สถานะของสาร คือ การเรียงตัวของโมเลกุลของสสารในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นสถานะที่แตกต่างกัน สถานะของสารที่เราเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน คือ สถานะของน้ำ ซึ่งเรารู้จักน้ำในรูปแบบของของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ส่วนสารอื่น ๆ เราอาจจะพบเจอในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
สถานะของสาร
- สถานะของแข็ง อนุภาคจะอยู่ใกล้ชิดกันมากที่สุด และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคจะสูงกว่าในสถานะอื่น ๆ ของสาร ทำให้เราสามารถวัดปริมาตรของสารได้อย่างคงที่ เช่น อะลูมิเนียม ทอง ในอุณหภูมิห้องจะมีสถานะของแข็ง
- สถานะของเหลว อนุภาคที่อยู่ในสถานะของเหลวจะมีระยะห่างระหว่างอนุภาคมากขึ้น อนุภาคสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระตามภาชนะที่บรรจุ แม้จะมีรูปร่างไม่แน่นอนแต่ปริมาตรของมันยังคงที่ เช่น แอลกอฮอล์ หรือน้ำในอุณหภูมิห้อง
- สถานะก๊าซ เป็นสถานะที่อนุภาคจะอยู่ห่างกันมากที่สุด แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคก็น้อยที่สุดเช่นกัน ปริมาตรและรูปร่างจะแปรผันตามภาชนะที่บรรจุ สารในสถานะก๊าซปริมาณที่เท่ากันแต่บรรจุในภาชนะที่มีปริมาตรต่างกัน ก็จะมีความเข้มข้นต่างกัน เนื่องจากมันจะกระจายตัวอยู่เต็มพื้นที่ของภาชนะ เช่น ก๊าซออกซิเจน
คลิกที่รูปเพื่อทำการทดลองเรื่องสถานะของสาร