คำสุภาพ คือ คำที่สุภาพชนใช้อยู่เป็นประจำ เป็นถ้อยคำที่สุภาพไพเราะ เมื่อใช้แล้วผู้ฟังเกิดความรู้สึกชื่นชม นิยมในตัวผู้พูด
คำไม่สุภาพอาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นคำสุภาพได้ วิธีการเปลี่ยนแปลงคำให้สุภาพมีดังนี้
๑. ไม่ใช้คำกระด้างอย่างไม่เคารพ เช่น ใช้คำอุทานว่า โว้ย เว้ย หรือ พูดกระชากหางเสียงห้วย เช่น เปล่า ไม่ใช่ ไม่มี
๒.ไม่ใช้คำหยาบ เช่น อ้าย อี เยี่ยว
๓. ไม่ใช้คำที่นิยมเปรียบเทียบกับของหยาบ เช่นคำว่า “ ไข่” ใช้เปรียบเทียบกับลูกอัณฑะ เป็นต้น
๔. ไม่ใช้คำผวน เช่น แขกตี้ ขี้แตก เป็นต้น
คำสุภาพที่ใช้กันอยู่เสมอได้แก่
๑. คำที่ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ผม ดิฉัน กระผม
๒. คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่เราพูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน
๓. คำที่ใช้แทนตัวผู้ที่เรากล่าวถึง เช่น เขา ท่าน
๔. คำลงท้ายของคำพูด ผู้ชายใช้คำว่า ครับ ขอรับ ครับกระผม (ใช้กับเจ้านายและผู้ใหญ่) ผู้หญิงใช้คำว่า ค่ะ เจ้าค่ะ (ใช้กับเจ้านายและผู้ใหญ่
๕. คำที่ใช้กับผู้ช่วยเหลือเรา ได้แก่คำว่า ขอบใจ ขอบคุณ หรือของพระคุณ(ใช้กับผู้ใหญ่)
๖. คำที่ใช้เมื่อจะให้ผู้อื่นทำสิ่งใดๆให้ใช้คำว่า กรุณา หรือ ขอความกรุณานำหน้า เช่น กรุณาหยิบสมุดให้ด้วยค่ะ
๗. คำที่ใช้เมื่อกระทำผิดพลาดกับผู้อื่น ได้แก่คำว่า ขอโทษ ขออภัย ขอประทานโทษ หรือขอประทานอภัยโทษ (ใช้กับผู้ใหญ่)
๘. คำที่ใช้ทักทายเมื่อพบกัน ใช้คำว่า สวัสดี
๙. คำสุภาพอื่นๆ เช่น
ตีน - เท้า
หัว - ศีรษะ
ตูด - ก้น
ขี้มูก - น้ำมูก
ออกลูก (คน) - คลอดบุตร
ออกลูก(สัตว์) - ตกลูก
ตด - ผายลม
รู้ - ทราบ
เกือก - รองเท้า
ช้างตัวผู้ - ช้างพลาย
ช้างตัวเมีย - ช้างพัง
หมู - สุกร
วัว - โค
ควาย - กระบือ
คำสุภาพต้องใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะและฐานะของบุคคล