เอกภพ กาแล็กซี และดาวฤกษ์
กำเนิดเอกภพ
ทฤษฎีบิกแบง เป็นทฤษฎีการกำเนิดเอกภพ โดยเชื่อว่าเกิดจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ มีการขยายตัวออกของมิติและเวลาออกไปเรื่อย ๆ
มีอนุภาคและปฏิอนุภาค ได้แก่ โฟตอน (แสง) อิเล็กตรอน โพซิตรอน นิวทริโน แอนตินิวทริโน ควาร์ก และแอนติควาร์ก ที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งถ้าสองอย่างนี้เจอกันจะเกิดการประลัย มวลจะหายไปและกลายเป็นพลังงาน
หลังจากนั้น
เวลาผ่านไป 0.000001 วินาที ควาร์กรวมตัวเป็นโปรตอนและนิวตรอน
เวลาผ่านไป 3 นาที เกิดนิวเคลียสของฮีเลียม
เวลาผ่านไป 300,000 ปี เกิดอะตอมไฮโดรเจนและฮีเลียม
เวลาผ่านไป 1,000 ล้านปี เกิดกาแล็กซี
สเปกตรัมของดาวฤกษ์
เรียงจากอุณหภูมิสูงไปต่ำ เรียงจากอายุน้อยไปอายุมาก ดังนี้
O |
B |
A |
F |
G |
K |
M |
น้ำเงิน |
น้ำเงินแกมขาว |
ขาว |
ขาวแกมเหลือง |
เหลือง |
ส้ม |
แดง |
ความสว่างและอันดับความสว่าง
- อันดับความสว่างยิ่งมีค่าน้อย ยิ่งสว่างมาก
- อันดับความสว่างต่างกัน N อันดับ ความสว่างจะต่างกัน (2.5)N
- อันดับความสว่างหรือโชติมาตร แบ่งเป็น
- อันดับความสว่างแท้จริง คือ ค่าความสว่างจริงของดวงดาว ในกรณีที่ดวงดาวอยู่ห่างจากโลกในระยะเท่ากัน โดยกำหนดระยะไว้ที่ 10 พาร์เซก หรือ 32.6 ปีแสง
- อันดับความสว่างปรากฏ คือ ค่าความสว่างของดวงดาวที่มองเห็นจากโลก
การหาระยะห่างของดาวฤกษ์
พารัลแลกซ์ เป็นวิธีการหาระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ จากการวัดมุมของดาวฤกษ์ 2 ครั้ง เมื่อดาวฤกษ์ขยับเปลี่ยนตำแหน่งเทียบกับดาวฤกษ์พื้นหลังโดยมีระยะเวลาต่างกัน 6 เดือน