การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
ภาวะโลกร้อน (Global warming)
บรรยากาศของโลกประกอบด้วย ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อาร์กอน 0.9% นอกจากนั้นเป็นไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย
ปรากฏการณ์ที่โลกเก็บความร้อน เรียกว่า ปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิดจาก
- แก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ
- ไอน้ำ
- คาร์บอนไดออกไซด์
- มีเทน
- โอโซน
- CFC
- ไนตรัสออกไซด์
มนุษย์สร้างแก๊สเรือนกระจกเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
- การเผาป่า ถ่านหินและเชื้อเพลิง
- นาข้าว ปศุสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ
- ปุ๋ย การใช้ประโยชน์ที่ดิน
- เครื่องทำความเย็น สารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
รูโหว่โอโซน
ที่ชั้นสตาโตสเฟียร์มีแก๊สโอโซน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ คือ ป้องกันรังสียูวี (UV)
ถูกทำลายโดยสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ที่มนุษย์สร้างขึ้น
การเกิดรูโหว่โอโซนมีผลทำให้รังสียูวี (UV) ซึ่งมีความถี่สูงเข้ามาถึงผิวโลกมากขึ้น
ฝนกรด
ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ ก่อให้เกิด กรดซัลฟิวริก, กรดไนตริก
ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ
การตรวจสอบคุณภาพของแหล่งน้ำ สามารถตรวจสอบได้จาก
1. ค่า DO เป็นค่าที่บอกปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่ดี ควรมีค่า DO มากกว่าหรือเท่ากับ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร
2. ค่า BOD เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายอินทรียสาร แหล่งน้ำที่ดี ควรมีค่า BOD น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร