ราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลระดับสูง ด้วยความเคารพและยกย่องให้เกียรติมาแต่โบราณกาล เช่น การพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน ที่ถือว่าเป็นสมมุติเทพ จึงต้องใช้คำพูดที่แตกต่างจากคนธรรมดาสามัญ
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีชนชั้นมาแต่โบราณ ภาษา และคำพูด จึงมีใช้มากมายตามฐานะของคู่สนทนา
ระดับชั้นของสังคมไทยแบ่งได้ดังนี้
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
4. ขุนนาง ข้าราชการ
5. สุภาพชน
คำราชาศัพท์
หมายถึง ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ เจ้านาย พระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลระดับสูง ด้วยความเคารพและยกย่องให้เกียรติมาแต่โบราณกาล เช่น การพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน ที่ถือว่าเป็นสมมุติเทพ เป็นอวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์ จึงต้องใช้คำพูดที่แตกต่างจากคนธรรมดาสามัญ
นามราชาศัพท์
นามที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน รวมทั้งเจ้านายชั้นอื่นๆ นั้น ใช้วิธีเปลี่ยน นามสามัญ ให้เป็น คำราชาศัพท์ ดังนี้
1. ใช้ “พระบรมมหาราช” “พระบรมราช” และ “พระบรม” นำหน้านามสามัญที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤต เพื่อแสดงเกียรติยศ ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชโองการ พระบรมราโชวาท พระบรมราโชบาย พระบรมราชูปถัมภ์ พระปรมาภิไธย
พระบรมโพธิสมภาร พระบรมเดชานุภาพ
2. ใช้คำว่า “พระราช” นำหน้าคำนามที่มีความสำคัญในระดับรอง เพื่อเน้นให้เห็นความแตกต่างของราชาศัพท์ที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านายที่สถาปนาพระยศชั้นสูง เช่น สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมราชกุมารี เช่น พระราชวัง พระราชประสงค์ พระราชดำริ พระราชหฤทัย พระราชพาหนะ
3. ใช้คำว่า “พระ” นำหน้านามสามัญ ซึ่งส่วนมากเป็นคำภาษาบาลี สันสกฤต หรือคำเขมร สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย เช่น พระภูษา พระมาลา พระหัตถ์ พระบาท พระศก พระขนง พระขนอง
4. ใช้คำว่า “หลวง” หรือ “ต้น” ประกอบท้ายคำไทยสามัญ สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ตัวอย่างเช่นคำว่า ลูกหลวง หลานหลวง แพทย์หลวง เรือหลวง รถหลวง สวนหลวง ช้างต้น ม้าต้น เรือต้น เครื่องต้น
ตัวอย่างนามราชาศัพท์พิเศษ
คำสามัญ |
ราชาศัพท์ |
ชั้นบุคคล |
คำสั่ง |
พระบรมราชโองการ |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ / สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี |
พระราชเสาวนีย์ / พระเสาวนีย์ |
||
พระราชบัณฑูร / พระราชดำรัสสั่ง |
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช |
|
พระราชบัญชา / พระราชดำรัสสั่ง |
สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
พระดำรัสสั่ง |
พระราชวงศ์ |
|
พระประศาสน์ |
สมเด็จเจ้าพระยา |
|
คำพูด |
พระราชดำรัส / พระราชกระแส |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ / สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
พระดำรัสสั่ง |
พระราชวงศ์ทั่วไป |
|
คำทักทายเป็นทางการ |
(ทรง) พระราชปฏิสันถาร / (มี) พระราชปฏิสันถาร |
พระเจ้าแผ่นดินใช้กับแขกเมือง หรือพระราชอาคันตุกะ |
คำทักทายไม่เป็นทางการ |
(ทรง) ทักทาย / (ตรัส) ทักทาย |
พระเจ้าแผ่นดินใช้กับบุคคลทั่วไป |
จดหมาย |
พระราชหัตถเลขา |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
ลายพระหัตถ์ |
สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
พระมหาสมณสาสน์ |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า |
|
พระสมณสาสน์ |
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า |
|
ลายพระหัตถ์ |
ราชวงศ์ทั่วไป / สมเด็จพระสังฆราช |
|
จดหมายที่ใช้ในการเจริญสัมพันธ์ทำไมตรีระหว่างประเทศ |
พระราชสาสน์ |
สาสน์ของประมุขที่เป็นพระมหากษัตริย์ |
อักษรสาสน์ |
สาสน์ของประมุขที่เป็นประธานาธิบดี (หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งสามัญชนเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง) |
|
อุปถัมภ์ |
พระบรมราชูปถัมภ์ |
พระเจ้าแผ่นดิน |
พระบรมราชินูปถัมภ์ |
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
|
พระราชูปถัมภ์ |
สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
พระอุปถัมภ์ |
ราชวงศ์ทั่วไป |
|
ความอนุเคราะห์ |
