แร่เป็นธาตุ หรือสารประกอบอนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งประเภทของแร่ได้เป็น แร่ประกอบหิน และแร่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แร่แต่ชนิดแตกต่างกันที่สมบัติของแร่
แร่มีสถานะเป็นของแข็ง มีโครงสร้างที่เป็นผลึก และมีคุณสมบัติที่แน่นอน หรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด เช่น มีสี ความวาว ความแข็ง หรือสมบัติทางเคมี ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแร่ธาตุแต่ละชนิด
เราจำแนกแร่ตามประโยชน์ในทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. แร่ประกอบหิน เป็นแร่ที่เป็นส่วนประกอบของหิน เช่น หินแกรนิต หินปูน แร่ประกอบหินละลายและแทรกอยู่ในเนื้อหิน แยกมาใช้ได้ยาก แต่ถ้ามีปริมาณมาก ๆ จะสามารถนำมาถลุงใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้ แต่ถ้ามีปริมาณน้อย เมื่อนำมาแยกจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
2. แร่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เป็นแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น แร่โลหะ แร่อโลหะ แร่รัตนชาติหรือัญมณี แร่เชื้อเพลิง และแร่กัมมันตรังสี
แร่มีสมบัติดังนี้
- สีของแร่ เป็นสีของแร่เมื่อเป็นก้อน เช่น แร่ฮีมาไทต์มีสีค่อนข้างดำ แร่ไมกามีสีขาวหรือใสไม่มีสี แร่กาลีนามีสีเทา แร่ส่วนมากมักมีหลายสี เช่น แร่คอรันดัมสีแดงคือทับทิม แร่คอรันดัมสีน้ำเงินคือไพลิน
- สีผงละเอียด เป็นสีของแร่เมื่อบดละเอียด เช่น แร่เหล็กฮีมาไทต์ เมื่อบดจะได้ผงสีแดง
- ความวาว เป็นแสงแวววาวที่ผิวแร่ เช่น แร่ไพไรต์และแร่ฮีมาไทต์วาวแบบโลหะ แร่ควอตซ์วาวคล้ายแก้ว
- ความแข็ง คือ การที่แร่อย่างหนึ่งสามารถขีดแร่อีกอย่างหนึ่งให้เป็นรอยได้ หรือถูกวัตถุอื่นขีดให้เป็นรอยได้
เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร