พฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 11.6K views



สัตว์มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต หลบภัย และการเคลื่อนที่ จึงมีพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การมีสิ่งปกคลุมร่างกาย การปรับรูปร่างลักษณะ เป็นต้น

1. การมีสิ่งปกคลุมร่างกาย เช่น หมีขั้วโลกจะมีขนที่หนาปกคลุมทั่วตัว สิงโตทะเลมีหนังที่หนาและมีชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้

ภาพ : shutterstock.com

2. การปรับรูปร่างลักษณะ โดยการปรับร่างกายให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เช่น ตั๊กแตกตำข้าว จะมีสีเขียวกลมกลืนกับใบไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้จะมีสีน้ำตาลกลมกลืนกับเปลือกของลำต้น ผีเสื้อและปลาบางชนิด จะปรับรูปร่างตามสภาพแวดล้อม เพื่อพรางตัวศัตรูอยู่นิ่ง ๆ ไม่ให้เหยื่อสังเกตเห็น เช่น จระเข้ เมื่อเหยื่อเข้ามาใกล้ก็จับกินเป็นอาหาร

ภาพ : shutterstock.com

3. การปรับตัวของสัตว์ในลักษณะอื่น เช่น เก้งและกวางมีขาที่แข็งแรง ช่วยให้วิ่งหนีศัตรูได้เร็ว ยีราฟมีคอยาวเพื่อกินใบไม้ตามต้นไม้สูง แมงป่องและงูปล่อยพิษเพื่อป้องกันตัวเองหรือเมื่อจับเหยื่อ เสือและสิงโตมีฟันที่คมและแข็งแรง เพื่อฉีกเนื้อสัตว์ที่เป็นเหยื่อได้ง่าย นก แมลง และค้างคาว มีปีกเป็นโครงสร้างที่สำคัญและน้ำหนักเบาเพื่อช่วยให้บินได้เร็ว

4. การปรับตัวของสัตว์น้ำ โดยมีรูปร่างเรียวยาว เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ได้เร็วมากขึ้น มีครีบเพื่อเคลื่อนที่ในน้ำได้ ปรับระบบการหายใจ เช่น แมวน้ำ วาฬ และสิงโตทะเล ใช้จมูกหายใจในขณะที่อยู่บนบก แต่เมื่อลงไปอยู่ใต้น้ำจะปิดจมูก ส่วนลูกอ๊อดมีเหงือกหายใจเอาแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำได้ โดยไม่ต้องขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ เป็นต้น

 

 

เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร