การเกิดปฏิกิริยาเคมีและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี (ตะลุยโจทย์)
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม โดยเรียกสารก่อนการเปลี่ยนแปลงว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่ว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ข้อสังเกตเมื่อมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
1. เกิดฟองแก๊ส
2. เกิดตะกอน
3. เกิดกรดหรือเบส
4. มีการเปลี่ยนสีของสาร
5. ความดันเปลี่ยนไป
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้นหรือสารผลิตภัณฑ์เมื่อเวลาเปลี่ยนไป โดยมีหน่วยความเข้มข้นของสารเป็น mol/dm3
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
ความเข้มข้น ↑ การเกิดปฏิกิริยา ↑
ความเข้มข้น ↓ การเกิดปฏิกิริยา ↓
2. พื้นที่ผิวสัมผัส
พื้นที่ผิวสัมผัส ↑การเกิดปฏิกิริยา ↑
พื้นที่ผิวสัมผัส ↓ การเกิดปฏิกิริยา ↓
3. อุณหภูมิ
อุณหภูมิ ↑การเกิดปฏิกิริยา ↑
อุณหภูมิ↓ การเกิดปฏิกิริยา ↓
4. ความดัน
ความดัน↑การเกิดปฏิกิริยา ↑
ความดัน↓ การเกิดปฏิกิริยา ↓
5. ตัวเร่งปฏิกิริยา/ตัวยับยั้งปฏิกิริยา
ตัวเร่งปฏิกิริยา => Ea↓การเกิดปฏิกิริยา ↑
ตัวยับยั้งปฏิกิริยา => Ea↑การเกิดปฏิกิริยา↓
6. ธรรมชาติของสาร เช่น แก๊สทำปฏิกิริยากับแก๊สได้เร็วกว่าแก๊สทำปฏิกิริยากับสารที่มีสถานะต่างกัน