วิทยาศาสตร์ ม. ปลาย พลังงานนิวเคลียร์และกัมมันตรังสี โดยครูแมค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 7.8K views



พลังงานนิวเคลียร์และกัมมันตรังสี

อนุภาคมูลฐาน ประกอบด้วย โปรตอน (p) นิวตรอน (n) และ อิเล็กตรอน (e-)

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เป็นสัญลักษณ์ที่บอกองค์ประกอบภายในนิวเคลียสของธาตุ

กัมมันตภาพรังสี เป็นรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่

      - รังสีแอลฟา (α) คือ นิวเคลียสของฮีเลียม (24He) มีประจุไฟฟ้าเป็น +2
      - รังสีบีต้า (β) แบ่งเป็น β+ คือ โพซิตรอน (+10e) และ β- คือ อิเล็กตรอน (-10e) 
      - รังสีแกมมา (γ) คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสที่มีการสลายตัว

 

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของธาตุเล็ก ๆ หรือธาตุเบาหลอมรวมกันเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือหนักกว่าเดิม เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์

 

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน

การแตกตัวอย่างต่อเนื่อง และทำให้ธาตุกลายเป็นธาตุที่เบาลงเรื่อย ๆ เริ่มจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าใส่นิวเคลียสของธาตุยูเรเนียมแล้วเกิดการสลายตัว เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่

 

ประโยชน์และโทษจากกัมมันตรังสี

กัมมันตรังสี

ประโยชน์

โทษ

ไอโอดีน – 131

ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการผิดปกติ

โพแทสเซียม – 32

หาอัตราการดูดซึมของต้นไม้

ทำให้เกิดการกลายพันธุ์

ฟอสฟอรัส – 32

ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช

ทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง

โคบอลต์ – 60

รักษามะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ และใช้ถนอมอาหาร

 

คาร์บอน – 14

หาอายุของซากดึกดำบรรพ์