ความสามารถในการทำงานของแต่ละคนอาจมากน้อยแตกต่างกัน สามารถเปรียบเทียบได้จากอัตราส่วนระหว่างงานที่ทำได้กับเวลาที่ใช้ในการทำงาน อัตราส่วนนี้เรียกว่า กำลัง
กำลัง (power) คือ งานที่กระทำได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา หรืออัตราส่วนระหว่างงานที่ทำได้กับเวลาที่ใช้ในการทำงาน (กำลังเป็นปริมาณสเกลาร์)
P คือ กำลัง มีหน่วย วัตต์ (W)
W คือ งานที่ทำได้ มีหน่วย จูล (J)
t คือ เวลา มีหน่วย วินาที (s)
ตัวอย่าง 1
วัตถุหนัก 1,500 N ถูกยกขึ้นสูง 40 m ในเวลา 10 s จงหากำลังที่ใช้ยกวัตถุ
วิธีทำ
จากโจทย์ F⃑ = 1,500 N, s= 40 m, t= 10 s แทนค่าตัวแปรในสูตร
w= F⃑s = 1,500 N×40 m=60,000 J
ตอบ
P= 6,000 W (กำลังที่ใช้ยกวัตถุ = 6,000 วัตต์)
สามารถหาขนาดของกำลังได้จากสูตรอื่น ดังนี้
P=F⃑v
P คือ กำลัง มีหน่วย วัตต์ (W)
F⃑ คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุ มีหน่วย นิวตัน (N)
v คือ ความเร็วของวัตถุ มีหน่วย เมตรต่อวินาที (m/s)
ตัวอย่าง 2
มอเตอร์ใช้กำลังขับดันให้เครื่องกลึงทำงาน ถ้าเครื่องกลึงสามารถตัดโลหะด้วยความเร็ว 4 m/s และตัดด้วยแรง 450 N จงหากำลังของมอเตอร์
วิธีทำ
จากโจทย์ F⃑ = 450 N, v= 4 m/s แทนค่าตัวแปรในสูตร
P= F⃑v = 450 N×4 m/s
ตอบ P= 1,800 W (กำลังของมอเตอร์ = 1,800 วัตต์)