ความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 148.8K views



ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโลก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ส่งผลให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฤดูกาล ข้างขึ้นข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา เป็นต้น

ฤดูกาล

เกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก 2 ประการคือ แกนของโลกเอียงทำมุมกับระนาบของวงโคจร เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองในขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกที่เอียงเป็นมุมคงที่ตลอดเวลานั้น ทำให้พื้นที่ของโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลก ได้รับความร้อนไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ สลับกันไปในเวลา 1 ปี 

ภาพ : shutterstock.com

 

ข้างขึ้นข้างแรม

เกิดขึ้นเนื่องจากโลกและดวงจันทร์ต่างเป็นดาวเคราะห์ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่วนดวงจันทร์โคจรรอบโลก แสงสว่างจากดวงจันทร์ที่เรามองเห็นนั้น เป็นผลมาจากการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ด้านที่รับแสง ซึ่งหันมาทางโลก การที่เรามองเห็นตัวดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละคืน เป็นเพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงของดวงอาทิตย์หันมาทางโลกไม่เท่ากันในแต่ละคืน การเกิดข้างขึ้นข้างแรมใน 1 รอบ กินเวลาประมาณ 30 วัน หรือ 1 เดือน

ภาพ : shutterstock.com

 

สุริยุปราคา

เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดในเวลากลางวัน ขณะที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยที่ดวงจันทร์อยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เป็นผลให้ดวงจันทร์บังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาของดวงจันทร์ทอดไปถึงโลก คนที่อยู่บนโลกในบริเวณที่เงาทอดไปถึง จะมองเห็นท้องฟ้ามืดไปชั่วขณะหนึ่ง เมื่อดวงจันทร์โคจรออกจากบริเวรที่ทำให้เกิดเงาบนโลก จะทำให้คนบริเวณนั้นเห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ตามปกติ สุริยุปราคาเกิดขึ้นตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือขึ้น 1 ค่ำ  แบ่งออกเป็น สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาวงแหวน และสุริยุปราคาเต็มดวง

ภาพ : shutterstock.com

 

จันทรุปราคา

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเวลากลางคืน ขณะที่เป็นวันจันทร์เพ็ญ หรือจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยโลกอยู่ตรงกลางบนแนวเส้นตรงเดียวกัน จันทรุปราคามี 3 ชนิด ได้แก่ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว คนสมัยก่อนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ราหูอมจันทร์

ภาพ : shutterstock.com

 

 

เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร