งหมายถึง เกิดความเข้าใจขึ้นมาหรือปรากฏขึ้น  เช่น  นึกออก  มองออก   เผยออก  ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

         我看出来了,你画的是河马。

         (ต.  ) 我 看 出 來 了, 你 畫 的 是 河 馬。

         Wǒ kàn chū lái le  nǐ huà de shì hé mǎ 

         ผมมองออกแล้ว   สิ่งที่คุณวาดคือฮิปโปโปเตมัส

 

         我还想不出她是谁。

         (ต.  ) 我 還 想 不 出 她 是 誰。

         Wǒ hái xiǎng bù chū tā shì shéi 

         ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าหล่อนเป็นใคร

 

3. คำเสริมท้ายที่บ่งบอกข้อสรุปในการกระทำ เช่น 好、到、见、光、成 ฯลฯ

            คำเสริมท้ายในกลุ่มนี้ค่อนข้างจะหลากหลาย  แต่ใช่ว่าจะไม่มีขอบเขตเสียทีเดียว  เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทย (ซึ่งเปลี่ยนระบบมาแล้วหลายต่อหลายครั้งแต่ก็ยังวุ่นวายไม่จบสิ้น)  หรือจะเป็นข้อสอบระดับมาตรฐานทั่วโลกอย่าง HSK ก็ล้วนแต่เจาะจงออกสอบคำเสริมท้ายที่มีความถี่ในการใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุดทั้งสิ้น  ฉะนั้นข้อสอบลักษณะนี้จึงคาดการณ์ได้ไม่ยากนัก   และคำเสริมท้ายที่ผมแนะนำให้นักเรียนระมัดระวังในการแปลความหมายเป็นพิเศษและยืนยันด้วยได้ประสบการณ์การทำสถิติข้อสอบว่าออกสอบบ่อยครั้ง  ซึ่งได้แก่คำที่ปรากฏในประโยคตัวอย่างดังต่อไปนี้  (จุดประสงค์ที่ผมเลือกอธิบายเป็นประโยคเพื่อให้นักเรียนไม่เพียงแต่จำความหมายได้เท่านั้น  แต่ยังเข้าใจวิธีใช้ของมันด้วย)

 

คำกิริยา+好 /

แปลเป็นไทยว่า  ...เสร็จแล้ว/...หมดแล้ว

 
 

         เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

         我的午饭吃了。

         (ต. ) 我 的 午 飯 吃 好 了。

         Wǒ de wǔ fàn chī hǎo le 

         มื้อเที่ยงของฉันทานเสร็จแล้ว

 

         功课做了。

         (ต. ) 功 課 做 好 了。

         Gōng kè zuò hǎo le 

         การบ้านทำเสร็จแล้ว

 

         钱用了。

         (ต.) 錢 用 完 了。

         Qián yòng wán le 

         เงินใช้หมดแล้ว

             

 

คำกิริยา+到 / 到了/成了

แปลเป็นไทยว่า ...ได้ /  ...ได้แล้ว / ...สำเร็จแล้ว

 

ใช้กล่าวถึงความสำเร็จ  เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

         请放心!您吩咐的我能做

         (ต. ) 請 放 心! 您 吩 咐 的 我 能 做 到。

         Qǐng fàng xīn  nín fēn fù de wǒ néng zuò dào 

         โปรดวางใจ   สิ่งที่คุณกำชับผมสามารถทำได้ 

 

         我看了。      

         (ต. ) 我 看 到 了 。

         wǒ kàn dào le         

         ผมมองเห็นแล้ว (บรรลุเป้าหมายในการมองนั่นเอง ) 

 

เพิ่มเติม :    กริยา + 见 ใช้กับการบรรลุจุดประสงในการ มอง / ฟัง  เท่านั้น  เช่น 

         听见 (ต. ) 听 見   ได้ยิน

         看见 (ต. ) 看 見   มองเห็น

         望见 (ต. ) 望 見  มองเห็นแต่ไกล

         碰见 (ต. ) 碰 見  พบเห็น / เจอกับ

 

คำกิริยา + 

แปลเป็นไทยว่า   ...จนหมด / ...ไปเสียแล้ว

คำกิริยา + 

แปลเป็นไทยว่า   ...จนเกลี้ยง

 

         ทั้งสองโครงสร้างใช้กล่าวถึงจำนวนหรือปริมาณที่ถูกทำให้หมดไป  เช่น ตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

         剩下一个包子,你吃吧!

         (ต. ) 剩 下 一 個 包 子, 你 吃 掉 吧!

         Shèng xià yī gè bāo zi  nǐ chī diào ba 

         เหลือซาลาเปาลูกหนึ่ง  คุณกินใหหมดก็แล้วกัน

 

         真可惜,那本书我丢了。

         (ต. ) 真 可 惜, 那 本 書 我 丟 掉 了。

         zhēn kě xí  nǎ běn shū wǒ diū diào le 

         น่าเสียดายจริงๆ  หนังสือเล่มนั้นผมทำหายไปเสียแล้ว

 

         怎么回事儿?三百多块钱都用了吗?

         (ต. ) 怎 么 回 事 儿? 三 百 多 塊 錢 都 用光 了 嗎?

         Zěn me huí shì ér  sān bǎi duō kuài qián dōu yòng guāng le ma 

         อะไรกันเนี่ย   ตั้งสามร้อยกว่าเหรียญใช้จนเกลี้ยงเลยหรือ?

 

คำกริยา  +  成/

แปลเป็นไทยว่า  ...เป็น /  ...จนกลายเป็น

คำกิริยา  +  于 

แปลเป็นไทยว่า   ...สำหรับ

 

         เป็นโครงสร้างประโยคที่ใช้กล่าวถึงการทำสิ่งหนึ่งแปรรูปเป็นอีกสิ่งหนึ่ง หรือ เพื่ออีกสิ่งหนึ่ง  เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

         我把胡萝卜切片。            *ใช้  切为 ก็ได้

         (ต. ) 我 把 胡 蘿 卜 切 成 片。

         Wǒ bǎ hú luó bǔ qiē chéng piàn

         ผมเอาแครอทมาหั่นเป็นแผ่นๆ             (เป็นการแปรรูป)

 

         我把波罗蜜看榴莲了。    * ใช้ 看为 ก็ได้

         (ต. ) 我 把 波 羅 蜜 看 成 榴 蓮 了。

         Wǒ bǎ bō luó mì kàn chéng liú lián le 

         ผมมองขนุนเปทุเรียนซะแล้ว             (เป็นการเข้าใจผิด)

 

         这种燃料用重工业。

         (ต. ) 這 种 燃 料 用 于 重 工 業。

         Zhè zhòng rán liào yòng yú zhòng gōng yè 

         เชื้อเพลิงชนิดนี้ใช้สำหรับอุตสาหกรรมหนัก

 

คำกิริยา  +  于  ยังมีความหมายว่า  ...อยู่ที่/...ไว้ที่  

 

         เช่น  เก็บไว้ที่เพื่อน  มัดไว้ที่ใต้ถุน ฯลฯ  เป็นรูปประโยคที่กล่าวถึงการระบุตำแหน่ง ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

         邓丽君去世泰国。

         (ต. ) 鄧 麗 君 去 世 于 泰 國。

         Dèng lì jūn qù shì yú tài guó 

         เติ้งลี่จวินถึงแก่กรรมทีประเทศ

 

         4.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกความเป็นไปได้  เช่น  โครงสร้าง得

 

         ความจริงไวยากรณ์ในการใช้得 มีอยู่ในบทที่4 แล้ว  แต่ในบทนี้อยากจะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เนื้อหาของการใช้ส่วนเสริมท้ายนั้นสมบูรณ์ครบถ้วนและถือเป็นการทบทวนความรู้เก่าด้วย     และเป็นการทบทวนความแต่งต่างระหว่างโครงสร้าง กริยา + 得 + คำคุณศัพท์    และ    คำคุณศัพท์ +  地 + กริยา

 

