พันธุกรรม (ตะลุยโจทย์)
ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะของที่สามารถถ่ายทอดตามสายเลือดได้ ลักษณะทางพันธุกรรมถูกควบคุมโดย ยีน (Gene) เช่น ลักษณะตาชั้นเดียว-สองชั้น, หูมีติ่ง-ไม่มีติ่ง, มีลักยิ้ม-ไม่มีลักยิ้ม, ลิ้นพับได้-พับไม่ได้
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จะถูกควบคุมโดยยีน (gene) บนแท่งโครโมโซม โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ยีนควบคุมอยู่บนโครโมโซมร่างกาย ได้แก่ ระบบเลือด ABO, ลักษณะเส้นผม, โรคธาลัสซีเมีย, นิ้วเกิน, ผิวเผือก
2. ยีนควบคุมอยู่บนโครโมโซมเพศ ได้แก่ ตาบอดสี, หัวล้าน, ฮีโมฟีเลีย, พร่องเอนไซม์ G-6-PD ทั้ง 3 นี้พบว่าถูกควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ดังนั้นจึงพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
พื้นฐานทางพันธุศาสตร์
1. แอลลีล เป็นกลุ่มของยีนที่อยู่กันเป็นคู่ๆ เช่น AA, Aa, aa
2. ยีนเด่น (แอลลีลเด่น) มักเขียนแทนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ จะสามารถข่มแอลลีลด้อยได้ยีนด้อย (แอลลีลด้อย) มักเขียนแทนด้วยตัวพิมพ์เล็ก
3. จีโนไทป์ (genotype) ลักษณะของยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆฟีโนไทป์ (phenotype) ลักษณะทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาให้เห็น
4. การผสมลักษณะเดียวที่มีการข่มกันสมบูรณ์การผสมลักษณะเดียวที่มีการข่มกันไม่สมบูรณ์
5. การผสมที่มีลักษณะการเด่นร่วม กรณีที่ไม่แอลลีลใดเด่น จึงไม่สามารถข่มหรือปิดบังอีกแอลลีลได้ ลูกที่เกิดมาจึง แสดงออกมาทั้งลักษณะ 2 ลักษณะเท่า ๆ กัน เรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant)
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
สาเหตุของการเกิดการกลายพันธุ์
1. เกิดเองตามธรรมชาติ
2. รังสีสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้
3. สารเคมี
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Theory of Natural Selection) เป็นแนวความคิดของ ชาร์ล ดาร์วิน ผลจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดมีความแข็งแรงและหลากหลายทางพันธุกรรม
การคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์โดยคน จะเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะดีเด่นตามความต้องการของคนเช่น การคัดเลือกพันธุ์ปลาทับทิม , การปรับปรุงพันธุ์ข้าว