วิทยาศาสตร์ ม. ต้น ระบบร่างกาย (ตะลุยโจทย์) โดยครูวา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 12.7K views



ระบบร่างกาย 

ระบบย่อยอาหาร

มนุษย์

การย่อยอาหารแบ่งเป็น

1. การย่อยเชิงกล เป็นการทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงโดยใช้ฟันบดเคี้ยวหรือการบีบและคลายตัวของหลอดอาหาร เกิดขึ้นที่ปากและหลอดอาหาร
2. การย่อยเชิงเคมี เป็นการทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลงโดยอาศัยเอนไซม์ เกิดขึ้นที่ปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

 

ทางเดินอาหารของมนุษย์ 

ปาก => คอหอย => หลอดอาหาร => กระเพาะอาหาร => ลำไส้เล็ก => ลำไส้ใหญ่ => ทวารหนัก

 

สัตว์

- สัตว์ชนิดแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ (มีปาก ลำไส้ ทวาร) คือ หนอนตัวกลม 

- ไส้เดือนดินและสัตว์ปีก มีกึ๋นช่วยบดอาหาร

- วัว ควาย จะมีระบบย่อยอาหารที่มีความสลับซับซ้อนมาก กระเพาะอาหาร มี 4 ส่วน คือ รูเมน เรติคิวลัม โอมาซัม อะโบมาซัม โดยอาหารที่อยู่ในส่วนที่ 1 และ 2 ซึ่งยังไม่ถูกย่อยจะถูกขย้อนออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดให้ละเอียด แล้วจะถูกกลืนลงสู่กระเพาะส่วนที่ 3 และ 4 ก่อนส่งต่อไปยังลำไส้เล็กต่อไป

 

ระบบหมุนเวียนเลือด

มนุษย์

ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และหัวใจ

เลือดประกอบด้วย

1. ของเหลว คือน้ำเลือด (น้ำ แร่ธาตุ พลาสมา โปรตีน)
2. ของแข็ง คือ เซลล์ เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือด

 

หลอดเลือด ประกอบด้วย

1. หลอดเลือดแดง
2. หลอดเลือดดำ
3. หลอดเลือดฝอย

 

หัวใจ ประกอบด้วย

1. กล้ามเนื้อหัวใจ 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนขวา ห้องล่างขวา ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้าย
2. ลิ้นหัวใจ กั้นระหว่างห้องบนขวากับล่างขวา เรียกว่า ลิ้นไตรคัสปิด กั้นระหว่างห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย เรียกว่า ลิ้นไบคัสปิด

 

การไหลเวียนเลือด

หลอดเลือดดำกลับมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจห้องบนขวา ลิ้นไตรคัสปิด หัวใจห้องล่างขวา นำเลือดดำไปฟอกที่ปอด  ปอดนำเลือดแดงออกจากหัวใจห้องบนซ้าย ลิ้นไบคัสปิด หัวใจห้องล่างซ้าย หลอดเลือดแดงนำเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

สัตว์

- หัวใจของพวกไส้เดือนดิน ปลิง มีลักษณะเป็นหลอดเลือดธรรมดา บีบตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา เรียกว่า pulsating vessel
- หัวใจของพวกกุ้ง ปู หรือสัตว์ขาปล้องอื่น ๆ คล้ายกับ pulsating vessel แต่เรียกว่า tubular heart
- หัวใจของพวกแมลง หมึก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน (ยกเว้นจระเข้ที่มีห้องหัวใจ 4 ห้อแต่ไม่สมบูรณ์) มีลักษณะรูปร่างเป็นกระเพาะ เรียกว่า ampullar heart
- หัวใจของสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหัวใจ 4 ห้อง คือ ห้องรับเลือดและห้องส่งเลือด เรียกว่า chambered heart

 

ระบบภูมิคุ้มกัน

เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่จับและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บางชนิดสร้างแอนติบอดีซึ่งช่วยป้องกันการเกิดความเจ็บป่วยจากเชื้อโรคได้ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติสามารถบ่งชี้ความเจ็บป่วยของร่างกายได้

เซรุ่ม เป็นภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีที่ได้จากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนฤทธิ์แล้วเข้าไปในสัตว์จำพวกม้า เพื่อให้สร้างแอนติบอดีมาต้านเชื้อโรคนั้น ๆ แล้วนำเลือดจากม้ามาแยกจนได้เซรุ่มที่มีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ ฉีดให้ผู้ป่วย

