หิน ดิน แร่
หินอัคนี จำแนกตามแหล่งกำเนิดจากแมกม่า (หินอัคนีแทรกซอน) หรือ ลาวา (หินอัคนีพุ)
- หินอัคนีแทรกซอน เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้า ๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ และหินแกบโบร
- หินอัคนีพุ บางทีเรียกว่า หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด เช่น หินบะซอลต์ หินไรออไรต์ และหินแอนดีไซต์
หินตะกอน จำแนกตามขนาดของตะกอน กรวด ทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และตะกอนเคมี ได้แก่ หินกรวดมน หินกรวดเหลี่ยม หินทราย หินทรายแป้ง หินดินดาน หินปูน
การเกิดหินตะกอน
1. การผุพัง หินผุพัง หล่นอยู่บริเวณหินเดิม
2. การกร่อน หินกร่อนเป็นผงขนาดเล็กพัดปลิวไปไกลจากบริเวณหินเดิม
3. การพัดพา ลมและน้ำพัดพา ตะกอนและผงของหินไปยังที่ต่าง ๆ
4. การทับถม ตะกอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงผงหิน ถูกพัดพามาบริเวณเดียวกันและทับถมกัน
5. การกลับเป็นหิน มีตัวเชื่อมประสานให้ตะกอนยึดเกาะกันกลายเป็นหินตะกอน
หินแปร แปรสภาพเนื่องจากความร้อน ความดัน หรือปฏิกิริยาเคมี หินแปรอาจแสดงเค้าเดิมของหินต้นกำเนิด หรืออาจมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมมาก หินแปรชนิดหนึ่ง ๆ จะมีองค์ประกอบเดียวกันกับหินต้นกำเนิด แต่อาจจะมีการตกผลึกของแร่ใหม่
- หินไนส์ แปรสภาพมาจาก หินแกรนิต
- หินชนวน แปรสภาพมาจาก หินดินดาน
- หินควอร์ไซต์ แปรสภาพมาจาก หินทราย
- หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูน
แร่ประกอบหินที่ควรรู้จัก
ควอร์ต สีเทาใส
เฟลด์สปาร์ ขาวขุ่น
ฮอร์นแบรนด์ สีดำเข้ม
ดิน คือ วัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกเกิดขึ้นจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหินและแร่ และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน
องค์ประกอบของดิน
อนินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนของแร่ต่าง ๆ ภายในหินซึ่งผุพังสึกกร่อนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
อินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกัน มีอยู่ประมาณ
น้ำ อยู่ในช่องระหว่างเม็ดดิน
อากาศ อยู่ในที่ว่างระหว่างเม็ดดินหรืออนุภาคดิน