แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วยแรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงหลักทั้งสี่ แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนัก เพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน ส่งผลให้เกิดการตกแบบเสรี ส่งผลให้วัตถุมีน้ำหนัก มีสนามโน้มถ่วง และมีความเร่งโน้มถ่วงเกิดขึ้น

แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ คือ น้ำหนัก (W) ของวัตถุบนโลก หาได้จาก
W = mg
เมื่อ W เป็นน้ำหนักของวัตถุ มีหน่วยนิวตัน (N)
m เป็นมวลของวัตถุ มีหน่วยกิโลกรัม (kg)
g เป็นความเร่งโน้มถ่วง มีหน่วยเมตรต่อวินาที2 (m/s2)

วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งโน้มถ่วง ที่มีค่าคงตัวเท่ากับ 9.8 เมตรต่อวินาที2 (m/s2) ในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก การเคลื่อนที่แบบนี้ จะเป็นการตกแบบเสรี โดยความเร็วของวัตถุจะเพิ่มขึ้นวินาทีละ 9.8 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าโยนวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง ความเร็วของวัตถุจะลดลงวินาทีละ 9.8 เมตรต่อวินาที จนกระทั่งความเร็วสุดท้ายเป็นศูนย์ จึงเป็นตำแหน่งสูงสุดของวัตถุ
สนามโน้มถ่วงของโลกจะมีค่าลดลง เมื่อระยะความสูงจากผิวโลกมีค่าเพิ่มขึ้น
เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร