เราสามารถรู้ได้ว่าลมพัดมาจากทางทิศใดด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ อย่าง “ศรลม (Wind Vane)” ซึ่งมีหลักการทำงานคือ ใช้แรงต้านจากกระแสลมผลักให้ลูกศรหมุนไปในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัดมา ซึ่งเป็นทิศที่ลูกศรต้านลมน้อยที่สุด นิยมทำพื้นที่ต้านลมด้านปลายลูกศรให้มากกว่าด้านหัวลูกศร ศรลมจะชี้ไปทางทิศที่ลมพัดมา แต่หากทำพื้นที่ต้านลมด้านหัวลูกศรให้ใหญ่กว่าด้านปลายศร ศรลมจะหันไปทางที่ลมพัดไป
ส่วนความเร็วลมเราสามารถวัดได้จากเครื่องมือวัดความเร็วลมอย่าง “มาตรวัดลม (Anemometer) หรือ อะนิมอมิเตอร์” ซึ่งมีหลักการทำงานคือ ใช้ใบพัดรับแรงลมเพื่อให้กังหันหมุน โดยที่แกนกังหันลมจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าจากการหมุนได้ หากลมพัดแรง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้ามาก ถ้าลมพัดเบาลง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าน้อยลง กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นตัวบ่งบอกความแรงของลมนั่นเอง ซึ่งการทำงานของกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ก็ใช้หลักการเดียวกัน
การเทียบความเร็วลมแบบสากลนิยมใช้ มาตราลมโบฟอร์ต (Beaufort scale) ซึ่งแบ่งความรุนแรงของลมไว้ 13 ระดับดังตารางต่อไปนี้
เรียบเรียงโดย : มรุตเทพ วงษ์วาโย