การคัดลายมือตัวบรรจง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 9.9K views



การคัดลายมือ เป็นการฝึกเขียนเบื้องต้นที่จำเป็นต้องฝึกตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้มีทักษะการเขียนที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะการคัดลายมือเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเขียนได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว โดยรูปแบบตัวอักษรไทยนั้นจะมีอยู่ 2 แบบคือ ตัวอักษรประเภทหัวกลม และตัวอักษรแบบอาลักษณ์

ภาพ : shutterstock.com

1. ตัวอักษรประเภทหัวกลม

คือตัวอักษรที่มีลักษณะกลมมน เรียกตามโครงสร้างของตัวอักษรว่าหัวกลมมน ได้แก่ รูปแบบตัวอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตัวอักษรอย่างเป็นทางการ ใช้ในการพิมพ์หนังสือ ประกาศ ตำราเรียน แบบเรียน จะใช้แบบตัวอักษรนี้เป็นมาตรฐาน

2. ตัวอักษรแบบอาลักษณ์

เป็นแบบตัวอักษรของกองประกาศิต สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงามใช้กันมาแต่โบราณ ใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การเขียนหนังสือราชการ การร่างกฎหมาย เช่นในรัฐธรรมนูญ ก็จะใช้ลายมือแบบอาลักษณ์ในการเขียน ในปัจจุบัน ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ยังนิยมใช้เขียนเพื่อประกาศเกียรติยศ เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร รวมไปถึง บัตรเชิญในงานต่างๆ

 

ตัวอักษรแบบอาลักษณ์มีทั้งแบบตัวตรง และตัวเอน ผู้ฝึกอาจจะฝึกการเขียนตัวตรงและพัฒนามาเป็นตัวเอนได้ ตามประสบการณ์ของผู้เขียนลายมือ

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์  พลอยแก้ว