1. กริยา ++ คำคุณศัพท์    และ    คำคุณศัพท์ +  地 + กริยา

         เราถูกสอนให้ท่องกฎไวยากรณ์ข้อนี้อยู่บ่อยครั้ง นั่นคือ   รูปประโยคที่เชื่อมด้วย  得(de)  เราถูกสอนให้ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองว่าต้องใช้สูตรนี้     กริยา + 得 + คำคุณศัพท์  เช่นประโยคดังต่อไปนี้

 

         这菜做得好。                                   

         (ต. 這菜做得好。)

         Zhè cài zuò de hǎo。   

         กับข้าวจานนี้ทำได้ดี

 

         这幅画画得很逼真。                 

         (ต. 這幅畫畫得很逼真。)

         Zhè fú huà huà de hěn bī zhēn 。   

         ภาพนี้วาดได้สมจริงมาก

 

         故事描写得很动人

         (ต. 故事描寫得很動人。)

         Gù shì miáo xiě de hěn dòng rén 。        

         เรื่องราวเขียนบรรยายได้กระทบความรู้สึกมาก

 

         * คำว่า 得  ในที่นี้เทียบเท่ากับคำเชื่อมคำว่า “ได้” ในภาษาไทย  เช่น  ทำได้ดี  วิ่งได้เร็วฯลฯ

 

         แต่พอนักเรียนเจอประโยคต่อไปนี้ก็จะงงทันทีว่าทำไมมีกริยามาปรากฏอยู่หลัง得ล่ะ?  เพราะกฎที่มีอยู่คือ  หน้า得เป็นกริยา ส่วนข้างหลัง得เป็นคำคุณศัพท์   นักเรียนคงลืมไปว่านี่วิชาภาษาไม่ใช่วิชาคณิตศาสตร์ถึงได้มีแค่คำตอบเดียวในหนึ่งสมการ  บ่อยครั้งที่เราพบคำกริยาวางอยู่หลัง 得 ฉะนั้นจึงเกิดประเด็นความรู้ที่ว่ากริยาแบบไหนล่ะที่วางหลังได้?  ดูตัวอย่าง

     

         菜那么多你还吃得下 ,真厉害!

         (ต. 菜那麽多你還吃得下 ,真厲害! )

         Cài nǎ me duō nǐ hái chī de xià ,zhēn lì hài。

         กับข้าวเยอะขนาดนี้คุณยังกินไหว เก่งจริงๆ!

     

         路还远呢 ,你走得来吗?                         

         (ต. 路還遠呢 ,你走得來嗎?)

         Lù hái yuǎn ne ,nǐ zǒu de lái ma?

         ทางยังอีกไกลนะ  คุณเดินมาไหวหรือ?

 

         太贵了!要当富翁才买得起呀!        

         (ต. 太貴了!要當富翁才買得起呀!)

         Tài guì le!yào dāng fù wēng  cái mǎi de qǐ yā!  

         แพงเกินไป!  ต้องเป็นเศรษฐีถึงจะซื้อไหว!

 

         สังเกตไหมครับว่า  คำว่า 下、来、起  ล้วนเป็นกริยา  แต่กลับสามารถวางหลัง得ได้  และสื่อความหมายในเชิงความเป็นไปได้ของการกระทำ   เช่น กินไหว   เดินไหว   ซื้อไหว     สิ่งที่นักเรียนต้องรู้ให้ได้คือ  กริยาประเภทไหนที่ใช้ในกรณีนี้ได้    คำตอบก็คือ   กริยาประเภทบ่งบอกทิศทาง  เช่น 上、下、起、來 และ กริยาประเภทบ่งผลของการกระทำ   เช่น 倒、成、完   ดูตัวอย่าง

 

得倒 tuī de dào        ผลักให้ล้มได้ (ผลักไหว)  推不倒 tuī bù dào           ผลักให้ล้มไม่ได้ (ผลักไม่ไหว)

得上 kàn de shàng    ดูขึ้น (ดูแล้วรู้สึกชอบ)      看不上 kàn bù shàng   ดูไม่ขึ้น (ดูแล้วรู้สึกแย่)         

买得到 mǎi de dào   หาซื้อได้ (มีขาย)      卖不到 mài bù dào       หาซื้อไม่ได้ (ไม่มีขาย)