วัคซีน เป็นเชื้อโรคที่อ่อนฤทธิ์หรือตายแล้ว ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดโรคได้ ทางการแพทย์นำมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อปกป้องร่างกายด้วยตัวเอง

 

ระบบหายใจ

มนุษย์

ทางเดินหายใจ

อากาศจะผ่านรูจมูก (nostril) => ช่องจมูก (nasal cavity) => คอหอย (pharynx) => หลอดลม (trachea) => ขั้วปอด (bronchus) => bronchiole => alveolar duct => ถุงลม (air sac หรือ alveolus) เกิดกระบวนแลกเปลี่ยนแก๊ส จนเสร็จสิ้นแล้วอากาศจะเดินทางออกด้วยการหายใจออกย้อนกลับมาตามทางเดิม

 

การทำงานของกระบังลม

หายใจเข้า กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวเลื่อนต่ำลง กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงหดตัว ปริมาณช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันในช่องอกลดลง อากาศเข้าสู่ปอด

หายใจออก กล้ามเนื้อกะลังลมคลายตัวเลื่อนสูงขึ้น กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงคลายตัว ปริมาณช่องอกลดลง ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น อากาศออกจากปอด

 

สัตว์

1. สัตว์เซลล์เดียวใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการหายใจ
2. ตัวอ่อนของแมลงปอช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำใช้เหงือก
3. ช่วงระยะตัวไม่เต็มวัยของกบที่อยู่ในน้ำจะใช้เหงือกในการหายใจ
4. หอยโข่งใช้ปอดในการหายใจ
5. แมลงใช้ท่อหรือหลอดลมที่กระจายทั่วร่างกายเป็นอวัยวะหายใจ
6. ปลาใช้เหงือกในการหายใจ
8. ซาลามานเดอร์ (salamander) ใช้เหงือกในการหายใจ
9. สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใช้ปอดในการหายใจ

 

ระบบขับถ่าย

1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ และส่วนของ contractile vacuole เป็นอวัยวะขับถ่ายของเสียออกนอกเซลล์
2. ฟองน้ำ ใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการขับถ่าย โดยการแพร่ผ่าน (difussion) หรือใช้ gastrovascular cavity เป็นที่สะสมของเสียที่แพร่ออกมาจากเซลล์แต่ละเซลล์ แล้วขับถ่ายออกทางช่องปาก
3. หนอนตัวแบน ใช้อวัยวะที่เรียกว่า flame cell โดย flame cell แต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกับท่อขับถ่ายซึ่งมีปลายเปิดเป็นรูเล็ก ๆ ที่ผนังลำตัวเพื่อเปิดออกนอกร่างกาย
4. สัตว์ที่มีเซลล์มากขึ้นมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น จะมีอวัยวะขับถ่ายที่มีลักษณะเป็นท่อหรือหลอดเรียกว่า nephridium
5. แมลงมีท่อสำหรับขับถ่ายที่เรียกว่า malpighian tubule เป็นท่อขนาดเล็กที่มีความยาว และปลายข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่ทางเดินอาหาร และอีกปลายหนึ่งเป็นอิสระอยู่ในช่องท้องคอยดูดซับของเสียเข้าสู่ทางเดินอาหาร แล้วส่งออกทางทวารหนัก ส่วนแก๊สเสียจะขับออกทางท่อลม
6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง จะมีการรวมตัวกันของ nephridium เป็นก้อนเรียกว่า ไต (kidney) กรองของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกทางท่อปัสสาวะ

 

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

1. อัณฑะ (Testis)
2. ถุงอัณฑะ (Scrotum)
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis)
4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens)
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle)
6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland)
7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’s Gland)
8. องคชาต (Penis)

 

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

1. รังไข่ (Ovary)
2. ท่อนำไข่ (Oviduct)
3. มดลูก (Uterus)
4. ปากมดลูก (Cervix)
5. ช่องคลอด (Vagina)

 

การแสดงพฤติกรรม

พฤติกรรมจำแนกเป็น

1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด เป็นการแสดงออกเพื่อตอบสนองงต่อสิ่งเร้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีการเรียนรู้มาก่อน เช่น การยกเท้าขึ้นทันทีเมื่อเดินเหยียบวัตถุแหลมคม ตัวอย่างเช่น Kinesis, Taxis, Reflex, Chain of Reflex

2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นการแสดงออกโดยปรับเปลี่ยนมาจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากยีนและสิ่งแวดล้อม เช่น สุนัขน้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหาร ตัวอย่างเช่น Habituation, Imprinting, Conditioning, Trial&Error, Reasoning