การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ ทำให้เกิดเส้นทางที่ต่างกัน ในทางฟิสิกส์ เราสามารถวัดเส้นทางเหล่านั้นได้เป็นระยะทางและการกระจัด ซึ่งมีความแตกต่างกัน
เมื่อวัตถุเปลี่ยนตำแหน่ง ระยะที่วัดได้ตามแนวทางการเคลื่อนที่จริง ๆ ของวัตถุกับระยะทางที่วัดในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้าย มีขนาดเท่ากันหรือแตกต่างกันได้ ดังรูป
วัตถุเคลื่อนที่จาก A ไป B
A คือ ตำแหน่งเริ่มต้น
B คือ ตำแหน่งสุดท้าย
ระยะทางที่วัดได้ตามแนวทางการเคลื่อนที่จริงของวัตถุ = 3 เมตร
ระยะที่วัดได้ในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุ = 3 เมตร
ระยะทางที่วัดได้ตามแนวทางการเคลื่อนที่จริง = ระยะในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้าย
วัตถุเคลื่อนที่จาก C ไป D และจาก D ไป E
C คือ ตำแหน่งเริ่มต้น
E คือ ตำแหน่งสุดท้าย
ระยะทางที่วัดได้ตามแนวทางการเคลื่อนที่จริงของวัตถุ = 3 + 4 = 7 เมตร
ระยะที่วัดได้ในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุ = 5 เมตร
ระยะทางที่วัดได้ตามแนวทางการเคลื่อนที่จริง ≠ ระยะในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นถึงตำแหน่งสุดท้าย
ระยะทาง (distance) คือ ความยาวที่วัดตามแนวทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ จากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์
ได้ระยะทาง = AB + BC + CD = 3 + 6 + 3 = 12 m
การกระจัด (displacement) คือ เวกเตอร์ที่ชี้ตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุ เทียบกับตำแหน่งเริ่มต้น หรือเป็นระยะในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้น ไปยังตำแหน่งสุดท้ายของวัตถุ มีทิศทางออกจากตำแหน่งเดิมไปยังตำแหน่งใหม่ การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ จึงมีทั้งขนาดและทิศทาง
เดินจาก A ไป D ดังรูป
ระยะทางที่เดินได้ทั้งหมด = 3 + 6 + 3 = 12 m
ระยะในแนวตรงจากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้ายคือ AD = 6 m
การกระจัด = 6 m (จาก A ไป D)