ความหนาแน่น เป็นปริมาณสารที่มีอยู่ใน 1 หน่วยปริมาตร ความหนาแน่นเป็นสมบัติเกี่ยวกับเนื้อของวัตถุ วัสดุที่มีเนื้อแน่นจะมีความหนาแน่นมากกว่าวัสดุที่มีเนื้อโปร่ง การคำนวณความหนาแน่นทำได้โดยการวัดมวลของวัสดุต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร
การคำนวณหาค่าความหนาแน่นของวัสดุ (D) เป็นการเทียบอัตราส่วนระหว่างมวล (m) และปริมาตร (V)
ถ้าใส่วัตถุลงในน้ำ ความหนาแน่นของน้ำคือ 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ถ้านำวัตถุ A ที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ใส่ลงไปในน้ำ วัตถุ A จะจม
ถ้านำวัตถุ B ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ใส่ลงในน้ำน้ำ วัตถุ B จะลอยพ้นของเหลว
ถ้านำวัตถุ C ที่มีความหนาแน่นเท่ากับน้ำ ใส่ลงไปในน้ำ วัตถุ C จะลอยปริ่มของเหลว (ด้านบนวัตถุแตะผิวน้ำ)
การหาค่าความหนาแน่นของวัตถุที่ไม่เป็นทรงเรขาคณิต ต้องใช้วิธีการแทนที่น้ำในถ้วยยูเรก้า โดยทำการวัดปริมาตรน้ำที่ล้นออกมา และปริมาตรนั้นคือ ปริมาตรของวัตถุ
เรียบเรียงโดย : ปิตุพร พิมพาเพชร