ปริมาณทางฟิสิกส์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ปริมาณเวกเตอร์ และปริมาณสเกลาร์ ซึ่งแตกต่างกันในเรื่องของการบ่งขนาดและทิศทาง
ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่มีแต่ขนาดเท่านั้น การบอกค่าของปริมาณสเกลาร์บอกแต่ขนาดก็มีความหมายสมบูรณ์แล้ว
ปริมาณสเกลาร์ ได้แก่ มวล ระยะทาง เวลา พื้นที่ ปริมาตร งาน พลังงาน และความหนาแน่น การบอกปริมาณสเกลาร์ เช่น วัตถุมีมวล 5 กิโลกรัม สนามกีฬามีพื้นที่ 100 ตารางเมตร น้ำมีความหนาแน่น 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เป็นต้น
ปริมาณเวกเตอร์ (vector quantity) คือ ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง การบอกค่าของปริมาณเวกเตอร์ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะมีความหมายสมบูรณ์
ปริมาณเวกเตอร์ ได้แก่ แรง ความเร็ว อัตราเร่ง โมเมนต์ แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า การบอกปริมาณเวกเตอร์ เช่น แรง 10 นิวตันกระทำในแนวดิ่งมีทิศลงสู่พื้นโลก วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศเหนือ เป็นต้น
เราใช้เส้นตรงเขียนแทนปริมาณเวกเตอร์โดย
1. ใช้ความยาวของเส้นตรงแทนขนาด
2. ใช้หัวลูกศรเขียนกำกับในเส้นตรงเพื่อแสดงทิศทาง
จากเวกเตอร์ A และ B แสดงว่า เวกเตอร์ B มีขนาดมากกว่าเวกเตอร์ A แต่ทั้งสองเวกเตอร์มีทิศทางเดียวกัน
การเขียนสัญลักษณ์แทนเวกเตอร์ A ทำได้หลายแบบ เช่น
การหาผลรวมของปริมาณสเกลาร์ ให้นำมาบวกลบกันได้เลย ดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง
สุวิมลเดินขึ้นบันไดจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปชั้นที่ 2 ของบ้าน ทำงานได้ 3,000 จูล เดินขึ้นบันไดจากชั้นที่ 2 ไปชั้นที่ 3 ทำงานได้ 4,000 จูล สุวิมลทำงานได้ทั้งหมดเท่าไร
วิธีทำ
สุวิมลทำงานได้ 3,000 + 4,000 = 7,000 จูล
ตอบ สุวิมลทำงานได้ 7,000 จูล
ตัวอย่าง
น้ำได้รับความร้อนจากเตาไฟฟ้า 4,500 แคลอรี ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมงคายความร้อนไป 1,500 แคลอรี จึงนำน้ำไปต้มโดยใช้กาไฟฟ้าอีก 10 นาที น้ำได้รับความร้อนจากกาไฟฟ้าอีก 2,000 แคลอรี น้ำมีความร้อนเท่าไร
วิธีทำ
น้ำมีความร้อน = 4,500 – 1,500 + 2,000 = 5,000 แคลอรี
ตอบ น้ำมีความร้อน 5,000 แคลอรี