วิทยาศาสตร์ ม. ต้น แรงพยุงและโมเมนต์ของแรง โดยครูแมค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 14.9K views



แรงพยุงและโมเมนต์ของแรง

 

แรงพยุงหรือแรงลอยตัว

    เมื่อวัตถุแทนที่ในของเหลว จะมีแรงกระทำจากของเหลวกระทำต่อวัตถุในทิศขึ้น เรียกว่า แรงพยุงหรือแรงลอยตัวจากของเหลว โดยแรงพยุงมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่

สูตร FB = ρของเหลวVจมg

 

แรงพยุงมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ

- ความหนาแน่นของของเหลว (ρ หรือ D) โดยความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1,000 kg/m3 หรือ 1 g/cm3

- ปริมาตรส่วนแทนที่ของเหลว (V) 

- ค่า g ณ บริเวณนั้น ซึ่งเท่ากับ 10 m/s2 หรือ 9.8 m/s2

 

วัตถุลอยเหนือน้ำได้เพราะแรงพยุงมีค่ามากพอที่จะยกน้ำหนักของวัตถุไว้ได้

- บางวัตถุแทนที่น้ำเล็กน้อย เกิดแรงพยุงเพียงพอที่จะยกน้ำหนัก – ลอย

- บางวัตถุแทนที่น้ำทั้งก้อน เพื่อให้แรงพยุงพอที่จะยกน้ำหนักไว้ได้ – ปริ่มน้ำ

- บางวัตถุแทนที่ในน้ำทั้งก้อนแล้ว แรงพยุงก็ยังไม่เพียงพอที่จะยกน้ำหนัก – จม

 

โมเมนต์ของแรง

โมเมนต์ของแรง เท่ากับ ผลคูณของแรงกับระยะจากจุดหมุนถึงแนวแรง โดยเลือกใช้ระยะที่มีแนวตั้งฉากกับแนวของแรง ทั้งนี้แรงที่มีแนวผ่านจุดหมุนจะไม่เกิดโมเมนต์

 

เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับโมเมนต์ ทำให้สามารถนำมาออกแบบเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้สามารถทำงานต่าง ๆ โดยใช้แรงน้อยลง เรียกว่า การผ่อนแรง หรือ การได้เปรียบเชิงกล