เซลล์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 23.1K views



ในกรณีที่ต้องการศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องเริ่มจากการเตรียมสไลด์เซลล์ตัวอย่างที่ถูกต้อง หลังจากศึกษาแล้วจะพบว่า โลกของเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

ภาพ : shutterstock.com

โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ส่องดูชิ้นไม้ก๊อกด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้น พบว่าชิ้นไม้ก๊อกประกอบด้วยตารางเล็กๆ อยู่ชิดกัน และกั้นด้วยผนังที่หนา จึงเรียกสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่า เซลล์ (cell)

 

นักวิทยาศาสตร์พบว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาดเล็กๆ เรียกว่า เซลล์ สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เรียกว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organisms) เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา ยีสต์ แบคทีเรีย สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก เรียกว่า สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organisms) เช่น สไปโรไจรา ไฮดรา รา พืช สัตว์ คน

 

การเตรียมสไลด์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การศึกษาส่วนประกอบของเซลล์พืชมักศึกษาจาก เซลล์หอมแดง เซลล์สาหร่ายหางกระรอก ส่วนการศึกษาส่วนประกอบของเซลล์สัตว์มักศึกษาจาก เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม

 

การเตรียมสไลด์เยื่อหอมแดง

การเตรียมสไลด์เยื่อบุข้างแก้ม

- สารละลายไอโอดีนทำให้นิวเคลียส และไซโทพลาซึมของเซลล์เยื่อหอมแดงมีสีน้ำตาล ทำให้นิวเคลียสของใบสาหร่ายหางกระรอกมีสีน้ำตาล และทำให้คลอโรพลาสต์ของใบสาหร่ายหางกระรอกมีสีน้ำเงินเข้ม

 

- เซลล์เยื่อหอมแดง กับเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอก มีส่วนประกอบที่เหมือนกัน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ และแวคิวโอลขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลางเซลล์

- เซลล์เยื่อหอมแดงแตกต่างจากเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอก ตรงที่เซลล์เยื่อหอมแดงไม่มีคลอโรพลาสต์

- เซลล์เยื่อหอมแดงกับเซลล์ใบสาหร่ายหางกระรอกมีการเรียงกันเหมือนอิฐในกำแพงบ้าน เซลล์เยื่อบุข้างแก้มมีรูปร่างกลมและแบน