การเคลื่อนที่แนววงกลม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 20K views



การเคลื่อนที่แนววงกลม เป็นการเคลื่อนที่ที่มีการเปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา ขณะวัตถุเคลื่อนที่ในแนววงกลม ต้องมีแรงลัพธ์กระทำต่อวัตถุ ในทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางตลอดเวลา ซึ่งเรียกแรงลัพธ์นี้ว่า แรงสู่ศูนย์กลาง โดยแรงสู่ศูนย์กลางมีทิศตั้งฉากกับความเร็วของวัตถุตลอดเวลา 

ภาพ : shutterstock.com

 

วัตถุที่มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม จะมีความเร็วขณะหนึ่งอยู่ในแนวของเส้นสัมผัส โดยความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมมีทิศทางเปลี่ยนไปตลอดเวลา จึงทำให้เกิดความเร่งที่มีทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่ ซึ่งเรียกว่า ความเร่งสู่ศูนย์กลาง

ขนาดของความเร่งสู่ศูนย์กลางขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของวัตถุ และรัศมีการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ภาพ : shutterstock.com

 

รถที่แล่นเลี้ยวโค้งบนถนนราบ แรงสู่ศูนย์กลางที่ทำให้รถแล่นเลี้ยวโค้งได้ คือ แรงเสียดทานระหว่างยางกับพื้นถนน ในทิศทางที่พุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางของทางโค้ง รถจะเลี้ยวได้เร็วหรือช้าอย่างปลอดภัย ขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานระหว่างพื้นกับล้อ

- ถ้ามีค่ามาก รถเลี้ยวได้ด้วยความเร็วสูง
- ถ้ามีค่าน้อย รถเลี้ยวได้ด้วยความเร็วต่ำ
- ถ้าค่าสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานระหว่างพื้นเอียงกับล้อเป็นศูนย์ รถจะไม่สามารถเลี้ยวโค้งได้

 

เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร