การกระจายของแสงขาว เกิดเป็นแถบสีต่างๆ ได้ 7 สี เรียกว่า สเปกตรัม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รังสีเหนือม่วงหรือรังสีอัตราไวโอเลต และรังสีใต้แดงหรือรังสีอินฟราเรด
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ประกอบด้วยแถบสีที่มองเห็นและมองไม่เห็น เราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกัน ได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สี เรียงติดกันเป็นแถบสีที่มองเห็น ได้แก่ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีแดง เราเรียกแถบสีนี้ว่า สเปกตรัม (Spectrum) โดยแสงสีม่วงมีความถี่มากที่สุด และแสงสีแดงมีความถี่น้อยที่สุด
แสงจากดวงอาทิตย์ ยังประกอบด้วยแถบสีที่มองไม่เห็น ซึ่งมี 2 อย่าง คือ
1. รังสีเหนือม่วง หรือรังสีอัตราไวโอเลต (Ultraviole) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง
2. รังสีใต้แดง หรือรังสีอินฟราเรด (Infrared) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำกว่าแสงสีแดง
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เรียกว่า สีปฐมภูมิ โดยแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สี มารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ได้แก่ แสงสีเหลือง แสงสีฟ้า และแสงสีม่วง
เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร