ปฏิกิริยาเคมีที่พบทั่วไปในชีวิตประจำวันมีมากมายหลายชนิด ที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยๆ เช่น ปฏิกิริยาการเผาไหม้ การเกิดสนิมเหล็ก ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับแก๊สออกซิเจน เป็นต้น
ปฏิกิริยาเคมีที่พบทั่วไปมีดังนี้
1. ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับแก๊สออกซิเจน
2Mg+O2→2MgO
แมกนีเซียม + แก๊สออกซิเจน แมกนีเซียมออกไซด์
เมื่อเผาลวดแมกนีเซียม ลวดแมกนีเซียมจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศ เกิดแมกนีเซียมออกไซด์
2. ปฏิกิริยาระหว่างโลหะกับน้ำ
Mg+H2O→Mg(OH)2+2H2
แมกนีเซียม + น้ำ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ + แก๊สไฮโดรเจน
เมื่อจุ่มลวดแมกนีเซียมที่ขัดด้วยกระดาษทรายแล้วลงในน้ำ จะเกิดฟองแก๊สไฮโดรเจน
3. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับโลหะ
2HCl+Zn→ZnCl2+H2
กรดไฮโดรคลอริก + สังกะสี ซิงก์คลอไรด์ + แก๊สไฮโดรเจน
เมื่อจุ่มแผ่นสังกะสีที่ขัดด้วยกระดาษทรายแล้วลงในกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง จะเกิดฟองแก๊สไฮโดรเจน
4. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
HCl+NaOH→NaCl+H2O
กรดไฮโดรคลอริก + โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคลอไรด์ + น้ำ
เมื่อผสมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก กับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในบีกเกอร์ เทสารในบีกเกอร์ลงในชามกระเบื้อง แล้วนำไประเหยแห้ง จะได้ของแข็งสีขาว ซึ่งก็คือเกลือโซเดียมคลอไรด์
5. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับคาร์บอเนต
2HCl+CaCO3→CaCl2+CO2+H2O
กรดไฮโดรคลอริก + แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมคลอไรด์ + แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ
เมื่อเติมแคลเซียมคาร์บอเนตในหลอดทดลอง แล้วเติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง จะเกิดฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
6. ปฏิกิริยาการเผาไหม้
การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของถ่านหินทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้
C(s)+O2(g)CO2(g)
การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีลักษณะดังนี้
- มีแก๊สออกซิเจนอย่างเหลือเฟือ
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ
- การเผาไหม้ให้เปลวไฟที่สะอาด
- ส่วนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีลักษณะดังนี้
- มีแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอ แต่มีไฮโดรคาร์บอนอย่างเหลือเฟือ
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และ/หรือคาร์บอนและไอน้ำ
- การเผาไหม้ให้เปลวไฟที่มีควัน
7. ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก
ปฏิกิริยาการสึกกร่อนของโลหะ หรือเป็นสนิมเหล็ก เกิดขึ้นเมื่อเหล็กสัมผัสกับอากาศ และมีความชื้น