วิทยาศาสตร์ ม. ปลาย โครงสร้างโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค และธรณีประวัติ โดยครูแมค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 39K views



โครงสร้างโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค และธรณีประวัติ

โครงสร้างโลก

- เปลือกโลก
- ธรณีภาค
- ฐานธรณีภาค
- เนื้อโลกชั้นล่าง
- แก่นโลกชั้นล่าง
- แก่นโลกชั้นนอก
- แก่นโลกชั้นใน

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค

แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เกิดจากแมกมาดันตัว แผ่นธรณีจึงโก่งตัวแล้วบางลง สุดท้ายแตกและทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด แมกมาแทรกตัวขึ้นมา ดันให้แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกออกจากกัน

          - แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เกิดหุบเขาทรุด
          - แผ่นธรณีสมุทรเคลื่อนที่แยกออกจากกัน เกิดเทือกเขากลางสมุทร ยอดเป็นหุบเขาทรุ

 

แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีเคลื่อนตัวเข้าชนกัน และเกิดการมุดตัวโดยแผ่นเปลือกโลกที่หนักกว่าจะมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกที่เบากว่า ซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมา 

          - แผ่นธรณีสมุทรชนแผ่นธรณีสมุทร แผ่นที่มีความหนาแน่นมาก เกิดการมุดตัว เกิดร่องลึกก้นสมุทรที่แนวมุด เมื่อมุดลงไปจึงหลอมเหลวแทรกตัวขึ้นมาเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้งขนานไปกับแนวร่องลึกก้นสมุทร เช่น หมู่เกาะมาเรียนา อาลูเทียน ฟิลิปปินส์
          - แผ่นธรณีสมุทรชนกับแผ่นทวีป แผ่นสมุทรมุด เกิดร่องลึกก้นสมุทรขนานขอบแผ่นธรณีทวีป และเกิดเทือกเขาบนแผ่นธรณีทวีปและมีภูเขาไฟ เช่น บริเวณชายฝั่งตะวันตก อเมริกาใต้ และชายฝั่งตะวันตกรัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันหรือเฉือนกัน  เกิดรอยเลื่อน เช่น เทือกเขา กลางสมุทร เกิดรอยเฉือนตั้งฉากกับแนวเทือกเขาไปตลอดความยาวของมัน

          - รอยเลื่อนแซนแอนเดรียส (ประเทศสหรัฐอเมริกา) เกิดจากแผ่นธรณีแปซิฟิกเฉือนกับแผ่นธรณีอเมริกาเหนือ 
          - รอยเลื่อนอัลไพน์ (ประเทศนิวซีแลนด์) เกิดจากแผ่นธรณีอินเดียว–ออสเตรเลีย เฉือนกับแผ่นธรณีแปซิฟิก

 

แผ่นดินไหว

เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ในแผ่นธรณี  เกิดคลื่นไหวสะเทือน แผ่กระจายทุกทิศทาง จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

- แผ่นดินไหวระดับตื้น ลึกจากผิวโลกน้อยกว่า 70 กิโลเมตร
- แผ่นดินไหวระดับกลาง มีความลึกระหว่าง 70 – 300 กิโลเมตร
- แผ่นดินไหวระดับลึก ลึกมากกว่า 300 กิโลเมตร

เครื่องวัดความไหวสะเทือน เรียกว่า ไซโมกราฟ บันทึกการสั่นลงในกระดาษบันทึกความไหวสะเทือนเรียกกว่า ไซโมแกรม

 

คลื่นไหวสะเทือน คลื่นในตัวกลาง

- P-WAVE หรือ คลื่นปฐมภูมิ เป็นคลื่นตามยาว เคลื่อนที่ผ่านของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้
- ​S-WAVE หรือ คลื่นทุติยภูมิ เป็นคลื่นตามขวาง เคลื่อนที่ผ่านของแข็งเท่านั้น

 

คลื่นพื้นผิว เกิดที่ผิวโลกหรือใต้ผิวโลกเล็กน้อย

- L-WAVE คือ คลื่นเลิฟ ตัวกลางสั่นแนวราบตั้งฉากกับทิศคลื่น อาจทำให้ถนนตรงเปลี่ยนเป็นคดเคี้ยวเหมือนงูเลื้อย คลื่นเลิฟทำลายโครงสร้างรากอาคาร
- R-WAVE หรือ คลื่นเรย์ลี ตัวกลางเคลื่อนที่ระนาบแนวดิ่งเป็นวงรีในทิศคลื่น อาจทำให้ถนนราบกลายเป็นถนนที่มีลูกคลื่นระนาด

 

ตัวอย่างไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทย

    - ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเณ

    - สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส

    - ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ

    - ซูโนซูคัส ไทยแลนด์ดิคัส

    - ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ

 
 
 

 

 

 

Tag :