สมบัติของคลื่นเสียง ได้แก่ ความสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางแต่ละชนิด ด้วยอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน อัตราเร็วของเสียงจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่น และสภาพยืดหยุ่นของตัวกลาง และขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสัมพัทธ์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของอากาศจะมีพลังงานจลน์มากขึ้น เสียงจึงเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น และเมื่อตัวกลางที่เสียงเคลื่อนที่ผ่านเปลี่ยนแปลงไป อัตราเร็วของเสียงก็จะเปลี่ยนไปด้วย ลักษณะทางกายภาพของเสียง ได้แก่ ความดัง ระดับเสียง และคุณภาพของเสียง
คลื่นเสียงที่มนุษย์สามารถได้ยิน มีความถี่อยู่ในช่วง 20-20,000 เฮิรตซ์ หากความถี่ต่ำหรือสูงกว่าความถี่ดังกล่าว มนุษย์จะไม่ได้ยินเสียง หรือเรียกว่า เสียงเงียบ
คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงๆ มีประโยชน์ในการใช้ตรวจหาตำแหน่งของวัตถุต่างๆ โดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นเสียง
ลักษณะทางกายภาพของเสียง
1. ความดัง เสียงที่มีความดังมาก จะมีความเข้มเสียงมาก คลื่นเสียงที่มีความดังมาก จะมีค่าแอมพลิจูดมากกว่าคลื่นเสียงที่มีความดังน้อย
2. ระดับเสียง เสียงที่มีระดับเสียงสูง (เสียงแหลม) คลื่นเสียงจะมีความถี่สูงมาก คลื่นเสียงที่มีระดับเสียงต่ำ (เสียงทุ้ม) คลื่นเสียงจะมีความถี่ต่ำกว่า เสียงความถี่สูงกว่าจะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าเสียงความถี่ต่ำ
3. คุณภาพของเสียง คือ ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเสียง
เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร