พลังงานจลน์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 164.5K views



พลังงานมีหลายรูปแบบ พลังงานที่เกี่ยวข้องกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เช่น รถกำลังแล่น คนกำลังเดิน นกกำลังบิน น้ำไหล หินกลิ้ง เป็นต้น พลังงานเหล่านี้เรียกว่า พลังงานจลน์

ภาพ : shutterstock.com

 

พลังงานจลน์ (kinetic energy) คือ พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ทุกชนิด (พลังงานจลน์เป็นปริมาณสเกลาร์) พลังงานจลน์จะมีค่ามากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุ หรือความเร็วของวัตถุ วัตถุที่มีมวลและความเร็วมากจะมีพลังงานจลน์มาก วัตถุชิ้นเดิมเมื่อมีความเร็วมากขึ้นก็จะมีพลังงานจลน์มากขึ้น 

 

ตัวอย่างของวัตถุที่มีพลังงานจลน์ เช่น

- รถที่กำลังแล่นบนถนน
- กระสุนปืนที่พุ่งออกจากกระบอกปืน​
- น้ำตก
- จรวดที่กำลังทะยานขึ้นจากฐาน

 

เราสามารถคำนวณหาพลังงานจลน์ได้จากสูตร

ภาพ : shutterstock.com

Ek  คือ พลังงานจลน์ มีหน่วย จูล (J)
m  คือ มวลของวัตถุ มีหน่วย กิโลกรัม (kg)
v  คือ ความเร็วของวัตถุ มีหน่วย เมตรต่อวินาที (m/s)

 

ตัวอย่าง 1

รถยนต์มีมวล 1,200 kg แล่นด้วยความเร็ว 20 m/s รถยนต์มีพลังงานจลน์เท่าไร

วิธีทำ

จากโจทย์ m =  1,200 kg, v= 20 m/s แทนค่าตัวแปรในสูตร

ภาพ : shutterstock.com

Ek= 240,000 J

ตอบ รถยนต์มีพลังงานจลน์ 240,000 จูล (หรือ 240 กิโลจูล)

 

ตัวอย่าง 2

ลูกเหล็กมีมวล 0.4 kg ปล่อยให้ตกจากที่สูง ลงสู่กระบะทราย ก่อนกระทบทราย ลูกเหล็กมีความเร็ว 20 m/s ก่อนกระทบทราย ลูกเหล็กมีพลังงานจลน์เท่าไร

วิธีทำ

จากโจทย์ m =  0.4 kg, v= 20 m/s แทนค่าตัวแปรในสูตร

Ek= 80 J

ตอบ ลูกเหล็กมีพลังงานจลน์ 80 จูล