得上 pá de shàng     ปีนขึ้นไปไหว                  爬不上 pá bù shàng    ปีนขึ้นไปไม่ไหว

 

         คราวนี้มาถึงเรื่องของคำเชื่อมคำว่า地(de)  บ้าง  โดยปกติแล้วหน้าคำว่า地 ต้องเป็นคำคุณศัพท์  เช่น เดินอย่างช้า ๆ  ภาษาจีนพูดว่า慢慢地走 ; กินอย่างไม่รีบไม่ร้อน ภาษาจีนพูดว่า慢条斯理地吃 แต่พอมาถึงประโยคตัวอย่างที่แหกกฎ  เราพบว่าคำว่าเสียใจ 伤心 ; กลัว害怕 ; คิดถึง想念 คำเหล่านี้เป็นคำกริยา และในขณะเดียวกันตัวมันเองก็ใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วย  ลองดูวิธีการใช้ดังนี้เราจะเข้าใจเอง

 

ใช้เป็นคำกริยา

ใช้เป็นคำคุณศัพท์

我在伤心。                        ฉันกำลังเสียใจ

我很伤心。                        ฉันเสียใจมาก

孩子害怕陌生人。      เด็กกลัวคนแปลกหน้า

孩子很害怕。                  เด็กกลัวมาก

 

         伤心地哭了。 

         (ต. 他傷心地哭了。)

         Tā shāng xīn dì kū le。

         เขาร้องไห้ด้วยความเสียใจ

 

         孩子害怕地大喊大叫起来。                      

         (ต. 孩子害怕地大喊大叫起來。)

         Hái zi hài pà dì dà hǎn dà jiào qǐ lái。 

         เด็กน้อยเริ่มร้องโวยวายด้วยความหวาดกลัว

 

         大家想念地唱起校歌。

         Dà jiā xiǎng niàn dì chàng qǐ xiào gē。                     

         ทุกๆ คนเริ่มร้องเพลงประจำโรงเรียนด้วยความคิดถึง

         * * คำว่า 地  ในที่นี้เทียบเท่ากับคำเชื่อมคำว่า “ด้วยความ / อย่าง” ในภาษาไทย เช่น วิ่งด้วยความดีใจ  กระโดดอย่างช้าๆ ฯลฯ

         สรุป         คำกริยาที่สามารถวางไว้หน้า 地ได้ จะเป็นคำกริยาเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด เนื่องจากคำเหล่านี้ปกติใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้อยู่แล้ว

 

 

         ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้รูปคำซ้ำของคำคุณศัพท์ในโครงสร้าง 地และ   ประการแรก  ถ้าเป็นโครงสร้าง得 คำคุณศัพท์มักจะมีสี่พยางค์  ถ้าเดิมทีคำนั้นมีแค่สองพยางค์เราก็สามารถเพิ่มโดยการซ้ำคำ  ความจริงลักษณะนี้ก็คล้ายๆกับการเพิ่มพยางค์เพื่ออรรถรสของภาษาในภาษาไทย  อย่างคำว่าสะอาดก็เพิ่มเป็นสะอาดสะอ้าน  อร่อยเพิ่มเป็นเอร็ดอร่อยฯลฯ    ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

         得很快    เป็น    跑得很快很快                วิ่งได้เร็วจี๋

         打扫得干净  เป็น    打扫得干干净净    เก็บกวาดได้สะอาดเอี่ยมอ่อง

         得很乱             เป็น           搞得乱七八糟                ทำจนเละตุ้มเปะไปหมด

 

         ส่วนในโครงสร้าง地 คำคุณศัพท์ที่วางหน้าจะต้องมีอย่างน้อย 2 พยางค์  ฉะนั้นหากคำคุณศัพท์ตัวนั้นเดิมทีมีแค่พยางค์เดียว  เราก็ต้องใช้คำซ้ำ

         慢慢地站起来    ยืนขึ้นอย่างช้าๆ

         好好地做功课    ทำการบ้านอย่างตั้งใจ  (好好ในที่นี้หมายถึงตั้งอกตั้งใจ)

         * เราไม่พูดว่า 慢地站起来 ; 好地做功课 เพราะอย่างน้อยคำคุณศัพท์หน้า 地  ต้องมีสองพยางค์

 

         บางครั้ง   หลัง得 ยังสามารถใช้กลุ่มคำหรือวลีทำหน้าที่แทนคำคุณศัพท์   เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

         笑得直不起腰 หัวเราจนยืดเอวให้ตรงไม่ได้(หัวเราะท้องแข็ง)  ซึ่งวลี直不起腰แปลว่ายืดเอวให้ตรงไม่ได้  ฟังดูเป็นคำกริยา   แต่ความจริงวลีนี้กำลังทำหน้าที่แทนคำคุณศัพท์   เทียบเท่าเป็นโครงสร้าง  กริยา + 得 + คำคุณศัพท์    เราสามารถลองเปรียบเทียบตัวอย่างดังต่อไปนี้  จะพบว่าวลีเสริมท้ายที่มีกริยาแป็นหลัก(ประโยคซ้าย)  กับส่วนเสริมท้ายที่เป็นคำคุณศัพท์ (ประโยคขวา)   มีความหมายเท่าเทียมกัน 

         笑得直不起腰 หัวเราะจนยืดเอวให้ตรงไม่ได้(หัวเราท้องแข็ง)     笑死了หัวเราะแทบตาย

         玩得什么都忘了เล่นจนอะไรๆก็ลืมหมด                                              玩得很疯狂 เล่นอย่างกับคนบ้า

         气得差点爆炸  โกรธจนแทบจะระเบิดออกมา                                    气得厉害 โกรธแทบแย่

 

5.คำเสริมท้ายที่บ่งบอกความรู้สึก  เช่น กริยา+透了/死了/得不得了

         เป็นสำนวนที่เราพบบ่อยมากในชีวิตประจำวัน   และในข้อสอบก็นำมาทดสอบนักเรียนอยู่บ่อยครั้ง  จึงเป็นอีกเนื้อหาหนึ่งที่ควรใส่ใจ  และในหัวข้อนี้จะขออธิบายโดยยกตัวอย่าง 

 

         กริยา+   แปลเป็นไทยว่า   ......สุดๆ   เช่น  เกลียดสุดๆ   แย่สุดๆ   ตัวอย่างเช่น :

         糟糕透了

         zāo gāo tòu le

         แย่สุดๆ

 

         恨透了

         hèn tòu le

         เกลียดสุดๆ

 

         湿透了

         (ต.濕透了 )

         shī tòu le

         เปียกสุดๆ  เปียกปอนไปหมด

         สังเกตุ:  นิยมใช้เสริมท้ายกริยา/คุณศัพท์เพื่อสื่อความหมายไม่น่าพอใจ 

 

         กริยา+死了/ แปลเป็นไทยว่า  ......แทบตาย  เช่น  โกรธแทบตาย  รอแทบแย่   ฯลฯ

         气死了

         (ต.氣死了 )

         qì sǐ le

         โกรธแทบตาย

 

         热死了

         (ต.熱死了  )

         rè sǐ le

         ร้อนแทบแย่

 

         烦死了

         (ต.煩死了  )

         fán sǐ le

         ว้าวุ่น/รำคาญจะตายอยู่แล้ว

 

         กริยา+得不得了  แปลเป็นไทยว่า   ......สุดๆ / โคตรๆ  / จนไม่รู้จะพูดยังไง

         好吃得不得了

         hǎo chī de bù de liǎo

         อร่อยเหนือคำบรรยาย

 

         多得不得了

         duō de bù de liǎo

         เยอะสุดๆ / เยอะโคตรๆ

             

         累得不得了

         lèi de bù de liǎo

         เหนื่อยสุดๆ  เหนื่อยจนไม่รู้จะพูดยังไง

 

         สังเกต:กริยา+得不得了ต่างกับโครงสร้าง กริยา+透了  ตรงที่ใช้เพื่อสื่อความหมายเชิงบวกหรือเชิงลบก็ได้  

 

                              .............................................................................................