พระบรมราชานุเคราะห์ |
พระเจ้าแผ่นดิน |
พระราชานุเคราะห์ |
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ / สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
วันเกิด |
วันพระบรมราชสมภพ |
พระเจ้าแผ่นดิน |
วันพระราชสมภพ |
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ / สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
วันประสูติ |
ราชวงศ์ทั่วไป |
|
วันเกิดวันทำบุญวันเกิด |
วันเฉลิมประชนมพรรษา |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
วันบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ |
สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
วันบำเพ็ญพระกุศลวันประสูติ |
ราชวงศ์ทั่วไป |
|
อายุ...ปี |
พระชนมพรรษา...พรรษา |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
พระชนมายุ...พรรษา |
สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช / สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
|
พระชันษา...ปี / ชันษา...ปี |
ราชวงศ์ทั่วไป / หม่อมเจ้า |
ลักษณะนามราชาศัพท์
1. ใช้คำว่า “พระองค์” สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านาย เช่น พระเจ้าแผ่นดิน 2 พระองค์ พระราชโอรส 3 พระองค์
2. ใช้คำว่า “องค์” สำหรับเจ้านาย เช่น พระเจ้าหลานเธอ 3 องค์
3. ใช้คำว่า ”องค์” สำหรับส่วนในร่างกาย ของเสวย และเครื่องใช้ของพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย เช่น พระมาลา 3 องค์ เส้นพระเจ้าหลายองค์ พระศรี (หมาก พลู) 3 องค์ พระที่นั่ง 2 องค์
กริยาราชาศัพท์
1. ไม่ใช้คำว่า “ทรง” นำหน้าคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น กริ้ว ตรัส ทอดพระเนตร บรรทม ประทับ ประชวร โปรด ผนวช สรง พอพระราชหฤทัย เสด็จ เสวย ประสูติ
2. ใช้คำว่า “ทรง” เป็นกริยามีกรรม สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย เช่น ทรงม้า ทรงช้าง ทรงรถ ทรงศีล ทรงธรรม ทรงกีฬา ทรงปืน ทรงดนตรี
3. ใช้คำว่า “ทรง” นำหน้ากริยาสามัญ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย เช่น ทรงจับ ทรงถือ ทรงรับ ทรงสั่งสอน ทรงยินดี ทรงเมตตา
ตัวอย่างกริยาราชาศัพท์พิเศษ
คำสามัญ |
ราชาศัพท์ |
ชั้นบุคคล |
เสียชีวิต |
สวรรคต / เสด็จสวรรคต |
พระเจ้าแผ่นดิน / สมเด็จพระบรมราชินีนาถ / สมเด็จพระบรมราชินี / สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก / สมเด็จพระบรมราชชนก / สมเด็จพระบรมราชชนนี / สมเด็จพระยุพราช / สมเด็จพระบวรราชเจ้า |
ทิวงคต |
กรมพระราชวังบวรฯ / เจ้านายที่ทรงฐานันดรศักดิ์สูงเป็นพิเศษ |
|
สิ้นพระชนม์ |
พระราชวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าถึงพระองค์เจ้า / ภิกษุตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชขึ้นไป |
|
ถึงชีพิตักษัย / สิ้นชีพิตักษัย |
หม่อมเจ้า |
|
ถึงแก่พิราลัย |
เจ้าประเทศราช / สมเด็จเจ้าพระยา |
|
เดินด้วยเท้า |
ทรงพระดำเนิน |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
ทรงดำเนิน |
หม่อมเจ้า |
|
ไปเที่ยว |
เสด็จประพาส |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
ให้ |
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน |
พระเจ้าแผ่นดิน |
พระราชทาน |
พระราชวงศ์ชั้นสูง |
|
ประธาน |
พระราชวงศ์ทั่วไป |
|
ลงชื่อ |
ลงพระปรมาภิไธย |
พระเจ้าแผ่นดิน |
ลงพระนามาภิไธย |
พระราชวงศ์ชั้นสูง |
|
ลงพระนาม |
พระราชวงศ์ทั่วไป |
|
อ่านหนังสือ / เขียนหนังสือ |
ทรงพระอักษร |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
แต่งหนังสือ |
ส่งพระราชนิพนธ์ |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ชั้นสูง |
ทรงพระนิพนธ์ / ทรงนิพนธ์ / ทรงเรียบเรียง / ทรงแต่ง |
พระราชวงศ์ทั่วไป |
|
ชอบ |
ต้องพระราชประสงค์ |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ชั้นสูง |
ต้องพระประสงค์ |
พระราชวงศ์ทั่วไป |
|
อาบน้ำ |
สรงน้ำ |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
ล้างหน้า |
สงพระพักตร์ |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
ล้างมือ |
ชำระพระหัตถ์ |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
ล้างเท้า |
ชำระพระบาท |
พระเจ้าแผ่นดิน / พระราชวงศ์ |
สระผม |
สระพระเจ้า |
พระเจ้าแผ่นดิน |
สระพระเกศา |
พระราชวงศ์ |
|
ตัดผม |
ทรงพระเครื่องใหญ่ |
พระเจ้าแผ่นดิน |
ทรงเครื่อง |
พระราชวงศ์ |
เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว