การจับใจความสำคัญและสรุปความ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 7.1K views



การอ่านแล้วจับใจความ ก็เหมือนกับเราฟังอะไรมาสักเรื่อง แล้วเอามาเล่าต่อให้เพื่อนฟังโดยย่อๆ เราจะเล่าแต่ส่วนสำคัญๆ ของเรื่องราวเรื่องนั้นตามที่เราเข้าใจและจำได้ ในทำนองเดียวกัน การอ่านจับใจความก็คล้ายๆ กัน

ภาพ : shutterstock.com

 

ในการอ่านเพิ้อจับใจความสำคัญ ต้องมีความตั้งใจ มีสมาธิจดจ่อกับเรื่องที่อ่าน อาจอ่านคร่าวๆ ไปก่อน จดบันทึกใจความสำคัญๆ ในแต่ละย่อหน้าไว้ ให้รู้ว่ามีใคร ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร แล้วก็นำที่เราจดบันทึกไว้มาเขียนใหม่ เป็นสำนวนของเราเองตามที่เราเข้าใจ

 

การจับใจความหลัก

อ่านแล้วเราอาจจะใช้ดินสอขีดเส้นใต้ไว้ในข้อความสำคัญ แต่เพื่อไม่ให้หนังสือเสียหายในกรณีที่ไม่ใช่หนังสือของเรา เราก็ใช้วิธี จดบันทึกใส่กระดาษไว้ แล้วค่อยนำมาเรียบเรียงใหม่ โดย

1. เลือกประโยคใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า
2. เอาส่วนที่เป็นคำพูดของผู้เขียน อาจจะเป็นสำนวน โวหาร หรือความเห็นของผู้เขียน เหล่านี้ตัดออกไป

 

หาข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

1. หาข้อเท็จจริงจากเรื่องที่อ่าน ว่ามีอะไรบ้าง มีหลักฐานพิสูจน์ได้ไหม
2. หาว่าส่วนไหนคือข้อคิดเห็นของผู้แต่ง

  

สรุปเรียบเรียงใหม่

นำมาสรุปความโดยเขียนตามความเข้าใจของเรา ด้วยการเรียบเรียงใหม่ เป็นภาษาของเราเอง เรื่องที่เขียนต้องมีรายละเอียดของเรื่องครบถ้วนบริบูรณ์ เช่น เมื่อฟังนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า แล้วเอามาสรุปเขียนใหม่เป็นสำนวนของเราอย่างย่อ สาระเนื้อหาของนิทานก็ยังอยู่ครบเป็นต้น

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว